จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

มาเพาะอาทีเมียร์ ให้ลูกปลาลูกกุ้งกินกัน

มาเพาะอาทีเมียร์ ให้ลูกปลากัน


สืบเนื่องจากมีเพื่อนๆสมาชิกเคย มาขอแบ่งไข่อาทีเมียร์ไป แล้วถามว่าควรเพาะอย่างไร
วันนี้ขอตั้งกระทู้นี้ซักหน่อย หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆสมาชิกนะครับ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ตัวอ่อน Artemia (Nauplius) หรือ Baby Brine Shimp นั้นมีคุณประโยชน์มหาศาลแก่ลูกปลาแรกเกิดของเรา เพราะอาทีเมียร์นั้นตัวเล็ก ซึ่งลูกปลาแรกเกิดกินได้ง่าย  ซึ่งมีทั้งโปรตีน ไขมัน และกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็น  เพราะฉะนั้นการให้เจ้าพวก Artemia วัยละอ่อนนี้ แก่ลูกปลา ย่อมน่าจะดีกว่าการให้อาหารชนิดอื่น

เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

อุปกรณ์อันดับแรกที่เราจะใช้ก็คือ  ไข่ Artemia กระป๋องครับ  ซึ่งโดยปกติ จะมีอัตราการฟักหลากหลายเปอร์เซนต์มาก   ราคาก็จะแตกต่างกันออกไป   ในที่นี้ผมแนะนำให้ใช้ 95% ครับ  จะได้ไม่เสียอารมณ์ในการฟักเป็นตัว  


ราคาในพิษณุโลก ที่ผมเคยซื้อก็ประมาณ 120 บาท ประมาณนี้




แนะนำว่า ถ้าซื้อมาเยอะ  ให้แบ่งใส่กระปุกเล็กๆ ออกมาใช้ครับ ส่วนกระปุกใหญ่ให้แช่ตู้เย็นเก็บเอาไว้   เนื่องจากถ้าไข่สัมผัสอากาศบ่อยๆ หรือถูกเปิดปิดบ่อย เปอร์เซนต์การฟักเป็นตัวจะน้อยลง




ขั้นตอนต่อไป  เรามาทำตัวเป่าไข่กันครับ  ต้องเข้าใจ ก่อนว่า โดยปกติเวลาเจ้าพวก Nauplius ฟักเป็นตัว เปลือกไข่เค้าจะลอยขึ้นไปอยู่บนผิวน้ำ ดังนั้นเวลาเราจะทำการเก็บเกี่ยว Nauplius ที่นอนก้น   เราจำเป็นต้องคว่ำขวด ให้ตัวอ่อนค่อยๆ ไหลออกจากวาวล์ปรับ  โดยให้เปลือกไข่ลอยอยู่ข้างบน  ไม่ให้ลงมาปนกับ Nauplius ข้างล่าง

แล้วเราจะทำขวดกันยังไงดีล่ะ    ไม่ยาก  มาดูกันเลยครับ

   เริ่มจากนำขวดน้ำพลาสติกมาตัดก้นออก แล้วหยิบเอาฝาขวดออกมาเจาะรูเพื่อใส่วาวล์ปรับอากาศเข้าไป   แนะนำว่าให้ใช้ตะปูค่อยๆขัน แล้วยัดวาวล์ปรับเข้าไปเรื่อยๆจนแน่น   ห้ามใช้มีดบากฝาเด็ดขาด  เพราะน้ำจะซึมออกมาแน่นอน  ถ้าไม่เข้าใจให้ดูรูป ประกอบครับ







พอเสร็จแล้ว  ให้นำขวดไปเจาะรู  ร้อยเชือก แล้วแขวนครับ  โดยให้ปากขวดชี้ลงพื้นดังรูป



จะสังเกตุได้ว่า ผมเอาไฟมาส่องด้วย   ซึ่งตรงนี้ ยังไม่มีสาระสำคัญอะไร  แต่จะมีผลตอนฟักเป็นตัวนี่แหละ เอาไว้อธิบายทีเดียวครับ

ขั้นตอนต่อไปให้ใส่น้ำประมาณ3ส่วน5 ของขวด  อย่าใส่มากเกินไป เพราะเวลาเปิดลมเข้า น้ำจะกระฉอกออกมา

หลังจากนั้น ให้ใส่เกลือทะเลลงไป 1 ช้อนทานข้าว ประมาณที่เห็นในรูปนี่แหละ



หลังจากใส่เกลือเสร็จ ก็เปิดลมใส่เข้าไปเต็มที่ ไม่ต้องกลัวว่า Nauplius ที่เกิดมาจะถูกน้ำหมุนจนตาย  เปิดจนน้ำแทบจะเดือดเลยหล่ะ




สุดท้ายก็ใส่ ไข่Artemia ลงไป ใส่จนน้ำเป็นสีออกดำๆ  หรือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะก็ได้  คราวนี้ก็เป็นอันเสร็จ






วิธีเก็บเกี่ยว

หลังจากที่เราเป่า ไข่ Artemia ทิ้งไว้ 48 ชมแล้ว  ให้ลองกลับมาดูอีกที ( จะ 36 ชม ก็ได้ขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิห้องครับ ถ้าอากาศร้อน Nauplius จะฟักตัวเร็ว  ถ้าเย็นก็จะฟักตัวช้า   แต่ไม่ควรเกิน 72 ชม เนื่องจาก Nauplius จะถูกเป่าแหลกหมด)  

2 วัน ไวเหมือนโกหก  จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำระเหยออกไปพอสมควร




คราวนี้ก็ ปิดลมจากสายออกซิเจนครับ  ไม่ให้ลมเข้า เพื่อรอ Nauplius ตกตะกอนประมาณ 15 นาที  ขั้นตอนนี้ไฟสำคัญมาก เนื่องจากเป็นตัวที่ทำให้ Nauplius ตกตะกอนได้เร็วขึ้น




15 นาทีผ่านไปครับ ที่เปิดไฟเพราะว่า อาทีเมียร์ชอบเล่นไฟ เราเปิดไฟไว้ที่ด้านล่างของขวด อาทีเมียร์ก็จะวิ่งลงไปเล่นไฟที่ด้านล่าง ทำให้ตกตะกอนเร็วขึ้น



หลังจากนั้น ให้ปลดสายยางออกจากปั๊มลม  โดยนำมารองไว้ในภาชนะ  เปิดวาลว์ให้ Nauplius ไหลลงมายังภาชนะรับรอง




นำ Nauplius ที่ได้  ไปล้างในน้ำจืดสนิท  ลดความเค็ม  จากนั้นก็นำไปให้ลูกปลาน้อยๆ แรกเกิด ได้แล้วครับ



ถ้าใช้ไม่หมด ตักขึ้นมา pack เพื่อใช้กินในมื้อต่อไปครับ แต่จะไม่สดเหมือนให้กินตอนมันดิ้นๆนะครับ 




ที่มา http://www.mornorfishclub.com/forum.php?mod=viewthread&tid=149&extra=page%3D2

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

เยี่ยมร้านพี่ตึก เครย์ฟิช

วันนี้เราจะมาเยี่ยมชมร้านพี่ตึก เครฟิชกันนะครับ


ที่มา http://www.fish-zone.com/clip-view.php?id=5

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคเลี้ยงปลากระเบนเพื่อการค้า โดย...เอ๋ พระประแดง(ตอน 1)

เทคนิคเลี้ยงปลากระเบนเพื่อการค้า โดย...เอ๋ พระประแดง(ตอน 1)



เอ๋ พระประแดง
    ปลากระเบนสวย งาม เป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงง่าย เพาะขยายพันธุ์ได้ไม่ยากที่สำคัญตลาดทั้งในและต่างประเทศมีความต้องการปลา อย่างต่อเนื่อง และมีราคาซื้อขายต่อตัวอยู่ในระดับสร้างรายได้อย่างน่าพอใจ ทำให้เริ่มมีหลายคนหันมาสนใจอยากเพาะเลี้ยงปลากระเบนสวย งาม ในฐานะที่ผ่านประสบการณ์การเลี้ยง การเพาะขยายพันธ์ปลากระเบนสวยงามมากว่า 10 ปี จึงมีคำแนะนำมาฝากผู้ที่กำลังอยากจะทำฟาร์มเพาะเลี้ยงปลากระเบนสวยงาม อย่างน้อยเพื่อเป็นแนวทางให้กับเพื่อนๆ
     
    อันดับแรกดูเรื่องงบประมาณก่อน ว่ามีงบมากน้อยแค่ไหน สายป่านยาวหรือสั้น เมื่อเช็คงบประมาณของตัวเองแล้ว ก็ให้ไปดูเรื่องสถานที่ ถ้าเป็นสถานที่เช้าอยู่ สัญญาเช่าสั้นๆ แนะนำว่าอย่าทำเป็นฟาร์มเลย เพราะการทำฟาร์มปลากระเบนต้องใช้ระยะเวลา ยิ่งระยะเวลายาวนานเท่าไหร่ ยิ่งคืนทุน ได้กำไรมากขึ้นเท่านั้น เพราะปลากระเบนหากเราเลี้ยงตั้งแต่ปลาไซต์เล็กๆ ต้องใช้เวลา 1-2 ปี จึงจะผสมพันธุ์ให้ลูกปลา ฉะนั้น ถ้าเป็นพื้นที่เช้าระยะสั้นๆ ควรคิดให้รอบคอบ
 
     เมื่อสำรวจรวจแล้ว สมมุติว่ามีความพร้อมในทุกๆ ด้าน บ้านไม่ต้องเช่า มีพื้นที่เหลือใช้ประโยชน์เพียงพอสร้างบ่อไม่ต้องบ่อใหญ่มากก็ได้ เอาให้พอดีๆ กับกำลังทุน และกำลังแรง เริ่มต้นแนะให้ไปคุยกับผู้รู้ ใครก็ได้ที่คุณมั่นใจว่ารู้จริงเรื่องปลากระเบน เป็นคนมีประสบการณ์จริงๆ ทำปลากระเบนมายาวนาน ปัจจุบันก็ยังทำอยู่ ไปคุยขอข้อมูลจากคนๆ นั้น ใช้เวลาหาข้อมูลให้ชัวร์ที่สุด เสร็จแล้วมาคำนวณเรื่องงบประมาณ ถ้ามีเงินทุนมากพอ ย้ำว่ามากพอ แนะให้เริ่มต้นกับปลาสายพันธุ์แพงๆ เลย พวกปลาดำ ที่แนะนำแบบนี้ก็เพราะว่า การเลี้ยงปลาถูก กับปลาแพง ใช้ระยะเวลา ใช้งบประมาณดูแลไม่ต่างกันมากนัก แต่ผลลัพธ์ในแง่ของรายได้ต่างกันมากระหว่างปลาสายธรรมดา กับปลาสายแพงๆ เพียงแต่ต้นทุนพ่อ-แม่พันธุ์ที่เราต้องลงไปสำหรับปลาสายแพงๆ จะสูงมาก พ่อ-แม่พันธุ์หนึ่งคู่สำหรับปลาสายแพงๆ อย่างโพกาดอท อาจซ้อพ่อ-แม่พันธุ์ปลาสายธรรมดา อย่างโมโตโร่ได้เป็น 10 คู่ แต่เวลาลูกปลาออกมา โพกาดอทขายได้ราคาสูงกว่าโมโตโร่ 10 เท่าตัว ทำให้คุ้มทุนไว แต่ต้องสำหรับคนมีงบประมาณถึงเท่านั้นที่ควรทำแบบนี้

เพื่อนๆชาว Blogger ติดตามชม คุณเอ๋พระประแดงได้ที่ www.fish-zone.com ได้เลยนะครับ หรือจะทาง Blogger ของผมก็ได้ มีข่าวสารอัพเดทผมจะรีบนำมาเผยแพร่ให้เพื่อนๆชาว Blogger ได้ติดตามชมกัน

ทีมา http://www.fish-zone.com/view.php?id=46
 

สิ่งที่หลายคนอยากรู้...งานประกวดกุ้งเรดบี

สิ่งที่หลายคนอยากรู้...งานประกวดกุ้งเรดบี


คุณเกี๊ยว อความาร์ท
 
 
       เป็นข่าวดีสำหรับผู้รักกุ้งเรดบีจริง ๆ ที่ในปีนี้จะมีงานประกวดกุ้งเรดบีเกิดขึ้นในบ้านเรา หลังจากที่วงการกุ้งเรดบีบ้านเราว่างเว้นจากงานประกวดมายาวนาน และที่สำคัญการประกวดครั้งนี้ยังเป็นงานประกวดระดับอินเตอร์ เปิดโอกาสให้นักเลี้ยงกุ้งทั้งไทยและต่างประเทศร่วมประกวดได้ ถือเป็นครั้งแรกในบ้านเรา โดยงานประกวดครั้งนี้ใช้ชื่องานว่า 1 st International shrimp contest”
 
       งานสำคัญ และน่าสนใจอย่างนี้ FZ. ต้องนำเสนอรายละเอียดกันแบบล่วงหน้ากันหน่อย เพื่อให้ผู้เลี้ยงกุ้งเรดบีได้มีเวลาเตรียมตัว เตรียมกุ้งให้พร้อมร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งผู้ที่จะให้รายละเอียดของงาน “1 st International shrimp contest” นี้ ได้ดีที่สุดต้องเป็นคนนี้เท่านั้นคุณวัฒนชัย จีนารักษ์ หรือ คุณเกี๊ยว ผู้บริหารร้าน Aquamarts แกนนำสำคัญของการจัดงาน ไปติดตามรายละเอียดของงานผ่านบทสัมภาษณ์ของคุณเกี๊ยวกันเลย
 
แนวคิดที่มาของการจัดงาน
 
     งานนี้เกิดขึ้นมาจาก ความอยากเห็นวงการกุ้งเรดบีในบ้านเรามีกิจกรรมงานประกวดขึ้นอีกครั้ง เพื่อให้เพื่อน ๆ ผู้เลี้ยง ผู้เพาะ ได้นำกุ้งมาโชว์ความสวย อวดความสามารถในการเลี้ยง การเพาะพันธุ์ ได้พบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์กัน เมื่อมีกิจกรรมเกิดขึ้น มีการมาร่วมกิจกรรมก็จะช่วยให่วงการกุ้งเรดบีบ้านเราตื่นตัวมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดงานครั้งนี้ขึ้น
 
งานนี้มีความพิเศษอย่างไร
 
       ที่ผ่านมาเราเคยมีการจัดประกวดกุ้งเรดบีมาบ้างแล้ว แต่เป็นการจัดเฉพาะกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงภายในประเทศ แต่ในงานประกวดครั้งนี้ เราเปิดโอกาสให้ผู้เพาะเลี้ยงชาวต่างชาติร่วมประกวดได้ด้วยจึงเป็นที่มาของ ชื่องานที่ว่า1st International shrimp contest” เหตุผล ที่จัดเป็นงาน International ก็เพราะเราต้องการให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก ได้เห็นความสามารถของผู้เพาะเลี้ยงกุ้งบ้านเรา และเราเองก็จะได้เห็นความสามารถของผู้เพาะเลี้ยงชาวต่างชาติ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงกุ้งของเราใน อนาคต
 
รูปแบบของงานนี้
 
         ก่อนอื่นต้องบอกว่า ด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลาในการเตรียมตัว ทำให้งานในไปนี้อาจจะจัดได้ไม่สมบูรณ์แบบนัก แต่ในงานประกวดครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งเราตั้งใจว่าจะจัดขึ้นทุกปี จะพัฒนาความสมบูรณ์แบบในการงานให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ สำหรับรูปแบบของงานในครั้งนี้นั้น
 
