จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทความ : นานาสาระ คาร์บอนยีสต์ (จากเริ่มต้น จนเสร็จสมบูรณ์) by Coffman
 สงวนสิทธิ์โดยทีมงาน พันธมิตรประชาชนเพื่อไม้น้ำประเทศไทย

ทำขวดเองกันก่อน>>>>>>DIY เพียง 6 Step เพื่อทำชุดขวดคาร์บอนไดออกไซด์ยีสต์ ภายใน 20 นาที http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=97252.0

ถ้าหัวขวดยังรั่วอยู่>>>>>>D.I.Y ขวดยีสต์ ยังรั่วกันอยู่หรือเปล่า เพิ่มอีก 50 สตางค์ แก้ปัญหาได้ By Coffman http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=87382.0


สรุป สูตรง่ายๆที่สุดนะครับหากไม่ต้องการต้ม
          ขวดขนาด 1.25 ลิตร    น้ำตาลทรายแดง 2.5 ขีด(โลแบ่ง 4 ) + น้ำ 1 ลิตร(สโลปคอขวด)+ผงฟู 1 ชช. เขย่าๆ + ยีสต์ 1/2ช้อน(เล็กๆของ 7-11)   ตามลำดับ

        ขวดขนาด 1.5  ลิตร น้ำตาลทรายแดง 3 ขีด(โลแบ่ง 3 ) + น้ำ 1.2 ลิตร(สโลปคอขวด)+ผงฟู 2 ชช. เขย่าๆ + ยีสต์ 1 ช้อน(เล็กๆของ 7-11) ตามลำดับ

        ขวดขนาด 2.0  ลิตร น้ำตาลทรายแดง 4 ขีด + น้ำ 1.5 ลิตร(สโลปคอขวด)+ผงฟู 2 ชช. เขย่าๆ + ยีสต์ 1ช้อน(เล็กๆของ 7-11) ตามลำดับ

         ขวดขนาด 3.1  ลิตรบิ๊กโคล่า น้ำตาลทรายแดง 5 ขีด(ครึ่งโล) + น้ำ 2.3 ลิตร(สโลปคอขวด)+ผงฟู 4 ชช. เขย่าๆ + ยีสต์ 2ช้อน(เล็กๆของ 7-11) ตามลำดับ
 
ตู้ 20 ลงมาใช้ขวด 1.25 -1.5  ต่อ 1 หัวดิฟ
ตู้ 24 1.5-2 ลิตร  ต่อ 1 หัวดิฟ
หรือให้ดี ตู้ 24 1.5-2 ลิตร พ่วง 2 ขวด  ต่อ 1 หัวดิฟ
หรือตู้ 24 3.1 ลิตรบิ๊กโคล่า  ต่อ 1 หัวดิฟ

ตู้ 36 1.5-2 ลิตร  ต่อ 1 หัวดิฟ 2 จุดขึ้นไป
ตู้ 36 3.1 ลิตรบิ๊กโคล่า  ต่อ 1 หัวดิฟ 2 จุดขึ้นไป

ตู้ 48 มีเงินซื้อตู้ขนาดนั้นก็ซื้อคาร์บอนถังเถอะครับ ได้โปรด  
 
วิธีนี้หัวดิฟที่ว่าออกยากยังไหว
ใช้ขวด pepsi coke 2 ลิตร
ใส่น้ำ 1.5 ลิตร น้ำตาลทรายแดง(ที่ใช้น้ำตาลทรายแดงเพราะมาสารอาหาร molasses จำเป็นเหลืออยู่มากกว่าน้ำตาลทรายขาวซึ่งยีสต์