       โดยรูปแบบของงาน ทางกองประกวดจะอำนวยความสะดวกในเรื่องของสถานที่ และตู้สำหรับประกวดกุ้งไว้ให้พร้อมทุกอย่าง ผู้เข้าประกวดเพียงแต่นำกุ้งมา โดยไม่ต้องนำอุปกรณ์ใด ๆ มาด้วย เราจัดเตรียมให้พร้อม ซึ่งทางกองประกวดจะทำการเซ็ตตู้ก่อนการประกวดล่วงหน้า 2 อาทิตย์ เพื่อให้ตู้อยู่ในสภาพเหมาะสม และปลอดภัยต่อกุ้งที่สุด ขนาดตู้ที่เซ็ตไว้ให้เป็นขนาดความจุน้ำ 30 ลิตร
 
          โดยกิจกรรมในส่วนของการประกวด เราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของการตัดสิน กับส่วนของ การรับรางวัลและโชว์กุ้งให้ผู้ร่วมงานได้สัมผัสความสวยงามของกุ้ง ซึ่ง 2 ส่วนนี้จะจัดขึ้นคนละวัน
 
วัน-เวลา การประกวด และการส่งกุ้งเข้าร่วมงาน
 
         งานอย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2555 แต่อย่างที่ได้กล่าวไปว่า การจัดงานเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของการตัดสิน กับส่วนของ การรับรางวัลและโชว์กุ้ง ซึ่ง 2 ส่วนนี้จะจัดขึ้นคนละวันนั้น ในวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2555 จะเป็นในส่วนที่ 2 คือ การรับรางวัลที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555 จากนั้นถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555 กุ้งจะถูกโชว์ไว้ในงานเพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้สัมผัสความสวยของกุ้ง
 
         ดังนั้น สำหรับผู้สนใจจะเข้าร่วมประกวด เราจึงกำหนดว่า ท่านจะต้องนำกุ้งมาปล่อยลงตู้ที่ทางกองประกวดจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนวัน ตัดสินอย่างน้อย 5 วัน เพื่อให้กุ้งปรับสภาพเข้ากับระบบจนสามารถแสดงศักยภาพความสวยงามของตัวเองออก มาได้อย่างเต็มที่
 
ประเภทกุ้งส่งเข้าประกวด
 
         สำหรับงานครั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดด้านเวลาการเตรียมตัวที่ค่อนข้างกระชั้น เราจึงเปิดรับประกวดในรูปแบบ open Red bee shrimp  และ open Black bee shrimp  โดยกำหนดขนาดของกุ้งที่เข้าร่วมประกวดไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 1.5 ซม. ซึ่งในการประกวดครั้งต่อไป เราอาจจัดประเภทการประกวดให้หลากหลายมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้
 
การตัดสินคณะกรรมการ และเกณฑ์การให้คะแนน
 
        เป็นรูปแบบการตัดสินที่เราคิดขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ซึ่งคะแนนการตัดสินจะมาจาก 2 ส่วน คือ จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะนำโดยกรรมการจากญี่ปุ่น และคะแนนอีกส่วนหนึ่งจะมาจากผลโหวตของผู้เข้าชมงาน 100 ท่านแรก
 
          โดยเกณฑ์การให้คะแนน จะมีรายละเอียดในการให้คะแนน แบ่งเป็นห้วข้อต่าง ๆ  ตามนี้
 
         body and size 20%, red or black color 20%, white color 20 %, impression and pattern 20% และ leg 20% ซึ่งเป็นรายละเอียดที่เราคิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งเห็นว่าเราจะให้คะแนนแต่ละจุดเท่า ๆ กัน เพื่อให้กุ้งทุกแบบ ทุกสาย มีคะแนนที่สมดุลกัน และยังมีคะแนนอีกส่วนหนึ่งที่มากจากผลโหวตของผู้เข้าชมงาน 100 ท่านแรก เราจะเอาคะแนนโหวตที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยแล้วนำไปร่วมกับคะแนนของคณะกรรมการ เพื่อให้ได้เป็นคะแนนรวมออกมา ซึ่งวิธีการคิดคะแนนรวมนั้นเราจะมีวิธีการคิดที่ละเอียดเป็นธรรมอย่างแน่นอน
 
จำนวนกุ้งที่ส่งได้ และค่าใช้จ่ายในการประกวด
 
     เรามีข้อกำหนดไว้ว่า ผู้เข้าร่วมประกวด 1 ท่าน สามารถส่งกุ้งได้ไม่เกิน 3 ตัวต่อตู้ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกวดมากขึ้น ในกรณีที่กุ้งตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหา ปรับตัวเข้ากับสภาพตู้ไม่ได้ ไม่สามารถแสดงความสวยงามออกมาได้อย่างเต็มที่ ก็ยังมีกุ้งตัวอื่น ๆ ไว้สำรอง โดยคณะกรรมการจะให้คะแนนกับกุ้งตัวที่สวยสมบูรณ์ที่สุด สำหรับค่าสมัครกำหนดไว้ที่ 500 บาทต่อ 1 ท่าน
 
วันรับประกวด และสถานที่รับสมัครส่งกุ้งประกวด
 
        เราเปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และไม่มีการรับสมัครที่หน้างาน โดยผู้สนใจสมัครได้ที่ร้าน Aquamarts ร้าน Atlantis Atlantis ทั้ง 2 สาขา และร้านที่มีป้ายสัญลักษณ์การประกวด หรือสามารถโทรสอบถามได้ที่ 0836988444 หรือ ที่ E-mail : aquamarts@yahoo.co.th
 
รางวัลสำหรับผู้ชนะ
 
       สำหรับในปีนี้  รางวัลของเรายังมีไม่มากสักเท่าไหร่ แต่ในปีต่อ ๆ ไปเราจะเพิ่มรางวัลเข้ามาให้มากขึ้น โดยรางวัลที่เราจัดเตรียมไว้ ดังนี้
      - grand champion   เงินรางวัล 10000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล  ใบประกาศ และของรางวัลอื่น ๆ
      - gold prize เงินรางวัล 5000 บาท   ใบประกาศ และของรางวัลอื่นๆ
      - silver prize เงินรางวัล 3000 บาท   ใบประกาศ และของรางวัลอื่นๆ
      -  blond prize เงินรางวัล 1000 บาท   ใบประกาศ และของรางวัลอื่นๆ 
 
การสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้าประกวด
 
       ผู้ร่วมจัดงานทุก ๆ คน ต่างก็เป็นคนชกุ้งเรดบี ตัวผมเองก็มีประสบการณ์เลี้ยงกุ้งเรดบี และมีประสบการณ์ดูแลกุ้งเรดบีมานับหมื่นตัว จนรู้ดี ว่ากุ้งเรดบีต้องการอะไร อะไรเป็นความเสี่ยงต่อกุ้ง กุ้งชอบสภาพน้ำ สภาพแวดล้อมแบบไหน และที่สำคัญผมรักกุ้งเรดบีไม่น้อยไปกว่าใคร ฉะนั้นเราจะพยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุด กำจัดจุดเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความสูญเสียต่อตัวกุ้งให้ดีที่สุด แน่นอนว่าเราคงรับประกัน 100 % ไม่ได้ว่าจะไม่เกิดความสูญเสีย แต่เราจะพยายามไม่ให้เกิดขึ้น
 
      ตู้ที่เราเซ็ตขึ้นจะใช้ดิน Benibachi Black soil  และ ปรับแร่ธาตุ PH 5.5-6.0  GH 4-6  Tds 170-200 ระบบกรองใต้กรวด ซึ่งเราจะเซ็ตให้ค่าต่าง ๆ ของน้ำอยู่ในระดับกลาง ๆ เพื่อให้กุ้งของทุกคนสามารถปรับตัวอยู่ได้ และตู้ขนาดความจุน้ำ 30 ลิตร ต่อกุ้ง 3 ตัวถือว่ามีความเสี่ยงต่อกุ้งน้อยอย่างมาก
 
กระแสตอบรับ
 
        มีความสนใจเข้ามาเยอะ โดยเฉพาะชาวต่างประเทศ เพราะงานนี้เราเปิดกว้าง มีการสอบถามขอข้อมูลกันมาก แต่เราก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะมีคนมาร่วมเยอะ ๆ แม้เราจะเตรียมตู้ไว้ให้พร้อมอย่างไม่จำกัดจำนวนก็ตาม เพราะด้วยเวลาที่กระชั้นเข้ามาอาจทำให้ผู้สนใจเตรียมตัว เตรียมกุ้งไม่ทัน แต่ในครั้งต่อไปเราจะเตรียมทุกอย่างให้พร้อมกว่าครั้งนี้อย่างนอน
 
       ส่วนกระแสในบ้านเราก็มีความสนใจกันเยอะเช่นกัน แต่ก็ติดที่ว่า บางท่านยังกังวลเรื่อง ความปลอดภัยของกุ้ง ซึ่งตรงนี้ผมขอบอกว่าทางกองประกวด จะจัดเตรียมทุกอย่างให้ดีที่สุด ซึ่งในประเด็นความกังวลต่าง ๆ นี้ ผมอยากจะฝากให้ลองคิดในอีกมุมหนึ่งว่า ถ้าทุกคนกลัวจนไม่มีใครกล้าร่วมประกวด วงการกุ้งเรดบีก็จะพัฒนาไปอย่างช้า ๆ หรือ หยุดนิ่งอยู่กับที่ การตื่นตัวของวงการก็จะไม่มี แต่ถ้าทุกคนมาร่วมกันมันจะช่วยให้วงการคึกคักได้แน่นอน ผลดีจะตกอยู่กับทุก ๆ คน สำหรับผู้จัดงานเองก็จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด จะดูแลกุ้งของผู้เข้าประกวดทุกคนให้ดีที่สุด
 
นอกจากการประกวดกุ้งแล้ว มีกิจกรรมพิเศษอะไรอีกบ้าง
 
       ในวันงานนอกจากจะได้ชมกุ้งประกวดแล้ว ยังมีกิจกรรมอีกหลายอย่างให้ได้ร่วมสนุกกัน มีสินค้ากุ้งเรดบีราคาพิเศษจำหน่าย มีการให้ความรู้เกี่ยวกับกุ้งเรดบี โดยบรีดเดอร์จากญี่ปุ่น และหลังจากเสร็จงานแล้ว เราจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประกวดขายกุ้งภายในงาน ให้กับผู้ที่สนใจจะซื้อไปเลี้ยง เพื่อที่ว่าจะได้ไม่ต้องนำกุ้งกลับ หรืออาจจะมีการประมูลกุ้งเกิดขึ้นในวันนั้นก็เป็นได้
 
        และนี่ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับงาน “1 st International shrimp contest” จาก คุณวัฒนชัย จีนารักษ์ หรือคุณเกี๊ยว แห่งร้าน Aquamarts เมื่อมีกิจกรรมสำหรับกุ้งเรดบีเกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างนี้แล้ว ก็หวังว่าจะได้รับความสนใจจากผู้นิยมกุ้งเรดบีร่วมส่งกุ้งประกวดและมาร่วม งานกันอย่างเยอะ ๆ ชนิดที่ว่า คนแวดวงอื่นเห็นแล้วเกิดความประทับใจในกุ้งเรดบีและอยากเลี้ยงกุ้งตัวจิ๋ว ๆ แต่น่ารักโคตร ๆ นี้กันบ้าง
 
        ก่อนถึงงานประกวด FZ.จะติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับงานนี้มานำเสนอเป็นระยะ ๆ ท่านสามารถอัพเดตข่าวสารงานนี้ได้ที่ www.fish-zone.com 

ที่มา http://www.fish-zone.com/view.php?id=70

ถ้ามีข่าวสารจากทาง www.fish-zone.com ผมจะรีบนำมาอัพเดทให้เพื่อนๆ ชาว Blogger ได้ติดตามชม

บุรุษผู้เป็นตำนานแห่งวงการกุ้ง Red Bee เมืองไทย (ตอนที่ 4)

บุรุษผู้เป็นตำนานแห่งวงการกุ้ง Red Bee เมืองไทย (ตอนที่ 4)


กลับมาติดตามเรื่องราวของบุคคลที่ถูกยกย่องให้เป็นตำนานแห่งวงการกุ้งเรดบีเมืองไทย "พี่บวร เรดบี"  ในตอนที่ 4  เรื่องราวในตอนนี้จะน่าสนใจอย่างไร ขอเชิญติดตาม
 
พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ แต่ไม่ขอเป็นศัตรูใคร
 
“ที่ ผ่านมาผมไม่เคยให้สัมภาษณ์กับนิตยสารฉบับไหนเลย สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะผมค่อนข้างห่วงใยความรู้สึกของเพื่อนๆ ทุกคนในแวดวงผู้เลี้ยงกุ้ง เพราะผมกลัวว่า คำสัมภาษณ์บางคำ อาจมีผลกระทบกับคนอื่นๆ ได้ เช่น การแนะนำวัสดุ หรือ อุปกรณ์การเลี้ยงกุ้งของผม อาจมีผลกระทบทั้งดีและลบด้านการตลาดกับผู้ค้าต่างๆ  ซึ่งผู้ค้าทุกคน ทุกเจ้า รู้จักเป็นเพื่อนกับผมทั้งนั้น คนที่รู้จักผมดีจะรู้ว่าถ้าให้ผมแนะนำการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ผ่านสื่อ หรือ กระทู้สาธารณะผมจะไม่แนะนำแบบเจาะจงยี่ห้อ แต่ถ้าได้มีโอกาสพูดคุยเป็นการส่วนตัวผมยินดีให้ความรู้ นำประสบการณ์ส่วนตัวมาแนะนำโดยไม่ปิดบัง”
 
“ผม อยากจะบอกว่าวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะแบรนด์อะไร ดีหมด แต่คนซื้อไปใช้จะต้องรู้คุณสมบัติของสินค้านั้นๆ ว่ามีคุณสมบัติ หรือ วิธีการใช้อย่างไร เช่น ดินลองพื้นตู้ เราต้องทำความเข้าใจด้วยว่าดินแต่ละยี่ห้อมันมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ทำปฏิกิริยากับน้ำต่างกัน ดินบางยี่ห้อผลิตมาเพื่อใช้กับน้ำกรองธรรมดา แต่ดินบางยี่ห้อต้องใช้กับน้ำ RO ค่าน้ำจึงมีความเหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้ง แต่ที่ผ่านมาคนเลี้ยงกุ้งบ้านเราไม่ได้ตระหนักถึงจุดนี้ ผลก็คือทำให้ระบบตู้ล่ม กุ้งตายเป็นเบือ และสุดท้ายก็ไปโทษตัวสินค้า มีการโจมตีสินค้ากัน มีการโกรธเคืองฟ้องร้องกัน แตกแยก ขาดความสามัคคีกัน ซึ่งมันจะทำให้วงการตกต่ำได้”
 
“การ ให้สัทภาษณ์กับ FZ.ก็เพราะผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะนำเอาประสบการณ์ ความรู้ที่สั่งสมมาหลายปี เผยแพร่ให้กับคนรักกุ้งเรดบีทุกคน ได้มีแนวทางให้เดินตาม ไม่ต้องหลงทิศเดินไปผิดทาง ผมมองว่าที่ผ่านมามีหลายคนต้องสูญเสียทั้งเงิน และเวลาแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยง หลายคนต้องหมดเงินเป็นหมื่น เป็นแสนกับเรื่องของตู้ และระบบ หลายคนต้องใช้เวลาเก็บสะสมเงินหลายปี เพื่อนำมาซื้อกุ้ง หลายคนขอเงินพ่อ แม่มาซื้อกุ้ง แต่กุ้งก็ตาย เพราะขาดประสบการณ์ ขาดการแนะนำที่ถูกต้อง  ผมเองเคยผ่านประสบการณ์ความล้มเหลวมาก่อน จนวันนี้ถือได้ว่าเดินมาถูกทางแล้ว จึงอยากนำประสบการณ์มาบอกเล่าสู่กัน”
 
ฝากเตือนจากใจ มือใหม่ต้องสั่งสมประสบการณ์
 
“สิ่ง ที่ผมย้ำเตือนกับทุกๆ คนที่ได้พูดคุยกัน ไม่ว่าจะช่องทางไหนคือ เรื่องประสบการณ์ ผมขอย้ำอีกครั้งเลยว่า ใครก็ตามที่คิดจะเลี้ยงกุ้งเรดบี หรือ เพิ่งเริ่มต้นเลี้ยง ประสบการณ์สำคัญที่สุด ทุกวันนี้ผมจะขายกุ้งให้ใครสักคน ผมจะเลือกลูกค้าที่มีประสบการณ์ ผมจะสัมภาษณ์ลูกค้าที่ต้องการซื้อกุ้งผมว่า เคยมีประสบการณ์เลี้ยงกุ้งมาแล้วกี่ปี เคยผ่านอะไรมาบ้าง ถ้าไม่มีประสบการณ์ หรือ ยังมีประสบการณ์น้อยๆ ผมจะไม่ขายกุ้งให้ ไม่ใช่ว่าหยิ่ง แต่ผมต้องการให้กุ้งของผมไปอยู่ในมือคนเลี้ยงที่มีประสบการณ์ เลี้ยงอย่างเข้าถึง เข้าใจ เลี้ยงแล้วกุ้งมีโอกาสรอดปลอดภัยสูง ผมไม่สนใจตัวเงินหรอก ผมให้ความสำคัญกับการอยู่รอดของกุ้งมากกว่า ถ้าต้องการซื้อกุ้งผม แต่ยังไม่มีประสบการณ์ มาเลยครับ มาหาผม มานั่งคุยกัน ผมยินดีสอนทุกอย่าง มาเป็นเพื่อนกันก่อน เรื่องกุ้งใจเย็นๆ ผมไม่ต้องการให้คนที่ซื้อกุ้งไปเลี้ยงเจอประสบการณ์ซื้อกุ้งแพงๆ ไปเลี้ยงแล้วกุ้งตาย สุดท้ายเดี๋ยวจะมองหน้ากันไม่ติด”
 
“สำหรับ นักเลี้ยงมือใหม่แนะนำให้เริ่มต้นจากกุ้งเรดบีเกรดธรรมดาที่สุดก่อน ไม่ต้องสนใจกระแสว่าต้องเลี้ยงกุ้งเรดบีเกรดสูงๆ ขอให้มั่นใจตัวเอง ตั้งแนวคิดว่าภายในกี่วัน กี่เดือน หรือ กี่ปี เราจะต้องเป็นนักเลี้ยงกุ้งเรดบีที่ประสบความสำเร็จให้ได้  และเก็บเกี่ยวประสบการณ์เริ่มจากซื้อกุ้งเรดบีเกรดต่ำๆ ราคาไม่แพงมาเลี้ยงเอาประสบการณ์ ศึกษาเรียนรู้วงจรชีวิต พฤติกรรมของกุ้ง ถ้าเกิดความสูญเสียจะได้ไม่ท้อมากนัก  แต่ถ้าเริ่มจากกุ้เราคาแพงๆ สูญเสียขึ้นมาแล้วจะท้อได้ง่าย หมดกำลังใจ ในที่สุดก็มองภาพเรคบีไม่ดี ผมไม่อยากให้เกิดความรู้สึกนั้นขึ้น”
 
“บางคน เริ่มต้นด้วยตู้ขนาดใหญ่ ลงทุนติดตั้งอุปกรณ์อย่างดี ซื้อกุ้งเป็นฝูง สุดท้ายกุ้งตายหมด เพราะอะไร เพราะขาดประสบการณ์ ผมขอย้ำว่า เริ่มแรกไม่ต้องตู้ใหญ่โตหรอก ตู้เล็กๆ ติดตั้งระบบเล็กๆ เหมาะสมกับตู้ ซื้อกุ้งราคาไม่แพง ตู้ใบนั้นก็ดูสวยงามได้ มันขึ้นอยู่กับใจเรา ความคิดของเราเองการไปเริ่มต้นด้วยกุ้งเกรดสูงๆ ราคาแพงๆ มันสร้างความเครียดให้กับผู้เลี้ยง ยิ่งผู้เลี้ยงมีประสบการณ์น้อยๆ ยิ่งอันตรายมาก เพราะไม่เข้าใจเกี่ยวกับวงจรชีวิตของกุ้งดีพอ ยังไม่รู้ความต้องการของกุ้ง กุ้งเรดบีแค่ค่า pH เปลี่ยนเล็กน้อยกุ้งก็ตายได้”
 
ดิน กับ น้ำ ความสัมพันธ์ ที่สำคัญ แต่หลายคนมองข้าม
 
“ปัจจัย หลักๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของกุ้งเรดบี จากประสบการณ์ของผมมีอยู่ 5 ปัจจัยคือ น้ำ, ดิน, ระบบการทำความเย็น, ค่า pH และระบบกรอง ถ้า 5 อย่างนี้สมบูรณ์กุ้งเรดบีจะอยู่กันอย่างมีความสุข ผสมพันธุ์ออกลูกให้ผู้เลี้ยงได้ภูมิใจ ซึ่งใน 5 ปัจจัยที่ยกมานี้ มีอยู่ 2 ปัจจัยที่ผมอยากพูดถึงเป็นพิเศษ เพราะเป็นเรื่องสำคัญ แต่นักเลี้ยงกุ้งหลายคนมองข้าม ส่งผลให้ระบบตู้ล่ม กุ้งตาย นั่นก็คือ เรื่องความสำพันธ์กันระหว่าง น้ำ กับ ดิน”
 
“ดิน ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบตู้เลี้ยงกุ้งเรดบี ดินมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าน้ำ ความเข้าใจผิดๆ ของผู้เลี้ยงกุ้งเรดบีที่มีผลต่อระบบตู้เลี้ยงล่มก็คือ เข้าใจว่าดินทุกชนิดสามารถนำมาใช้กับน้ำประเภทใดก็ได้ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด ผมขอบอกเลยว่า ปัจจุบันมีดินให้เลือกใช้หลายชนิด หลายยี่ห้อ ผู้ซื้อจะต้องศึกษาด้วยว่าดินชนิดที่ซื้อมานั้น เหมาะกับน้ำประเภทใด หลายคนยังยึดติดว่า ดิน ไม่ว่าจะยี่ห้อใดต้องใช้กับน้ำ RO ซึ่งไม่เป็นความจริง ดินบางยี่ห้อ เมื่อนำมาใช้กับน้ำ RO ทำให้ค่า pH แกว่งไม่เหมาะกับการเลี้ยงกุ้ง แต่หลายคนไม่รู้ คิดว่าการที่ค่า pH เปลี่ยนเป็นผลมาจากสาเหตุอื่น ดังนั้นขอให้จำไว้ว่า ดินจะต้องสัมพันธ์กับน้ำ จึงจะทำให้ค่าpH อยู่ในระดับเหมาะสม”
 
“แล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าดินยี่ห้อไหนควรใช้กับน้ำอะไร ก็ต้องมีการทดสอบดินก่อนที่จะนำมาใส่ในตู้ วิธีการทดสอบก็ง่ายๆ ให้นำแก้วมา 2 ใบ ใส่ดินที่ซื้อมาทั้ง 2 ใบประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ  ใบแรกนำน้ำRO มาใส้ลงไป ใบที่สองนำน้ำกรองธรรมดา มาใส่ลงไป ทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นวัดค่า pH ถ้าน้ำแก้วไหนมีค่า pH อยู่ในระดับ 6.1-6.5 ถือว่าเป็นระดับที่กุ้งอยู่แล้วมีความสุขที่สุด ถ้าค่า pH สูงกว่า 6.5 แม่กุ้งจะตั้งท้องยาก ถ้าค่า pH ต่ำกว่า 6.1 ลงไปมากๆ อยู่ในระดับเป็นกรดมาก ลูกกุ้งจะเกิดดี แต่แม่กุ้งจะตาย และลูกกุ้งก็จะโตช้า ดังนั้น ถ้าต้องการให้กุ้งอยู่อย่างมีความสุขก็ควรเลือกระดับค่า pH 6.1-6.5”
 
“ขอย้ำ อีกครั้งว่า ดินจะต้องมีความสัมพันธ์กับน้ำ ก่อนจะนำดินใส่ลงตู้จำเป็นต้องมีการทดสอบก่อน ถ้าดินกับน้ำเหมาะสมกัน ผู้เลี้ยงไม่มีความจำเป็นต้องทำอะไรเพิ่มเติมกับตู้ใบนั้นเลย เพียงแค่เซทระบบต่างๆ ให้สมบูรณ์ และปล่อยให้กุ้งอาศัยอยู่ในตู้โดยไม่ต้องไปรบกวนเขามากนัก เดี๋ยวแม่กุ้งก็จะให้ลูกเต็มตู้ สร้างความสุขให้เราได้เอง”
 
น้ำ RO กับ น้ำกรองธรรมดา อย่างไหนใช้เลี้ยงกุ้งดีกว่ากัน
 
“ตั้งแต่ ไหนแต่ไรมาการเลี้ยงกุ้งเรดบี มักจะคุ้นเคยกับน้ำ RO ปัจจุบันน้ำ RO ก็ยังใช้เลี้ยงกุ้งอยู่ เพียงแต่ปัจจุบัน ผู้ผลิตดินที่ใช้เลี้ยงกุ้งเรดบี มีการออกแบบดินให้เหมาะนำมาใช้กับน้ำกรองธรรมดา เพื่อเพิ่มทางเลือก และความสะดวกแก่ผู้เลี้ยง เพราะหากใช้น้ำ RO ผู้เลี้ยงจะต้องเติมแร่ธาตุต่างๆ ลงไป เนื่องจากน้ำ RO เป็นน้ำที่ผ่านระบบการกรองขั้นสูง ทำให้ได้น้ำที่มีความบริสุทธิ์มาก แร่ธาตุต่างๆ ขาดหายไปด้วย จึงต้องมีการเติมแร่ธาตุทดแทน แต่สำหรับน้ำกรองธรรมดา จะมีแร่ธาตุอยู่ในน้ำเพียงพอสำหรับกุ้งเรดบี ทำให้ผู้เลี้ยงแทบไม่ต้องเติมแร่ธาตุทดแทนหากไม่จำเป็น”
 
“แต่ การเลี้ยงกุ้งเรดบีด้วยน้ำกรองธรรมดา สำหรับมือใหม่ผมมองว่า เป็นเรื่องยาก และเสี่ยงไม่น้อย เพราะน้ำกรองธรรมดาบ้านเราระดับค่า pH ค่อนข้างสูง น้ำประปาเปิดผ่านก็อกน้ำค่า pH มักจะอยู่ที่ระดับ 7.2 ใช้อุปกรณ์กรองช่วยสามารถทำให้ค่า pH ลงมาอยู่ระดับ 5-6 กว่าๆ ได้ แต่ก็ต้องระวังเรื่องธาตุเหล็ก และสนิม ที่มักปะปนอยู่ในน้ำประปาบ้านเรา  ซึ่งธาตุพวกนี้ทำให้กุ้งตายได้ ฉะนั้นสำหรับมือใหม่ ผมขอแนะนำให้เริ่มต้นด้วยน้ำ RO แล้วค่อยเติมแร่ธาตุทดแทน จะช่วยให้เสี่ยงน้อยลง เมื่อมีประสบการณ์มากพอแล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปใช้น้ำกรองธรรมดาเลี้ยงจะดีกว่า อีกสิ่งหนึ่งที่ฝากไว้เกี่ยวกับเรื่องน้ำคือ กุ้งเรดบีเป็นสัตว์ชอบน้ำเก่า ไม่ชอบน้ำใหม่”
 
 ที่มา http://www.fish-zone.com/view.php?id=97
ผมจะคอยติดตามบทความที่น่าสนใจของพี่บวรมีเรื่องดีๆเกี่ยวกับกุ้งเรดมีมาให้ติดตามชมอย่างแน่นอน (โปรดติดตามตอนต่อไป) 

บุรุษผู้เป็นตำนานแห่งวงการกุ้ง Red Bee เมืองไทย (ตอน 3)


บุรุษผู้เป็นตำนานแห่งวงการกุ้ง Red Bee เมืองไทย (ตอน 3)


    กลับมาติดตามเรื่องราวของบุคคลที่ถูกยกย่องให้เป็นตำนานแห่งวงการกุ้งเรดบีเมืองไทย "พี่บวร เรดบี"  ในตอนที่ 3 กันต่อ เรื่องราวในตอนนี้จะน่าสนใจอย่างไรบ้างนั้นอย่ารอช้า เชิญติดตามกันได้เลย
 
ความรัก และการสูญสีย คือจุดเริ่มต้น บวร เรดบี
 
     “จุดเริ่มต้นในการเลี้ยงกุ้งเรดบีของ ผม เกิดมาจากความรัก และความสูญเสีย ความรักคือ รักภรรยา ย้อนกลับไปเมื่อ 7 ปีที่แล้ว วันหนึ่งผมพาครอบครัวไปเดินเล่นที่สวนลุมไนท์บาซาร์เดินผ่านร้านขายสัตว์น้ำ สวยงาม ภรรยาสะดุดตากับกุ้งตัวจิ๋วๆ สีสดใส คนขายบอกว่าเป็นกุ้งคริสตัลเรดเกิด ความอยากเลี้ยงเพราะชอบสีสันสวยงามของมัน จึงซื้อมาเลี้ยง 5 ตัว ราคายุคนั้นตกตัวละ 600 บาท ซื้อตู้เล็กๆ มาหนึ่งใบ ทรายลองพื้นอีกหนึ่งถุง รวมแล้วจ่ายเงินไปหกพันบาท ตอนนั้นผมเองก็ตกใจนะไม่คิดว่า กุ้งตัวเล็กๆ จะมีราคาแพงเกือบพันบาท ตัวมันเล็กมากจริงๆ กลับถึงบ้าน ผมพาลูกอาบน้ำเตรียมพักผ่อน ส่วนภรรยาก็จัดเตรียมตู้เลี้ยงกุ้งที่ซื้อมา ผ่านไปชั่วโมงกว่า หลังจากผมพาลูกเข้านอนแล้ว ก็มาหาภรรยาผมคิดว่าเขาคงนั่งชื่นชมกุ้งจนเพลิน แต่ปรากฎว่า ภรรยาผมนั่งน้ำตาซึม ผมก็ตกใจถามว่าเกิดอะไรขึ้น ภรรยาบอกว่า กุ้งตายหมดแล้ว เขาเอากุ้งทั้ง 5 ตัว มาเรียงไว้บนกระดาษทิษชู ตอนนั้นผมงงมาก ว่าทำไม่มันตายง่ายอย่างนี้ ภรรยาเขารู้ว่าผมเป็นคนชอบเลี้ยงสัตว์ เลยขอร้องให้ผมช่วยเลี้ยงกุ้งตัวจิ๋วๆ นี่ให้รอดเพื่อเขาหน่อย”
 
      “วันรุ่งขึ้น ผมกลับไปยังร้านที่ซื้อกุ้ง 5 ตัวนั้นมา ไปถามว่าทำไม่กุ้งชนิดนี้จึงตายง่าย เจ้าของร้านเขาคิดว่าผมเคยเลี้ยงมาก่อน จึงไม่ได้แนะวิธีเลี้ยงให้ เขาบอกว่าต้องมีการวัดค่า pH ต้องมีระบบกรองอย่างดี กุ้งจึงจะไม่ตาย เมื่อได้ข้อมูลอย่างนั้น ผมกลับมาบ้านพร้อมจัดการเซทตู้ใหม่ ทำระบบกรองอย่างดีเท่าที่จะทำได้ในยุคนั้น แล้วซื้อกุ้งคริสตัสเรดมาเลี้ยงใหม่ ปรากฏว่ากุ้งอยู่รอดข้ามวัน ดีใจกับภรรยาคิดว่า คงรอดให้เราได้ชื่นชมความสวยไปนานๆ แล้ว แต่พอผ่านไปไม่กี่วันกุ้งก็ทะยอยตายจนหมดตู้”
 
     “ผมค้นคว้าหาข้อมูลวิธีการเลี้ยงเพิ่มเติม ทำให้รู้ว่ากุ้งชนิดนี้ต้องเลี้ยงในอุณหภูมิ 25-26 องศาฯ ไม่รู้จะทำวิธีไหนให้อุณหภูมิน้ำเย็น เปิดแอร์บ้านช่วยอุณภูมิลงต่ำ  แต่พอปิดแอร์อุณหภูมิก็สูงขึ้น กุ้งเริ่มสีซีด ตัวไส ผมจึงคิดวิธีการนำพัดลมตัวเล็กๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มาดัดแปลงเป่าลงไปในตู้เพื่อช่วยเพิ่มความเย็น ก็ได้ผลในระดับหนึ่งแต่ยังไม่พอใจจึงพัฒนาพัดลมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้ได้ความเย็นมากขึ้น ปรากฏว่ากุ้งอยู่กันอย่างมีความสุข สีสันสวยงาม ออกลูกในตู้เลี้ยงเป็นพันตัว ทำให้เป็นที่รู้จักในแวดวงผู้เลี้ยงกุ้งแคระว่า  ผมเป็นคนแรกๆ ที่ประสบความสำเร็จสามารถเพาะกุ้งได้เป็นพันตัวโดยใช้ระบบพัดล่มเป่า  ต้องบอกว่าเพราะ ด้วยความรักภรรยา และความสูญเสีย จึงเป็นจุดเริ่มต้นทำให้ผมเลี้ยงกุ้งแคระตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาจริงๆ”
 
ก้าวสู่ความสำเร็จ เป็นตำนาน เพราะความอดทน ไม่ยอมแพ้
 
     “ปัจจัยสำคัญอย่างเดียวที่ทำให้ผมก้าวมาถึงวันนี้ได้คือ ความอดทนเท่านั้น ในช่วงที่สูญเสียกุ้งมากๆ เกิดความท้อ เพราะตอนนั้นผมพยายามทำทุกอย่าง ใครแนะนำอะไรมาทำตามทุกอย่าง แต่กุ้งยังตาย ภรรยาผมซึ่งเป็นคนขอให้ผมเลี้ยง ถึงกับบอกให้ผมเลิกล้มความตั้งใจ เพราะเห็นผมสูญเสีย เห็นผมเหนื่อยกับความพยายามจะเอาชนะกุ้งให้ได้”
 
     “ถ้าผมไม่คิดอะไรมาก ผมคงเลิกเลี้ยงไปตั้งนานแล้ว และก็คงไม่มีบวร เรดบีใน วันนี้ แต่ที่ไม่ยอมเลิก อดทน พยายามจนก้าวมาถึงวันนี้นั้น เพราะผมคิด ถึงบรรดากุ้งหลายๆ ตัวที่เราทำเขาตาย ผมมั่นใจว่า กุ้งมันไม่อยากตายหรอก มันก็อยากมีชีวิตอยู่รอดจนครบวงจรชีวิตของมัน แต่ที่มันต้องตาย เพราะเราไม่รู้วิธีการเลี้ยงเขาดีพอ ความคิดนี้แหละครับ ที่ทำให้ผมสู้ต่อ เพราะถ้าเลิก ณ เวลานั้น กุ้งที่ตายไปก็เหมือนไม่มีค่าชีวิตอะไรเลย ตรงนี้ผมรับไม่ได้ ต้องเลี้ยงเขาให้รอด ให้ออกลูก หลานให้ได้ จึงอดทนสู้ต่อจนมาถึงวันนี้ได้”
 
ผู้ทำให้กุ้งสโนว์ จากหลักหมื่น เหลือตัวละ 500!
 
    “หลังจากประสบความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งคริสตัสเรดแล้ว เป้าหมายต่อมาก็คือกุ้งสโนว์ ในยุคนั้นประมาณปี พ.ศ. 2548 ผมจำได้ดีว่า ราคากุ้งสโนว์คู่ หนึ่งแปดหมื่นบาท ตกใจมาก กุ้งตัวเล็กนิดเดียวราคาเกือบแสน แล้วใครจะมีกำลังซื้อไปเลี้ยงได้ ต่อให้สวยแค่ไหน อยากเลี้ยงมากแค่ไหน แต่ด้วยราคาขนาดนั้นเลี้ยงแล้วคงมีแต่ความทุกมากกว่าความสุข ผมจึงคิดในใจขณะนั้นเลยว่า ต้องทำให้กุ้งสโนว์ราคาถูกลงมาให้ได้ เพื่อให้คนรักกุ้งทุกคนสามารถซื้อไปเลี้ยงได้”
 
      “ผมจึงสั่งซื้อพ่อ-แม่พันธุ์กุ้งสโนว์จาก สิงคโปร์มาทำการเพาะ ด้วยประสบการณ์ที่เรามีมากขึ้นจากการลองผิดลองถูกกับกุ้งคริสตรัสเรดมาก่อน ทำให้ผมสามารถเพาะเลี้ยงกุ้งสโนว์จนได้จำนวนกุ้งมาก ผมตัดสินใจขายกุ้งสโนว์ที่เพาะได้ในราคาขั้นต่ำห้าร้อยบทต่อตัว หลายคนมองว่าผมทำให้ตลาดกุ้งสโนว์เสีย ซึ่งก็ขอยอมรับ และต้องขอโทษด้วย แต่ในอีกมุมหนึ่งผมก็ได้ทำให้คนรักกุ้งทุกคนได้มีความสุขกับการเลี้ยงกุ้ง สำหรับผมแล้วความสุขตรงนี้มันมีค่ามากกว่าตัวเงินนะ”
 
(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ที่มา http://www.fish-zone.com/view.php?id=65

บุรุษผู้เป็นตำนานแห่งวงการกุ้ง Red Bee เมืองไทย (ตอน 2)

มาติดตามตอนต่อไป ของเรื่องราวบุคคลผู้ได้ชื่อว่า เป็นตำนานผู้รู้จริงแห่งวงการกุ้งเรดบีเมืองไทย คุณณัฐพัชญ์ ประทีปสินธุ์ หรือในอีกนามหนึ่งที่ในแวดวงกุ้ง Red Bee รู้จักเป็นอย่างดี...บวร เรดบี นั่นเอง
 
         เมื่อ ตอนที่แล้ว เราได้ทราบกันไปแล้วว่า กว่าจะมาเป็นบวรเรดบี ที่ได้รับการยอมรับในทุกวันนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย สำหรับตอนนี้ มาติดตามกันว่า เพราะอะไรพี่บวร เรดบีถึงกว้ามาถึงจุดนี้ได้
 
ก้าวสู่ความสำเร็จ เป็นตำนาน เพราะความอดทน ไม่ยอมแพ้
 
    "ปัจจัย สำคัญอย่างเดียวที่ทำให้ผมก้าวมา ถึงวันนี้ได้คือ ความอดทนเท่านั้น ในช่วงที่สูญเสียกุ้งมากๆ เกิดความท้อ เพราะตอนนั้นผมพยายาม ทำทุกอย่าง ใครแนะนำอะไรมาทำตามทุกอย่าง แต่กุ้งยังตาย ภรรยาผมซึ่งเป็นคนขอให้ผมเลี้ยง ถึงกับบอกให้ผมเลิกล้มความตั้งใจ เพราะเห็นผมสูญเสีย เห็นผมเหนื่อยกับความพยายามจะเอาชนะกุ้งให้ได้”

 
    “ถ้าผมไม่คิดอะไรมาก ผมคงเลิกเลี้ยงไปตั้งนานแล้ว และก็คงไม่มีบวร เรดบีในวันนี้ แต่ที่ไม่ยอมเลิก อดทน พยายามจนก้าวมาถึงวันนี้นั้น เพราะผมคิด ถึงบรรดากุ้งหลายๆ ตัวที่เราทำเขาตาย ผมมั่นใจว่า กุ้งมันไม่อยากตายหรอก มันก็อยากมีชีวิตอยู่รอดจนครบวงจรชีวิตของมัน แต่ที่มันต้องตาย เพราะเราไม่รู้วิธีการเลี้ยงเขาดีพอ ความคิดนี้แหละครับ ที่ทำให้ผมสู้ต่อ เพราะถ้าเลิก ณ เวลานั้น กุ้งที่ตายไปก็เหมือนไม่มีค่าชีวิตอะไรเลย ตรงนี้ผมรับไม่ได้ ต้องเลี้ยงเขาให้รอด ให้ออกลูก หลานให้ได้ จึงอดทนสู้ต่อจนมาถึงวันนี้ได้”

 
ฝากเตือนจากใจ มือใหม่ต้องสั่งสมประสบการณ์
 
   “สิ่งที่ผมย้ำเตือนกับทุกๆ คนที่ได้พูดคุยกัน ไม่ว่าจะช่องทางไหนคือ เรื่องประสบการณ์ ผมขอย้ำอีกครั้งเลยว่า ใครก็ตามที่คิดจะเลี้ยงกุ้งเรดบี หรือ เพิ่งเริ่มต้นเลี้ยง ประสบการณ์สำคัญที่สุด ทุกวันนี้ผมจะขายกุ้งให้ใครสักคน ผมจะเลือกลูกค้าที่มีประสบการณ์ ผมจะสัมภาษณ์ลูกค้าที่ต้องการซื้อกุ้งผมว่า เคยมีประสบการณ์เลี้ยง กุ้งมาแล้วกี่ปี เคยผ่านอะไรมาบ้าง ถ้าไม่มีประสบการณ์ หรือ ยังมีประสบการณ์น้อยๆ ผมจะไม่ขายกุ้งให้ ไม่ใช่ว่าหยิ่ง แต่ผมต้องการให้กุ้งของผมไปอยู่ในมือคนเลี้ยงที่มีประสบการณ์ เลี้ยงอย่างเข้าถึง เข้าใจ เลี้ยงแล้วกุ้งมีโอกาสรอดปลอดภัยสูง ผมไม่สนใจตัวเงินหรอก ผมให้ความสำคัญกับการอยู่รอดของกุ้งมากกว่า ถ้าต้องการซื้อกุ้งผม แต่ยังไม่มี ประสบการณ์ มาเลยครับ มาหาผม มานั่งคุยกัน ผมยินดีสอนทุกอย่าง มาเป็นเพื่อนกันก่อน เรื่องกุ้งใจเย็นๆ ผมไม่ต้องการให้คนที่ซื้อกุ้งไปเลี้ยงเจอประสบการณ์ซื้อกุ้งแพงๆ ไปเลี้ยงแล้วกุ้งตาย สุดท้ายเดี๋ยวจะมองหน้ากันไม่ติด”

 
   “สำหรับนักเลี้ยงมือใหม่แนะนำให้เริ่มต้นจากกุ้งเรดบีเกรดธรรมดาที่สุดก่อน ไม่ต้องสนใจกระแสว่าต้องเลี้ยงกุ้งเรดบีเกรดสูงๆ ขอให้มั่นใจตัวเอง ตั้งแนวคิดว่าภายในกี่วัน กี่เดือน หรือ กี่ปี เราจะต้องเป็นนักเลี้ยงกุ้งเรดบีที่ประสบความสำเร็จให้ได้  และเก็บเกี่ยวประสบการณ์เริ่มจากซื้อกุ้งเรดบีเกรดต่ำๆ ราคาไม่แพงมาเลี้ยงเอาประสบการณ์ ศึกษาเรียนรู้วงจรชีวิต พฤติกรรมของกุ้ง ถ้าเกิดความสูญเสียจะได้ไม่ท้อมากนัก  แต่ถ้าเริ่มจากกุ้เราคาแพงๆ สูญเสียขึ้นมาแล้วจะท้อได้ง่าย หมดกำลังใจ ในที่สุดก็มองภาพเรคบีไม่ดี ผมไม่อยากให้เกิดความรู้สึกนั้นขึ้น”

 
    “บางคนเริ่มต้นด้วยตู้ขนาดใหญ่ ลงทุนติดตั้งอุปกรณ์อย่างดี ซื้อกุ้งเป็นฝูง สุดท้ายกุ้งตายหมด เพราะอะไร เพราะขาดประสบการณ์ ผมขอย้ำว่า เริ่มแรกไม่ต้องตู้ใหญ่โตหรอก ตู้เล็กๆ ติดตั้งระบบเล็กๆ เหมาะสมกับตู้ ซื้อกุ้งราคาไม่แพง ตู้ใบนั้นก็ดูสวยงามได้ มันขึ้นอยู่กับใจเรา ความคิดของเราเองการไปเริ่มต้นด้วยกุ้งเกรดสูงๆ ราคาแพงๆ มันสร้างความเครียดให้กับผู้เลี้ยง ยิ่งผู้เลี้ยงมีประสบการณ์น้อยๆ ยิ่งอันตรายมาก เพราะไม่เข้าใจเกี่ยวกับวงจรชีวิตของกุ้งดีพอ ยังไม่รู้ความต้องการของกุ้ง กุ้งเรดบีแค่ค่า pH เปลี่ยนเล็กน้อยกุ้งก็ตายได้”

ที่มา http://www.fish-zone.com/view.php?id=48

บุรุษผู้เป็นตำนานแห่งวงการกุ้ง Red Bee เมืองไทย (ตอน 1)

ในวงการกุ้งเรดบีเมืองไทย เค้าคนนี้เป็นหนึ่งบุคคลผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็น "ตำนาน"

    

บวร เรดบี

    เป็นผู้รู้จริงเรื่องกุ้งเรดบี คุณณัฐพัชญ์ ประทีปสินธุ์ หรือในอีกนามหนึ่งที่ในแวดวงกุ้ง Red Bee รู้จักเป็นอย่างดี “บวร เรดบี”  ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ที่สั่งสมประสบการณ์การเลี้ยงกุ้ง Red Bee จนก้าวขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าสุดของวงการ Red Bee เมือง ไทย แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ กว่าจะเป็นที่ยอมรับในวงการ กว่าที่จะประสบความสำเร็จ เส้นทางของพี่บวรสายกุ้งเรดบีไม่เคยมีอะไรง่ายดายเลยถึงวันนี้พี่บวร พร้อมเกินร้อยในการถ่ายทอดประสบการณ์การเลี้ยงกุ้ง Red Bee ให้กับทุกๆ คนได้เรียนรู้เป็นแนวทาง...ขอเชิญติดตาม


 

กว่าจะเป็นบวร เรดบี ไม่มีดอกกุหลาบโรยบนเส้นทาง
 
      “หลายๆ คน เห็นผมประสบความสำเร็จ สามารถเพาะกุ้งเรดบีเกรดสูงได้ทุกวันนี้ อาจคิดว่าเป็นเรื่องง่าย แต่ความเป็นจริง ผมอยากบอกว่า กว่าจะก้าวมาถึงวันนี้ กว่าจะเป็นบวร เรดบี ที่ทุกคนรู้จักได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ผมผ่านการผิดหวังกับการเลี้ยงกุ้งเรดบีมามาก ล้มแล้ว ล้มอีก ผ่านการลองผิดลองถูก เกิดเป็นประสบการณ์ และทำให้เกิดการเรียนรู้ แก้ไขข้อผิดพลาด จนก้าวมาถึงวันนี้ ฉะนั้นหลายๆ คนที่มองเห็นความสำเร็จของผม แล้วคิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆ กระโจนเข้ามาเลี้ยงกุ้งเรดบีโดยไม่ผ่านการเรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์มาก่อน สุดท้ายก็ต้องล้มเหลว ด้วยเหตุนี้ ผมจึงอยากบอกเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาของผมให้ทุกคนได้รู้ว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพื่อต้องการให้น้องๆ หรือ นักเลี้ยงกุ้งเรดบีมือใหม่ๆ ได้รู้ว่า การจะเลี้ยงกุ้งเรดบีให้ประสบความสำเร็จนั้น ประสบการณ์ และการเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญมาก

 
      “ย้อน ไปเมื่อ 7-8 ปีที่ผมเริ่มเลี้ยงกุ้งเรดบีใหม่ๆ ไม่มีประสบการณ์เลย ใครบอกอะไรเชื่อ ทำตามหมด ผมกับแฟนเคยช่วยกันเปิดฝาน้ำดื่มยี่ห้อหนึ่งจนมือบวม กว่าจะได้น้ำเต็มตู้เลี้ยงกุ้งหมดเงินค่าน้ำเกือบหมื่นบาทเพียงเพราะมีคน บอกว่าน้ำดื่มยี่ห้อนั้นใช้เลี้ยงกุ้งเรดบีแล้วกุ้งไม่ตาย แต่สุดท้ายกุ้งก็ตาย ผมต้องดูดน้ำที่จ่ายเงินซื้อไปเกือบหมื่นบาทนั้นทิ้งเปลี่ยนดินใหม่ เสียทั้งเวลา เสียทั้งเงิน และเสียใจมากที่เห็นกุ้งตาย”


 
      “กว่าจะมาเป็นบวรในวันนี้ได้ ไม่ใช่เพราะเก่ง หรือเป็นเซียนหรอก แต่เพราะผ่านความล้มเหลวมาทุกรูปแบบแล้ว จนผมรู้หมดแล้ว เรียกว่าเก่งได้เพราะประสบการณ์ บวกกับความอดทนไม่ยอมแพ้ของผม ถ้าปัจจุบันคิดว่ากุ้งเรดบีเลี้ยงยาก สมัยก่อนยิ่งยากกว่ามาก ยุคนั้นผมต้องใช้พัดลมเป่าทำความเย็น เพราะชิลเลอร์ราคาแพงมาก และยังเป็นเรื่องใหม่อยู่ น้ำยาแร่ธาตุต่างๆ ก็ไม่มีให้ใช้หลากหลายเหมือนทุกวันนี้ ยิ่งเรื่องอุปกรณ์การเลี้ยงต้องหาดัดแปลงเอาเอง แต่ผมก็พยายามทำทุกวิธีเพื่อให้กุ้งอยู่รอด กว่าจะถึงวันนี้ผมสูญเสียกุ้งไปมาก ซึ่งผมรักกุ้งของผมทุกตัว”

 
     “ผมจึงอยากบอกทุกคนว่า เส้นทางของผมไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ถ้าจะเอาผมเป็นแบบอย่างก็ขอให้เอามาทั้งหมดย่าเอาเฉพาะช่วตอนที่ประสบความ สำเร็จในวันนี้  แต่ให้ย้อนไปดูความล้มเหลวของผมด้วย ที่บอกอย่างนี้ เพราะต้องการเตือนสติเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ  ที่คิดจะทุ่มทุนไปกับการเลี้ยงกุ้งเรดบีโดยยังมีประสบการณ์ไม่มากพอ อาจเกิดความสูญเสียจนท้อและเลิกเลี้ยงได้”

ขอบคุณพี่บวรเรดบีมากๆครับ สำหรับความรู้เกี่ยวกับกุ้งเรดบี
ที่มาhttp://www.fish-zone.com/view.php?id=45

set up ตู้พรรณไม้น้ำ โดย...Ferkee (ตอนที่ 2)

set up ตู้พรรณไม้น้ำ โดย...Ferkee (ตอนที่ 2)



     ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ  และ อุปกรณ์
 
    วัสดุที่จำเป็นสำหรับสำหรับการจัดตู้พรรณไม้น้ำประกอบด้วย
 
      1. กรวดสำหรับปลูก
 
     ควรเป็นกรวดที่ได้จากแหล่งน้ำจืด และไม่ควรใช้กรวดหรือทรายที่นำมาจากทะเล ทั้งนี้เนื่องจากกรวดทะเลมักมีเศษเปลือกหอย และเศษปะการังปะปนมาด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำมีความกระด้างอยู่ตลอด รวมถึงมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงมาก และมักจะมีเศษผงอันเกิดจากการกร่อนของกรวดหลุดลอยออกมาในน้ำอยู่ตลอดเป็น เวลานาน ขนาดของกรวดเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ ระหว่าง 1-2 มิลลิเมตร, ขนาดของกรวดมีความสำคัญในหลายๆ ด้านซึ่งท้ายสุดแล้วจะส่งผลถึงความสมบูรณ์แข็งแรงของพรรณไม้น้ำ ปริมาณกรวดที่ใช้ควรเตรียมให้มีความสูงของกรวดจากพื้นตู้อย่างน้อย  7-8 เซนติเมตร
 
      2.วัสดุตกแต่งได้แก่ ขอนไม้ (drift wood)  หรือ หิน
 
    ขอนไม้ที่นำมาใช้ควรผ่านการแช่น้ำมาระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจมน้ำ แล้ว และจะไม่มีสีหลุดลอกออกมาอีก ทั้งนี้สีที่หลุดลอกออกมานอกจากไม่สวยงามแล้ว ในหลายกรณียังเป็นสาเหตุให้เกิดตะไคร่น้ำได้ง่าย สำหรับการใช้หินก็เช่นกันควรหลีกเลี่ยงหินปูน และหินที่มีเนื้ออ่อน การจะใช้หินหรือขอนไม้นั้นขึ้นอยู่กับความชอบ และลักษณะ หรือ layout ของตู้ แต่การจัดวางหินให้สวยงามนั้นยากกว่าการวางขอนไม้มากในขณะที่ไม่มีปัญหาใน เรื่องของสีที่หลุดลอก แต่การใช้ขอนไม้ก็ดูจะจัดวางได้ง่ายกว่าและให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลกว่ารวม ถึงดูเป็นธรรมชาติและมีชีวิตมากกว่า แต่การจัดหาและตระเตรียมดูจะยุ่งยากมากกว่า
 
      3. อุปกรณ์กรอง และ วัสดุกรอง
 
     กล่าวโดยสรุปแล้วระบบกรองที่เหมาะสมกับตู้พรรณไม้น้ำคือระบบกรองแบบนอกตู้ (external power filtration system )ในกรณีตู้มีขนาดใหญ่ (ปริมาตรน้ำมากกว่า 150 ลิตร) ส่วนตู้ที่มีขนาดเล็กกว่านี้สามารถใช้ระบบกรองที่ติดตั้งภายในตู้ (internalpower filtration system) ส่วนระบบกรองที่นิยมเรียกกันติดปากว่ากรองน้ำล้นนั้น เป็นระบบกรองที่ไม่ควรใช้กับตู้พรรณไม้น้ำโดยสิ้นเชิง ยกเว้นกรณีที่พันธุ์ไม้ในตู้ทั้งหมดเป็นพันธุ์ไม้ที่มีระบบรากที่ลอยตัวอยู่ ในน้ำเท่านั้น
 
       ระบบกรองประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือตัวอุปกรณ์ และ วัสดุกรอง ความสำคัญของตัวอุปกรณ์กรองนั้นคือการช่วยให้เกิดการไหลเวียนของน้ำเป็น ประการที่หนึ่งส่วนอีกประการหนึ่งคือการช่วยนำพาสิ่งที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ เข้าสู่ระบบกรอง ส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งในระบบกรองของตู้พรรณไม้น้ำคือวัสดุกรอง (media) ซึ่งเป็นวัสดุที่ช่วยในการกรองสิ่งแขวนลอยในน้ำออกไปประการหนึ่งส่วนอีก ประการคือเป็นที่อาศัยของ bacteria จำนวนมหาศาล การใช้วัสดุกรองในตู้ขนาดใหญ่จึงต้องเลือกใช้วัสดุกรองให้ครอบคลุมวัตถุ ประสงค์ดังกล่าวด้วย
 
     สำหรับผู้เขียนแล้วให้ความสำคัญกับวัสดุกรองมากกว่าตัวอุปกรณ์ ทั้งนี้โดยทั่วไปวัสดุกรองที่ใช้ก็จะประกอบไปด้วย ceramicring หรือวัสดุอื่นที่ใกล้เคียงเพื่อกระจายทิศทางของน้ำที่เข้ามาในระบบกรองให้ ไหลเวียนผ่านวัสดุกรองได้ทั่วถึง ร่วมกับการใช้ใยแก้วซึ่งเป็นวัสดุหลักในการกรองสิ่งแขวนลอยและเป็นที่อยู่ อาศัยของแบคทีเรียในระบบกรอง
 
    สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบก รองคือ ควรได้รับการทำความสะอาดเป็นระยะ (ประมาณว่าทุก 2  เดือน)  และในการล้างระบบกรองนั้นสิ่งที่พึงระวังคือห้ามการล้างด้วยน้ำประปา แต่ให้ใช้น้ำจากในตู้ไม้น้ำแทน ทั้งเพื่อป้องกันความเสียหายของแบคทีเรียในระบบกรองอีกทั้งการล้างก็ไม่จำ เป็นว่าจะต้องสะอาดหมดจดแบบซักผ้า ความสะอาดเพียง 80 % นับว่าสะอาดพอเพียงแล้ว
 
     4 แสงสว่าง
 
     แสงจากดวงอาทิตย์ถือป็นแสงสว่างที่ดีที่สุดกับต้นไม้แต่สำหรับการเลี้ยงพรรณ ไม้น้ำในตู้เลี้ยงแล้ว การควบคุมการใช้ทำได้ยากเกินกว่าที่จะนำมาใช้ได้โดยง่าย แสงจากหลอดประเภทต่างๆจึงถูกนำมาใช้เพื่อทดแทน หลอดหลักๆ ที่มีการใช้งานแพร่หลายได้แก่หลอดเมทัลฮาไลด์, หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดต่างๆ รวมถึงหลอดประหยัดไฟ, หลอดฮาโลเจน แต่ด้วยเหตุผลในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย, ความสะดวกในการหาซื้อ และ ติดตั้ง รวมไปจนถึงผลที่ได้รับ ทำให้หลอดฟลูออเรสเซนค์ เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย
 
    ประสิทธิภาพจากหลอดชนิดต่างๆ เป็นสิ่งที่พูดถึงกันมากแล้ว แต่ประสบการณ์ที่ได้รับจากสิ่งที่เกี่ยวข้องในเรื่องของแสงสว่างที่จะส่งผล ต่อประสิทธิผลได้แก่
 
     4.1 สเป๊กตรัม หรือความยาวของคลื่นแสง
 
    หลอดแต่ละชนิดมีสัดส่วนของความยาวคลื่นในช่วงต่างๆ ที่แตกต่างกันไป แม้แต่ในหลอดชนิดเดียวกันซึ่งต่างผู้ผลิต เช่นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ระบุว่าเป็นหลอดเดย์ไลท์ มีความแตกต่างขององค์ประกอบของแสงที่ความยาวคลื่นต่างๆ อันได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดงแตกต่างไปจากหลอดคูลไวท์ หรือแม้แต่หลอดเดย์ไลท์ด้วยกันก็ยังมีความแตกต่างกันได้ในระดับหนึ่ง   ความสำคัญอยู่ที่ว่าความแตกต่างดังกล่าวส่งผลถึงการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ ที่แตกต่างกันออกไป และเป็นการยากที่จะบอกว่าหลอดชนิดใดดีกว่ากัน ทั้งนี้เพราะว่าในตู้เลี้ยงที่แตกต่างกันนั้นมีปัจจัยอื่นๆอีกมากที่แตกต่าง กันออกไป ไม่ว่าจะเป็นชนิดของพันธุ์ไม้, ขนาดของตู้, ความเข้มหรือปริมาณแสงรวมไปถึงระยะเวลาของการให้แสง, การให้และใช้สารอาหาร และอื่นๆ อีกมาก แต่โดยประสบการณ์ของผู้เขียนแล้วนิยมใช้หลอดคูลไวท์ร่วมกับหลอดที่ทำมาสำหรับการเลี้ยงพรรณไม้น้ำเช่นหลอด Glo-lux, Aquarelle และอื่นๆ
 
     4.2 ความเข้ม (light intensity) หรือปริมาณแสงที่ให้  
 
 
      ในเรื่องของความเข้ม หรือ แสงสว่างที่ใช้ในตู้พรรณไม้น้ำว่าจะเป็นเท่าไรดีนั้น ก่อนอื่นต้องมีความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่าต้นไม้น้ำก็เหมือนๆ กับต้นไม้บกในเรื่องของความต้องการปริมาณแสงสว่างคือมีทั้งพรรณไม้ที่ต้อง การแสงสว่างปริมาณมากจึงจะเจริญเติบโตได้ดีไปจนถึงพรรณไม้ที่ต้องการปริมาณ แสงเพียงน้อยนิดในการเจริญเติบโต และไม่สามารถทนอยู่ได้ถ้าได้รับแสงที่มากเกินไป สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่นักนิยมพรรณไม้น้ำจะค่อยๆเรียนรู้จากประสบการณ์ แต่มีข้อสังเกตเพื่อการเริ่มต้นดังนี้ กล่าวคือ พรรณไม้ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ไม้ข้อ" (Stem plants) คือพวกที่มีลำต้นเหนือพื้นที่เห็นชัดเจนนั้นโดยส่วนใหญ่ ต้องการปริมาณแสงตั้งแต่ปานกลาง ไปจนถึง เข้มมาก (light loving plants) ในขณะที่พรรณไม้ประเภท ที่มีลำต้นสั้นมาก หรือไม้ที่มีหัว หรือเหง้า (Rosette plants) นั้นโดยส่วนใหญ่ต้องการแสงตั้งแต่น้อยมาก (shade loving plants) จนถึงปานกลางโดยที่มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ๆ มีความเข้มแสงที่สูง อย่างไรก็ตามพันธุ์ไม้ต่างๆ มีความสามารถในการปรับตัวในการใช้แสงได้ในระดับหนึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ ชนิด
 
     ในการคำนวณเพื่อการติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์เพื่อให้มีความเข้มแสงที่เพียง พอในเบื้องต้นซึ่งถือว่ามีความเข้มแสงปานกลางนั้น กำหนดไว้คร่าวๆ คือ 1 watt ต่อน้ำ 2 ลิตร ดังนั้นถ้าเป็นตู้ขนาด 90 เซนติเมตรโดยทั่วไปที่มีความกว้าง และลึกปกติก็จะต้องใช้หลอดขนาด 18 watts จำนวน 4 หลอด หรือถ้าเป็นตู้ขนาด 120 เซนติเมตร ก็จะต้องใช้หลอด 36 watts จำนวน  4 หลอด เป็นต้น
 
     ในเรื่องของแสงสว่างนั้นเมื่อติดตั้งเสร็จใช้งานไประยะหนึ่งความเข้มของแสง ก็จะลดลงไป ดังนั้นเมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่งก็จะต้องเปลี่ยนหลอดใหม่ โดยทั่วๆ ไปนิยมเปลี่ยนเมื่อเวลาผ่านไป 6-7 เดือน และการเปลี่ยนควรค่อยๆ เปลี่ยนทีละหลอด เช่น สัปดาห์ละหลอด ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนทีเดียวทั้งหมดนั้น ความเข้มแสงจะมีการเปลี่ยนแปลงมากซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่มากนั้นจะส่งผลกระทบ ต่อระบบและความเป็นไปของสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงนี้จะกระทบจากปัจจัยหนึ่งไปสู่ปัจจัยหนึ่งและอาจเกิดปัญหา ได้ในที่สุดเช่นการบูมของตระไครน้ำ หรือการชงักงันของการเจริญเติบโต
 
       ในตอนหน้าจะมาพูดถึงอุปกรณ์ในการเก็บและจ่ายก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และสารอาหารไปจนถึงขั้นตอนในการ set up ตู้ สำหรับฉบับนี้ขอจบลงไว้แต่เพียงเท่านี้....สวัสดีนักนิยมตู้พรรณไม้น้ำทุก ท่าน

ที่มาhttp://www.fish-zone.com/view.php?id=73

set up ตู้พรรณไม้น้ำ โดย...Ferkee (ตอนที่ 1)


set up ตู้พรรณไม้น้ำ โดย...Ferkee (ตอนที่ 1)


        set up ตู้พรรณไม้น้ำ

      
    การจัด (set up) ตู้พรรณไม้น้ำนั้น ในความรู้สึกของคนทั่วๆ ไปแล้วมองว่าเป็นสิ่งที่ยาก และมักจะมีคำถามเสมอๆว่าเริ่มต้นอย่างไรดี,ดูแลยากไหม ฯลฯ จริงๆ แล้วถ้าจะเปรียบให้เห็นชัดผู้เขียนขอเทียบกับการหัดขี่จักรยาน  ซึ่งแน่นอนว่าตอนคิดจะหัดส่วนใหญ่ก็คงรู้สึกว่าต้องยากแน่นอน แต่เมื่อตัดสินใจหัดขี่แล้ว ก็ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินความตั้งใจ เพียงแต่ว่าเมื่อขี่เป็นแล้วบางคนอาจหยุดการฝึกฝนไว้หลังจากขี่เป็น ส่วนหลายๆ คนอาจฝึกฝนเพื่อการขี่ที่ต้องใช้ทักษะและการเรียนรู้มากขึ้น เช่นเดียวกับการเลี้ยงพรรณไม้น้ำซึ่งมีรายละเอียดมากมายเพียงแต่ว่าแต่ละท่านที่สนใจนั้นมีความสนใจในรายละเอียดที่ไม่เท่ากัน
 
     ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงพรรณไม้น้ำ

  ควรเริ่มต้นความเข้าใจที่ว่าต้นไม้น้ำต้องการปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อการอยู่รอด และเจริญเติบโต ซึ่งปัจจัยที่สำคัญๆ ได้แก่

     1. แสงสว่างที่พอเพียง และเหมาะสมสำหรับแต่ละสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ต้องการแสงมาก ในขณะที่บางสายพันธุ์ต้องการเพียงแต่น้อย  พรรณไม้น้ำส่วน ใหญ่สามารถปรับตัวในการใช้แสงทั้งในด้านของคุณภาพ (แสงในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ) และปริมาณ คือความเข้ม หรือความสว่างของแสง ได้ในระดับหนึ่ง แต่แสงที่เหมาะสมที่สุดจะส่งผลถึงความสมบูรณ์สูงสุด

      2. ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่ละลายอยู่ในน้ำอย่างเพียงพอเพื่อใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง

    3. สารอาหารทั้งที่ละลายอยู่ในน้ำ และที่อยู่ในพื้นหรือวัสดุปลูก ( substrate )

    เมื่อมีครบทั้ง 3 ปัจจัยข้างต้นแล้วต้นไม้น้ำส่วน ใหญ่ก็สามารถดำรงชีพอยู่ได้ เพียงแต่ว่าจะมีความสมบูรณ์เพียงไรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับว่าผู้เลี้ยงสามารถ ตระเตรียมปัจจัยเหล่านี้ให้มีความเหมาะสมเพียงไรโดยเฉพาะเมื่อเรานำพรรณไม้น้ำเหล่านี้มาเลี้ยงรวมกันในตู้

        นอกจากปัจจัย 3 ประการข้างต้นแล้วยังมีปัจจัยต่างๆ ปลีกย่อยอีกมาก เช่น ความกระด้างและคุณสมบัติทางเคมีของน้ำ อุณหภูมิของน้ำหรือแม้แต่สภาพการไหลเวียนของน้ำเป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แม้จะถือเป็นปัจจัยที่ปลีกย่อยสำหรับพรรณไม้โดยทั่วไปแต่ สำหรับพรรณไม้บางชนิดแล้วถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากและโดยทั่วไปอาจถือว่า พรรณไม้เหล่านี้เป็นพวกที่เลี้ยงยาก (difficult plants) เนื่องจากเราต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นพิเศษให้

ที่มาhttp://www.fish-zone.com/view.php?id=56

5 องค์ประกอบสำคัญต่อความสวยงามของตู้ไม้น้ำ



ความโดดเด่นแห่งนานาพรรณไม้น้ำ นานาความแตกต่างของกิ่งใบไม้น้ำที่มีขนาดทั้งเล็กใหญ่ บางหนา เฉดสีฉ่ำสด จางเหลือบ ลายเรียบ ตลอดจนความพริ้วไหวไปตามกระแสน้ำได้ ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์ภาพของตู้เลี้ยงให้มีความงดงามได้หลากหลายรูปแบบ การจัดสลับได้มากมายหลากร้อยพันตำแหน่ง ทำให้เกิดภาพความสวยงามได้แทบนับไม่ถ้วนแบบ
รูปถ่ายจำนวนมากตามนิตยสารต่างประเทศ หรือตู้ไม้น้ำจากสถานที่ต่าง ๆ มักเป็นแรง บันดาลใจ และต้นแบบในการจัดแต่งตู้ให้กับผู้คนที่มีความสนใจในต้นไม้น้ำจัดตู้อย่างไร ถึงจะดูสวย จึงเป็นคำถามที่เหล่าผู้ชื่นชมต้นไม้น้ำมักจะถามกับตัวเองอยู่เสมอ...
                คำตอบต่าง ๆ มากมาย ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และรสนิยมส่วนตัวของผู้จัดแต่งแต่ละท่าน ซึ่งล้วนไม่มีถูกผิด โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนมักจะใช้ 5 องค์ประกอบนำมาช่วยในการจัดแต่งตู้พรรณไม้น้ำอยู่เสมอ ซึ่งได้แก่
                1. ความกลมกลืน
                2. จุดเด่น
                3. พื้นที่ว่าง
                4. สุขภาพต้นไม้   
                5. ปลาสวยงาม
1. ความกลมกลืน
ความกลมกลืนในความหมายของผู้เขียนหมายถึงบรรยากาศรวมของตู้  เรื่องราวหลักที่มีบรรยากาศรวมเป็นภาพที่แน่ชัดว่าต้องการสื่อออกมาในอารมณ์ ใด สดใส สว่าง ละเอียด หรือเข้มขรึม  เราสามารถใช้ทั้งตัวต้นไม้น้ำ หินแต่งตู้ หรือขอนไม้ เป็นตัวสร้างเรื่องราวหลักให้กับตู้ได้
หากต้องการใช้หินแต่งตู้ หรือขอนไม้แต่งตู้ เป็นตัวสร้างเรื่องราวหลัก ๆ ก็ควรใช้ชิ้นที่มีขนาด และจำนวนพอเหมาะกับตู้ คำนึงเสมอว่าต้นไม้ที่นำมาปลูก จะเป็นเสมือนตัวละครในเนื้อเรื่อง ที่ไม่ควรจะมีน้ำหนักเกินกว่าขอนไม้ที่เป็นเรื่องราวหลักมากนัก มิฉะนั้นแล้วอาจจะได้ภาพของเศษกิ่งไม้ หรือก้อนหินลูกเล็ก หล่นอยู่กลางดงไม้น้ำ แต่หากสิ่งตกแต่งมีขนาดใหญ่เกินไป ก็อาจทำให้ตู้ดูบกพร่องในเรื่องการจัดพื้นที่ว่างได้
จังหวะความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ ควรวางรูปแบบให้แน่ชัดว่าต้องการให้ขอนไม้เลื้อย หรือพาด จากซ้ายไปขวา จากขวาไปซ้าย หรือกระจายออกจากศูนย์กลาง พุ่งขึ้น หรือปักลง คุมให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน ขอนไม้แข็งทื่อโผล่ทะมึนท่ามกลางกิ่งไม้โค้งหยักคงไม่น่าดู แต่สามารถใช้สร้างบรรยากาศรวมได้ดีกับท่อนไม้ลักษณะเดียวกันที่มีขนาดต่างๆ คงเป็นการยากที่จะให้ระบุอย่างชัดเจนถึงวิธีการจัดกิ่งไม้อย่างตายตัว
การสร้างบรรยากาศรวมให้เป็นหนึ่งเดียว แน่ชัด และตรงเป้า อย่างง่ายที่สุด สามารถทำได้ด้วยการเลือกปลูกต้นไม้น้ำชนิดเดียวลงทั้งตู้ (specie tank) เช่น ตู้ที่ปลูกหญ้าทั้งตู้ ปลูกมอสทั้งตู้ ปลูกเฟิร์นทั้งตู้ หรือปลูกอานูเบียสทั้งตู้ ภาพที่ได้รับมักจะมีบรรยากาศรวมที่กลมกลืน สอดคล้อง เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน แต่อาจขาดจุดเด่น น่าเบื่อ และไม่ได้รับความสนใจ การเพิ่มต้นไม้ชนิดที่สอง สาม สี่ ห้า ฯลฯ จะช่วยทำให้ตู้ดูน่าสนใจมากขึ้น เพียงแต่จำนวน จะต้องไม่มากไปกว่าชนิดของ ต้นไม้ที่ถูกเลือกใช้สร้างความกลมกลืน
เราสามารถใช้ต้นไม้ต่างชนิดที่มีลักษณะคล้ายกันร่วมสร้างบรรยากาศรวมให้กับ ตู้ไม้น้ำได้ หากไม่ต้องการปลูกต้นไม้ชนิดเดียวกันให้เป็นกลุ่มใหญ่เกินไป
เมื่อได้พบเห็นตู้ครั้งหนึ่งแล้ว การกล่าวถึงในภายหลังว่าเป็น ตู้เฟิร์น ตู้หญ้า ตู้คริป ตู้มอส หรือตู้ไม้ก้าน เป็นการแสดงถึงความสำเร็จในระดับหนึ่งของการจัดแต่งตู้ให้กลมกลืนที่มี เรื่องราวเป็นหนึ่งเดียว

2. จุดเด่น
จุดเด่นเป็นจุดรวมสายตา เป็นตำแหน่งที่ดึงความสนใจส่วนใหญ่ไว้เมื่อแรกเห็น แล้วค่อยกระจายออกไปตามส่วนต่าง ๆ ของตู้ เรานิยมสร้างจุดเด่นไว้บริเวณเยื้องศูนย์กลางตามความยาวตู้เล็กน้อย ตู้ที่ยาวมาก ๆ อาจสร้างจุดเด่นได้มากกว่าหนึ่งจุด บริเวณกลางตู้ตามแนวกว้างเป็นตำแหน่งที่นิยมปลูกต้นไม้ที่ต้องการให้เป็นจุด เด่น
ต้นไม้ที่เติบโตเป็นพุ่ม ไม่พุ่งขึ้นผิวน้ำจึงเป็นที่นิยมมากที่สุด เช่น คริปศรีลังกา บัวสีต่าง ๆ บริกซ่า จาโปนิกา เป็นต้น ในบางครั้งต้นไม้ก้านสีแดงเข้มที่ปลูกอยู่ด้านหลังอาจเป็นตัวปัญหาโดยไม่ ตั้งใจ คืออาจดึงเอาความสนใจทั้งหมดไปจากต้นไม้ในตำแหน่งที่ต้องการให้เป็นจุดเด่น แทน ซึ่งหากน้ำหนักของต้นไม้ในจุดเด่นไม่มากพอ ก็อาจถูกแย่งความสนใจไปจนหมดได้จริง ๆ การใช้ไม้น้ำสีจัดจ้าน เช่น ต้นไม้ในสกุลโรทาลา สกุลลัดวิเจีย หรือต้นไม้ที่มีลักษณะโดดเด่น มากเป็นพิเศษ เช่น ต้นใบ ตะข่าย ต้นหอมน้ำแคเมอรูน (Crinum calamistratum) ในตำแหน่งที่ไม่ใช่จุดรวมสายตาจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ การผ่อนน้ำหนักของจุดเด่นให้ค่อย ๆ กระจายออกไปตามตำแหน่งต่าง ๆ ของตู้ จะช่วยทำให้ จุดเด่นนั้นไม่กระชากสายตาจนเกินไป              
3. พื้นที่ว่าง
พื้นที่ว่าง เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ชมตู้ไม้น้ำรู้สึกได้ถึงความโปร่งแน่น กว้างแคบ ลึกตื้น ตู้ที่ปลูกต้นไม้ทึบเต็ม จนไม่มีพื้นที่ว่างจะทำให้รู้สึกอึดอัด คับตัน ผู้เลี้ยงโดยมากนิยมใช้กิ่งไม้ตบแต่งตู้เลี้ยง โดยให้ปลายของกิ่งไม้อยู่ในตำแหน่งตามความกว้างยาวต่างกัน ก็จะช่วยทำให้เกิดพื้นที่ว่างในความลึกตื้นต่างกัน ปลายกิ่งไม้ที่เรียงหน้ากระดานอยู่ในระนาบที่ใกล้กัน จะทำให้ตู้เลี้ยงดูแคบกว่าความเป็นจริง การทอดตัวของหินแต่งตู้ที่ระดับความกว้างต่างๆ ก็สามารถช่วยให้เกิดพื้นที่ว่างขึ้นได้
แม้แต่ตัวต้นไม้น้ำเองก็สามารถนำมาใช้ปลูกสร้างพื้นที่ว่างได้ด้วยเช่นกัน ในบางตู้เลี้ยง ปลูกต้นไม้พุ่มไว้ บริเวณตอนกลางตู้ เว้นช่วงต่อเป็นต้นไม้เตี้ย ก่อนถึงบริเวณต้นไม้สูงหลังตู้ เป็นการสร้างพื้นที่ว่างตอนใน และได้ผลออกมาน่าสนใจมาก โดยทั่วไปแล้วต้นไม้ที่มีขนาดใบเล็กมักจะให้ภาพของพื้นที่ว่างมากกว่าต้นไม้ ที่มีขนาดใบใหญ่ การใช้ต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่อย่างเช่น อะเมซอน หรือบัวสีต่าง ๆ จัดในตู้ที่มีความยาวน้อยกว่า 36 นิ้วให้ดูว่ามีพื้นที่ว่างจึงน่าจะยากกว่าการใช้ต้นไม้ที่มีใบขนาดเล็กอย่าง ต้นเพิร์ลวีด หรือเกล็ดปลาช่อน
เรานิยมใช้ต้นไม้ที่เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วจะมีความสูงไม่มากนัก หรือที่เรียกกันในวงการไม้น้ำว่า ไม้หน้าตู้Ž ปลูกที่ด้านหน้าของตู้เลี้ยงเพื่อสร้างพื้นที่ว่างในบริเวณนั้นเช่น หญ้าหัวไม้ขีด อะเมซอนแคระ กลอสโซสติกมา หรือริซ เซีย เป็นต้น ประโยชน์จากขนาดต้นที่สั้นเตี้ยของต้นไม้กลุ่มนี้ ทำให้สามารถ จัดตู้ไม้น้ำให้ดูว่ามีพื้นที่ว่างในบริเวณต่าง ๆ ได้มากพื้นที่ว่างในตำแหน่งต่าง ๆ ของตู้เลี้ยงที่ต่อเนื่องกัน มักให้ความรู้สึกกว้างโอ่โถง  แต่พื้นที่ว่าง ที่ไม่ต่อเนื่อง ถูกกั้นแบ่งเป็นช่วง ๆ มักให้ความรู้สึกคับแคบ จงใจ ดูไม่เป็นธรรมชาติ
ภาระในการรักษาพื้นที่ว่างในตู้ไม้น้ำขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้ที่ใช้แต่ง ตู้ หากเป็นต้นไม้โตเร็ว ก็จำเป็นต้องตัดแต่งบ่อย หากเป็นต้นไม้โตช้าก็อาจช่วยประวิงเวลาในการตัดแต่งออกไปได้
ยังเหลืออีก 2 องค์ประกอบสำคัญ แต่ขออนุญาตนำมาเสนอในตอนหน้า การเลี้ยงต้นไม้น้ำนั้น สิ่งสำคัญคือ การดูแล ถ้าตู้ขาดการดูแลเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ความงดงามของพรรณไม้จะเลยผ่านจุดสวยงาม ทั้งจากการขาดปุ๋ย หรือ ขาดการตัดตกแต่ง และในที่สุด ก็จะทำให้ตู้ไม้น้ำใบน้ำกลายเป็นตู้ธรรมดา ๆ ขาดความน่าสนใจในแง่ของความสวยงาม การดูแลเอาใจใส่เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ

ความโดดเด่นแห่งนานาพรรณไม้น้ำ นานาความแตกต่างของกิ่งใบไม้น้ำที่มีขนาดทั้งเล็กใหญ่ บางหนา เฉดสีฉ่ำสด จางเหลือบ ลายเรียบ ตลอดจนความพริ้วไหวไปตามกระแสน้ำได้ ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์ภาพของตู้เลี้ยงให้มีความงดงามได้หลากหลายรูปแบบ การจัดสลับได้มากมายหลากร้อยพันตำแหน่ง ทำให้เกิดภาพความสวยงามได้แทบนับไม่ถ้วนแบบ
รูปถ่ายจำนวนมากตามนิตยสารต่างประเทศ หรือตู้ไม้น้ำจากสถานที่ต่าง ๆ มักเป็นแรง บันดาลใจ และต้นแบบในการจัดแต่งตู้ให้กับผู้คนที่มีความสนใจในต้นไม้น้ำจัดตู้อย่างไร ถึงจะดูสวย จึงเป็นคำถามที่เหล่าผู้ชื่นชมต้นไม้น้ำมักจะถามกับตัวเองอยู่เสมอ...
คำตอบต่าง ๆ มากมาย ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และรสนิยมส่วนตัวของผู้จัดแต่งแต่ละท่าน ซึ่งล้วนไม่มีถูกผิด โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนมักจะใช้ 5 องค์ประกอบนำมาช่วยในการจัดแต่งตู้พรรณไม้น้ำอยู่เสมอ ซึ่งได้แก่
                1. ความกลมกลืน 
                2. จุดเด่น 
                3. พื้นที่ว่าง
                4. สุขภาพต้นไม้    
                5. ปลาสวยงาม
1. ความกลมกลืน
ความกลมกลืนในความหมายของผู้เขียนหมายถึงบรรยากาศรวมของตู้  เรื่องราวหลักที่มีบรรยากาศรวมเป็นภาพที่แน่ชัดว่าต้องการสื่อออกมาในอารมณ์ ใด สดใส สว่าง ละเอียด หรือเข้มขรึม  เราสามารถใช้ทั้งตัวต้นไม้น้ำ หินแต่งตู้ หรือขอนไม้ เป็นตัวสร้างเรื่องราวหลักให้กับตู้ได้
หากต้องการใช้หินแต่งตู้ หรือขอนไม้แต่งตู้ เป็นตัวสร้างเรื่องราวหลัก ๆ ก็ควรใช้ชิ้นที่มีขนาด และจำนวนพอเหมาะกับตู้ คำนึงเสมอว่าต้นไม้ที่นำมาปลูก จะเป็นเสมือนตัวละครในเนื้อเรื่อง ที่ไม่ควรจะมีน้ำหนักเกินกว่าขอนไม้ที่เป็นเรื่องราวหลักมากนัก มิฉะนั้นแล้วอาจจะได้ภาพของเศษกิ่งไม้ หรือก้อนหินลูกเล็ก หล่นอยู่กลางดงไม้น้ำ แต่หากสิ่งตกแต่งมีขนาดใหญ่เกินไป ก็อาจทำให้ตู้ดูบกพร่องในเรื่องการจัดพื้นที่ว่างได้
จังหวะความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ ควรวางรูปแบบให้แน่ชัดว่าต้องการให้ขอนไม้เลื้อย หรือพาด จากซ้ายไปขวา จากขวาไปซ้าย หรือกระจายออกจากศูนย์กลาง พุ่งขึ้น หรือปักลง คุมให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน ขอนไม้แข็งทื่อโผล่ทะมึนท่ามกลางกิ่งไม้โค้งหยักคงไม่น่าดู แต่สามารถใช้สร้างบรรยากาศรวมได้ดีกับท่อนไม้ลักษณะเดียวกันที่มีขนาดต่างๆ คงเป็นการยากที่จะให้ระบุอย่างชัดเจนถึงวิธีการจัดกิ่งไม้อย่างตายตัว
การสร้างบรรยากาศรวมให้เป็นหนึ่งเดียว แน่ชัด และตรงเป้า อย่างง่ายที่สุด สามารถทำได้ด้วยการเลือกปลูกต้นไม้น้ำชนิดเดียวลงทั้งตู้ (specie tank) เช่น ตู้ที่ปลูกหญ้าทั้งตู้ ปลูกมอสทั้งตู้ ปลูกเฟิร์นทั้งตู้ หรือปลูกอานูเบียสทั้งตู้ ภาพที่ได้รับมักจะมีบรรยากาศรวมที่กลมกลืน สอดคล้อง เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน แต่อาจขาดจุดเด่น น่าเบื่อ และไม่ได้รับความสนใจ การเพิ่มต้นไม้ชนิดที่สอง สาม สี่ ห้า ฯลฯ จะช่วยทำให้ตู้ดูน่าสนใจมากขึ้น เพียงแต่จำนวน จะต้องไม่มากไปกว่าชนิดของ ต้นไม้ที่ถูกเลือกใช้สร้างความกลมกลืน
เราสามารถใช้ต้นไม้ต่างชนิดที่มีลักษณะคล้ายกันร่วมสร้างบรรยากาศรวมให้กับ ตู้ไม้น้ำได้ หากไม่ต้องการปลูกต้นไม้ชนิดเดียวกันให้เป็นกลุ่มใหญ่เกินไป
เมื่อได้พบเห็นตู้ครั้งหนึ่งแล้ว การกล่าวถึงในภายหลังว่าเป็น ตู้เฟิร์น ตู้หญ้า ตู้คริป ตู้มอส หรือตู้ไม้ก้าน เป็นการแสดงถึงความสำเร็จในระดับหนึ่งของการจัดแต่งตู้ให้กลมกลืนที่มี เรื่องราวเป็นหนึ่งเดียว
 
2. จุดเด่น
จุดเด่นเป็นจุดรวมสายตา เป็นตำแหน่งที่ดึงความสนใจส่วนใหญ่ไว้เมื่อแรกเห็น แล้วค่อยกระจายออกไปตามส่วนต่าง ๆ ของตู้ เรานิยมสร้างจุดเด่นไว้บริเวณเยื้องศูนย์กลางตามความยาวตู้เล็กน้อย ตู้ที่ยาวมาก ๆ อาจสร้างจุดเด่นได้มากกว่าหนึ่งจุด บริเวณกลางตู้ตามแนวกว้างเป็นตำแหน่งที่นิยมปลูกต้นไม้ที่ต้องการให้เป็นจุด เด่น
ต้นไม้ที่เติบโตเป็นพุ่ม ไม่พุ่งขึ้นผิวน้ำจึงเป็นที่นิยมมากที่สุด เช่น คริปศรีลังกา บัวสีต่าง ๆ บริกซ่า จาโปนิกา เป็นต้น ในบางครั้งต้นไม้ก้านสีแดงเข้มที่ปลูกอยู่ด้านหลังอาจเป็นตัวปัญหาโดยไม่ ตั้งใจ คืออาจดึงเอาความสนใจทั้งหมดไปจากต้นไม้ในตำแหน่งที่ต้องการให้เป็นจุดเด่น แทน ซึ่งหากน้ำหนักของต้นไม้ในจุดเด่นไม่มากพอ ก็อาจถูกแย่งความสนใจไปจนหมดได้จริง ๆ การใช้ไม้น้ำสีจัดจ้าน เช่น ต้นไม้ในสกุลโรทาลา สกุลลัดวิเจีย หรือต้นไม้ที่มีลักษณะโดดเด่น มากเป็นพิเศษ เช่น ต้นใบ ตะข่าย ต้นหอมน้ำแคเมอรูน (Crinum calamistratum) ในตำแหน่งที่ไม่ใช่จุดรวมสายตาจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ การผ่อนน้ำหนักของจุดเด่นให้ค่อย ๆ กระจายออกไปตามตำแหน่งต่าง ๆ ของตู้ จะช่วยทำให้ จุดเด่นนั้นไม่กระชากสายตาจนเกินไป
               
3. พื้นที่ว่าง
พื้นที่ว่าง เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ชมตู้ไม้น้ำรู้สึกได้ถึงความโปร่งแน่น กว้างแคบ ลึกตื้น ตู้ที่ปลูกต้นไม้ทึบเต็ม จนไม่มีพื้นที่ว่างจะทำให้รู้สึกอึดอัด คับตัน ผู้เลี้ยงโดยมากนิยมใช้กิ่งไม้ตบแต่งตู้เลี้ยง โดยให้ปลายของกิ่งไม้อยู่ในตำแหน่งตามความกว้างยาวต่างกัน ก็จะช่วยทำให้เกิดพื้นที่ว่างในความลึกตื้นต่างกัน ปลายกิ่งไม้ที่เรียงหน้ากระดานอยู่ในระนาบที่ใกล้กัน จะทำให้ตู้เลี้ยงดูแคบกว่าความเป็นจริง การทอดตัวของหินแต่งตู้ที่ระดับความกว้างต่างๆ ก็สามารถช่วยให้เกิดพื้นที่ว่างขึ้นได้
แม้แต่ตัวต้นไม้น้ำเองก็สามารถนำมาใช้ปลูกสร้างพื้นที่ว่างได้ด้วยเช่นกัน ในบางตู้เลี้ยง ปลูกต้นไม้พุ่มไว้ บริเวณตอนกลางตู้ เว้นช่วงต่อเป็นต้นไม้เตี้ย ก่อนถึงบริเวณต้นไม้สูงหลังตู้ เป็นการสร้างพื้นที่ว่างตอนใน และได้ผลออกมาน่าสนใจมาก โดยทั่วไปแล้วต้นไม้ที่มีขนาดใบเล็กมักจะให้ภาพของพื้นที่ว่างมากกว่าต้นไม้ ที่มีขนาดใบใหญ่ การใช้ต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่อย่างเช่น อะเมซอน หรือบัวสีต่าง ๆ จัดในตู้ที่มีความยาวน้อยกว่า 36 นิ้วให้ดูว่ามีพื้นที่ว่างจึงน่าจะยากกว่าการใช้ต้นไม้ที่มีใบขนาดเล็กอย่าง ต้นเพิร์ลวีด หรือเกล็ดปลาช่อน
เรานิยมใช้ต้นไม้ที่เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วจะมีความสูงไม่มากนัก หรือที่เรียกกันในวงการไม้น้ำว่า "ไม้หน้าตู้" ปลูกที่ด้านหน้าของตู้เลี้ยงเพื่อสร้างพื้นที่ว่างในบริเวณนั้นเช่น หญ้าหัวไม้ขีด อะเมซอนแคระ กลอสโซสติกมา หรือริซ เซีย เป็นต้น ประโยชน์จากขนาดต้นที่สั้นเตี้ยของต้นไม้กลุ่มนี้ ทำให้สามารถ จัดตู้ไม้น้ำให้ดูว่ามีพื้นที่ว่างในบริเวณต่าง ๆ ได้มากพื้นที่ว่างในตำแหน่งต่าง ๆ ของตู้เลี้ยงที่ต่อเนื่องกัน มักให้ความรู้สึกกว้างโอ่โถง  แต่พื้นที่ว่าง ที่ไม่ต่อเนื่อง ถูกกั้นแบ่งเป็นช่วง ๆ มักให้ความรู้สึกคับแคบ จงใจ ดูไม่เป็นธรรมชาติ
ภาระในการรักษาพื้นที่ว่างในตู้ไม้น้ำขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้ที่ใช้แต่ง ตู้ หากเป็นต้นไม้โตเร็ว ก็จำเป็นต้องตัดแต่งบ่อย หากเป็นต้นไม้โตช้าก็อาจช่วยประวิงเวลาในการตัดแต่งออกไปได้
ยังเหลืออีก 2 องค์ประกอบสำคัญ แต่ขออนุญาตนำมาเสนอในตอนหน้า การเลี้ยงต้นไม้น้ำนั้น สิ่งสำคัญคือ การดูแล ถ้าตู้ขาดการดูแลเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ความงดงามของพรรณไม้จะเลยผ่านจุดสวยงาม ทั้งจากการขาดปุ๋ย หรือ ขาดการตัดตกแต่ง และในที่สุด ก็จะทำให้ตู้ไม้น้ำใบน้ำกลายเป็นตู้ธรรมดา ๆ ขาดความน่าสนใจในแง่ของความสวยงาม การดูแลเอาใจใส่เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
(ติดตามตอนต่อไป)

ที่มา http://www.fish-zone.com/view.php?id=100

อุปกรณ์การเลี้ยง



จบ เรื่องปัจจัยของต้นไม้ไปแล้ว คราวนี้เราจะเขยิบออกมาอีกนิด มาดูเรื่องเกี่ยวกับสัตว์น้ำในตู้ไม้น้ำกันครับ สมัยนี้ มีให้เลือกทั้ง กุ้ง หอย ปู ปลาเลยเชียวแหละ

เราจะแบ่งประเภทของสัตว์น้ำในตู้ไม้น้ำ ออกตามวัตถุประสงค์ในการใส่ลงไปดังนี้นะครับ

  1. ประเภทอยากใส่ เพื่อความสวยงาม และเพื่อสนอง need เราเอง อันนี้รู้กันอยู่แล้ว ตัวที่ชอบนั่นเอง ระวังอย่าใส่สัตว์น้ำที่จะทะเลาะกันเอง หรือทำร้ายตัวอื่นๆ และไม่ทำลายต้นไม้น้ำก็พอ ประมาณว่า ใส่ไปแล้วไม่ ship หายเป็นใช้ได้

  2. ประเภทจำต้องใส่ เพื่อช่วยกำจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ เช่น ตะไคร่ หอย พลานาเรีย ฝ้าผิวน้ำ ดูตามบทความที่ให้มานี่เลยครับ สัตว์น้ำผู้ช่วยควบคุมตะใคร่น้ำ คุณ banx

สัตว์ น้ำพวกนี้ใช้ออกซิเจนในการหายใจ แต่ในตู้ไม้น้ำเราไม่สามารถให้ออกซิเจนได้ เพราะจะทำให้ co2 ที่ต้นไม้ต้องการหายไปจากน้ำหมด สัตว์น้ำเหล่านี้จึงมีสภาพเป็นลูกเมียน้อย ต้องทนใช้ออกซิเจนที่ซึมลงมาทางผิวน้ำอย่างเดียว ดังนั้น เราจึงต้องระวังไม่ใส่สัตว์น้ำในปริมาณมากเกินไป และระวังปริมาณ co2 ไม่ให้มากเกินไป รวมถึงรักษาความสะอาดของน้ำและพักน้ำลดคลอรีน เพื่อให้สัตว์น้ำเหล่านี้ไม่ตายจากเราไปก่อนเวลาอันควรครับ รายละเอียดเกี่ยวกับการดูแลสัตว์น้ำในตู้ไม้น้ำ ผมรวบรวมไว้ที่นี่แล้วครับ





ใน ตู้ไม้น้ำเราจำเป็นต้องใช้กรองเพื่อช่วยบำบัดน้ำ ลดปริมาณการเปลี่ยนถ่ายน้ำ และทำให้น้ำใส ตู้ปลาทุกชนิดต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำครับ ตู้ไม้น้ำปกติก็อาทิตย์ละครั้ง ถ้ามีใครบอกว่า ใช้กรองอันนี้อันนั้นแล้วไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ มันโม้ครับ ด่ามันเลย ไอ้ขี้โม้!!! ดังนั้น เพื่อคุณภาพน้ำที่ดี ไปอ่านกันซะครับ

รู้จักชื่อและลักษณะกรองชนิดต่างๆกันก่อนครับ
ประเภทของระบบกรอง

ตามด้วย วัสดุกรองชีวภาพ ที่เราต้องเอามาใส่ในเครื่องกรอง มันใช้ยังไง มีประโยชน์ยังไง
วัสดุกรองชีวภาพ

แล้วก็ไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบกรองชีวภาพโดยละเอียดครับ ในสุดยอดบทความเเรื่องระบบกรองชีวภาพในตำนาน
"นายกร๋วย บอกเล่าเก้าสิบ" - ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบกรองแบบ Biological ในตู้ปลาสวยงาม





ตู้ กระจกใสธรรมดา ไม่ต้องมีกั้นกรอง ขนาดความยาวตั้งแต่ 24-48 นิ้ว จะเหมาะกับมือใหม่ที่สุดครับ เวลาเลือกตู้ให้เลือกขนาดมาตรฐาน จะได้หาอุปกรณ์เสริมได้ง่าย ไม่ต้องดัดแปลงให้ยุ่งยาก พวกเยอะได้เปรียบครับ

ตู้ยาว 24 นิ้วขนาดมาตรฐานจะเป็น ยาว 24 กว้าง 12 สูง 12 นิ้ว
ตู้ยาว 36 นิ้วขนาดมาตรฐานจะเป็น ยาว 36 กว้าง 18 สูง 18 นิ้ว
ตู้ยาว 48 นิ้วขนาดมาตรฐานจะเป็น ยาว 48 กว้าง 20 สูง 20 นิ้ว

ทั้ง 3 ขนาด ส่วนใหญ่จะใช้กระจกหนา 2 หุน เป็นมาตรฐาน ถ้าบางกว่านี้ไม่ควรใช้ครับ อันตรายเกินไป ถ้ามีตัง เลือกหนาๆไว้ก่อนเลย 3-4 หุนได้ยิ่งดี ยิ่งหนายิ่งปลอดภัยครับ

ตู้เล็กกว่า 24 จะดูแลได้ยาก ปริมาณน้ำที่น้อย ทำให้อุณหภูมิ PH แอมโมเนีย ไนไตร์ท ไนเตรท และค่าต่างๆในน้ำเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเกินไป บางตู้เผลอแผล่บเดียว วันสองวันอาจจะมีปลาตาย ตู้ล่มกันได้ง่ายๆ ควรเลือกตู้ใหญ่กว่า 24 ขึ้นไปครับ จะดูแลง่ายกว่ากันพอสมควรเลย

ตู้ใหญ่กว่า 48 ก็ได้ ยิ่งใหญ่ยิ่งดีครับ ระบบจะยิ่งมีเสถียรภาพ มั่นคง แต่การเลี้ยงไม้น้ำในตู้ใหญ่กว่า 48 นิ้วเป็นงานหนักมาก กรวดมากกว่า 4 กระสอบ น้ำ ที่หนักเกือบตัน ปริมาณปุ๋ย co2 จำนวนไฟที่เราต้องใช้ จะทำให้คนเลี้ยงกลายเป็นคนเหล็กคูโบต้าและกระเป๋าบางได้ครับ ข้อดีก็เยี่ยม ข้อเสียก็เยอะ พิจารณาให้ดีก่อนครับ ว่าพร้อมไหม?

อย่าเลือกตู้ที่สูงเกิน 24 นิ้ว เพราะแสงไฟจะลงไม่ถึงก้นตู้ และเราจะเอื้อมไม่ถึงครับ

ขา ตู้ เอาขาเหล็กซักอันนึงอ่ะครับ แบบตรงๆธรรมดาๆ หรือถ้ามีตัง และต้องการความสวยงาม จะเลือกขาตู้ที่เป็นขาเฟอร์นิเจอร์ก็ได้ อย่าลืมรองใต้ตู้ด้วยโฟมก่อนวางตู้ พยายามเลี่ยงขาเหล็กรูปตัว S เพราะความแข็งแรงไม่พอกับตู้ไม้น้ำที่อุปกรณ์เยอะ น้ำหนักมาก แล้วต้องหยิบจับอะไรแถวนั้นบ่อยๆครับ



เฮ...หมดเรื่องเบสิคกันแล้วนะครับ เราไปเลือกไม้น้ำที่จะมาลงตู้กันดีกว่าครับ



ถ้ายังไม่มีตู้ไม้น้ำแบบที่ชอบ ไม่รู้จะเอาแบบไหนดี ให้ลองไปนั่งดูที่นี่ก่อนนะครับ

http://www.pbase.com/plantella

http://www.adana-th.com/gallery.htm

Planted Tank - Google ค้นหารูปภาพ

 ดู ไปเรื่อยๆ หาให้เจอว่าเราชอบแนวไหน จะได้เลือกจัดให้ถูกใจตัวเองครับ นั่งดูๆแล้วเลือกไว้ในใจว่าเราจะเอาต้นไหนบ้าง เอาต้นนี้ไว้ตรงไหน ต้นนั้นไว้ตรงไหน จินตนาการไปก่อน วาดรูปวางแผนได้เลยยิ่งดี

รายชื่อไม้น้ำที่เลี้ยงง่าย ตายยาก โตเร็วทันใจ เหมาะสำหรับมือใหม่

รายชื่อไม้น้ำ (และไม่น้ำ) ที่ควรเลี่ยงสำหรับมือใหม่ เช่นพวกไม้ที่ไม่ใช่ไม้น้ำ แต่ถูกนำมาขายเป็นไม้น้ำ หรือไม้น้ำที่ต้องการปัจจัยเฉพาะตัวบางอย่างเป็นพิเศษ และไม้น้ำที่ราคาแพง







ถึงเวลาขึ้นครูแล้วครับ เราไปดูขั้นตอนคร่าวๆกัน ว่าควรทำยังไงกันดี เผื่อจะนึกไม่ออก

1. ล้างกรวด แบ่งกรวดมาล้างทีละครึ่งถัง จะได้ล้างง่ายๆหน่อย เปิดน้ำใส่แล้วเอาไม้กวนๆ เทน้ำทิ้ง แล้วทำใหม่ จนกว่าน้ำล้างจะใส หรือใสมากที่สุด (ประมาณ 5-10 น้ำ) ระหว่างล้างพยายามเก็บเศษใบไม้ รากไม้ เปลือกหอย ออกให้มากที่สุด

2. ผสมกรวดจำนวน 1/3 ของกรวดทั้งหมดกับปุ๋ยรองพื้นในถังก่อน หรือจะเทกรวดลงในตู้แล้วโรยปุ๋ยรองพื้นให้ทั่วแทนก็ได้ ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ ให้ดูตามฉลากของปุ๋ยนั้น ถ้าจะใส่แบคทีเรียผงหรือน้ำ ก็ใส่ตอนนี้ได้เลยครับ

3. เทกรวดที่เหลือทั้งหมด ทับกรวดในข้อ 2 จัดแต่งความสูงต่ำ เล่นสโลป วางก้อนหิน ขอนไม้ ตามต้องการ

4. เติมน้ำให้ได้ประมาณ 2/3 ของตู้ เพื่อความสะดวกในการจัดแต่ง น้ำจะได้ไม่กระฉอกเฉอะแฉะไงครับ เวลาเติมให้หาจานรอง หรือปูพลาสติกทับกรวดไว้ แล้วค่อยเติมน้ำลงไป น้ำจะได้ขุ่นน้อย

ที่ สุดครับ จากนั้นก็จัดแต่างขอนไม้ ก้อนหิน และไม้น้ำตามที่ออกแบบไว้ได้เลยครับ ไม่ต้องพยายามทำให้มันสวยตั้งแต่ตอนนี้นะครับ เพราะยังไงอีกหน่อยต้นไม้โต สภาพ รูปทรงมันจะเปลี่ยนไปจากตอนนี้มาก และแน่นอนว่า มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มจะแทบไม่มีทางคาดเดารูปทรงไม้น้ำเมื่อมันโตเต็มที่ได้ เลย ยังไงเดี๋ยวก็ต้องมีรื้อถอน ปักใหม่อีกหลายรอบครับ อย่าซีเรียสมาก เอาพอโอเคก็พอแล้ว

5. เติมน้ำให้เต้มตู้ (เต็มพอดีๆนะครับ เว้นด้านบนประมาณ 1 นิ้วไม่ใช่ล่อซะปริ่มขอบตู้) แล้วเซ็ตระบบกรองที่ซื้อมาได้เลย

6. หลังจากนี้ ทิ้งไว้ 1 วันก็ใส่ปลา/กุ้ง กินตะไคร่ ลงไปได้เลย เพื่อช่วยในการสร้างระบบแบคทีเรียในกรอง แต่อย่าเยอะครับ เดี๋ยวแบคทีเรียเกิดไม่ทันของเสีย ถ้าหลังจากนี้ 1-2 อาทิตย์ ปลา/กุ้งกินตะไคร่มันดูผอมจัด ก็ให้อาหารมันบ้างก็ได้ครับ อย่าเยอะ เอาพอกันตาย 3-4 วันครั้งก็พอ บางตู้แสงน้อย ตะไคร่ไม่ขึ้นก็มีเหมือนกันครับ

7. ช่วงนี้ก็เช็คการปรับ Co2 บ่อยถ้าใช้แบบถัง เพราะบางครั้งมันจะแรงหรือเบาลงได้เองเหมือนกัน ช่วงแรกๆต้องคอยดูให้ดี ควรวัดค่าแอมโมเนีย ไนไตร์ท ทุก 2-3 วัน จนกว่าจะได้ค่าเป็น 0 ทั้งสองตัว จึงค่อยใส่ปลาที่เราต้องการเลี้ยงเพื่อความสวยงาม ไม่ควรลงปลาทีละเยอะๆนะครับ เดี๋ยวกรองทำงานไม่ทัน ทยอยใส่ อาทิตย์ละ 3-4 ตัวก็พอ (ชุดตรวจวัดซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงปลาทั่วไป การใช้งานศึกษาเอาตามฉลาก)

8. หลังจากนี้ก็คอยๆๆๆ จน 1-2 อาทิตย์ผ่านไปนั่นแหละครับ ต้นไม้ในตู้จะเริ่มฟื้น จนพอดูได้แล้ว พ้น 1 เดือนแรกค่อยเริ่มใส่ปุ๋ยฝังและปุ๋ยน้ำครับ

การเซ็ตตู้ใหม่ที่แนะนำ ไว้เป็นแค่แนวทางหนึ่งนะครับ ไม่จำเป็นจะต้องทำแบบนี้เสมอไป ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จ คุณจะทำหรือไม่ทำอะไรก็ได้ ถ้าคุณคิดว่ามันดีกว่า ตู้คุณครับ ไม่ใช่ตู้ผม





ตะไคร่ การกำจัด และสัตว์น้ำช่วยกำจัดตะไคร่

มารู้จักศัตรูตัวเป้งของเราและวิธีการรับมือกันเถอะครับ

ดูที่ มารู้จักชนิดต่างๆของตะใคร่กันดีกว่า / คุณ banx

ดูที่ สัตว์น้ำผู้ช่วยควบคุมตะใคร่น้ำ / คุณ banx







ปัญหา : ลำต้นลีบเล็กลง ใบมีขนาดเล็กลง ใบเหลือง หลุดร่วง ไล่มาจากด้านโคนต้น
สาเหตุ : แสงไม่เพียงพอ
การ แก้ไข : ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไม้น้ำได้รับแสงสว่างเพียงพอกับความต้องการของไม้ชนิดนั้นๆ เปลี่ยนหลอดไฟ ถ้าหลอดนั้นใช้มานานกว่า 6 เดือน

ปัญหา : ใบมีจุดสีน้ำตาล แล้วค่อยๆขยายใหญ่จนเป็นรู ,ใบเหลืองทั้งต้น ,ใบค่อยๆเหลืองและเน่า เริ่มจากปลายใบ
สาเหตุ : มีปริมาณไนเตรทในน้ำมากเกินไป เกิดจากปริมาณการเปลี่ยนถ่ายน้ำไม่เพียงพอ หรือเว้นระยะนานเกินไป
การแก้ไข : เปลี่ยนถ่ายน้ำให้มากและบ่อยขึ้น


ปัญหา : ใบมีรูเล็กๆ ขอบหยัก ไม่เป็นระเบียบ มีขอบชัดเจน ในขณะที่ส่วนอื่นยังปกติดี
สาเหตุ : ถูกหอยกัดกิน
การแก้ไข : จับหอยออก

ปัญหา : ต้นไม้หยุดการเจริญเติบโต แล้วตายในเวลาต่อมา
สาเหตุ : คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ไม่เพียงพอ
การแก้ไข : เพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ลดการกระทบผิวน้ำของน้ำที่ไหลจากกรอง อย่าให้เกิดฟองอากาศ


ปัญหา : พื้นปลูกมีกลิ่นเหม็นเหมือนน้ำเน่า หรือดินเลน เวลาถอนต้นไม้ออกมา ,บริเวณรากบางส่วนมีสีดำ ,มองเห็นชั้นสีดำบริเวณด้านข้างตู้
สาเหตุ : เกิดการหมักหมมของพื้นกรวด แบคทีเรียในพื้นกรวดไม่ทำงาน หรือมีปริมาณน้อยเกินไป ออกซิเจนไม่สามารถกระจายไปยังด้านล่างของพื้นกรวดได้เพียงพอ
การแก้ไข : เสริมแบคทีเรียเข้าไปโดยตรง หากอาการไม่รุนแรง หรือรอให้รากของต้นไม้แผ่ไปถึง ก็จะหายไปเอง ในกรณีของชั้นดำ แต่หากอาการหนัก สามารถดูดน้ำทำความสะอาดกรวด (ควรแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ แล้วทำเป็นบางส่วนก่อน จากนั้นค่อยทำส่วนที่เหลือทีหลัง) หรือรื้อตู้จัดพื้นปลูกใหม่ ให้มีการไหลเวียนของก๊าซออกซิเจนได้ดีกว่าเดิม





เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

  • อย่า ซื้อตู้ กับปลาในวันเดียวกัน ควรจะซื้อตู้และอุปกรณ์ทุกอย่างกลับไปจัดการให้เรียบร้อยก่อน อีกซักอาทิตย์ค่อยกลับมาซื้อปลาและต้นไม้จะดีกว่า ซื้อของทุกอย่างกลับไปพร้อมกัน มันจะยุ่งยากในการจัดการทุกอย่างให้เสร็จในวันเดียว ถ้าไม่เสร็จ คุณก็ต้องหาที่พักปลาไว้ก่อน และปลาก็อาจจะตายจากสภาพน้ำที่ยังไม่ได้พักให้คลอรีนระเหย ระบบกรองยังไม่เซ็ตตัวดีได้อีกด้วย
  • การซื้อปลาแบบเหมาถุง ตามแหล่งค้าส่ง แม้จะได้ปลาจำนวนมากในราคาถูก แต่ผู้ซื้อก็ต้องเสี่ยงการสูญเสียปลาไปจำนวนหนึ่ง เนื่องจากไม่ได้รับการพักน้ำก่อนลงตู้อย่างถูกวิธี บางครั้งการซื้อปลากับร้านค้าที่มีการพักปลาให้เราเรียบร้อยแล้ว ในราคาแพงกว่าสักหน่อย อาจจะเป็นการดีกว่า
  • การคายฟองของต้นไม้ ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่า ต่อไป ตู้นี้จะต้องสวย ต้นไม้โตเร็ว การให้แสง CO2 ปุ๋ย ปริมาณมาก เพื่อให้ต้นไม้คายฟอง เหมือนการขับรถด้วยความเร็วสูง หากไม่มีความชำนาญพอ ตะไคร่อาจะมาเยือนท่านได้โดยง่าย
  • อย่า เชื่อคนขาย หรือผู้เชี่ยวชาญคนใดคนหนึ่ง โดยที่ไม่ได้ไตร่ตรองเสียก่อน หากไม่มีความรู้เรื่องนั้นๆจริงๆ ให้สอบถามผู้เลี้ยงหลายๆท่าน หลายๆร้านประกอบกัน มักจะได้คำตอบที่แม่นยำกว่า
  • หลอดไฟฟลูออเรส เซนต์ทั่วไป มีอายุการใช้งานราวๆ 6 เดือน- 1 ปี ควรเปลี่ยนหลอดเมื่อครบกำหนด หรือเห็นต้นไม้มีอาการแย่ลงเนื่องจากค่าแสงของหลอดไฟที่เปลี่ยนไป

ที่มาhttp://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=1413.0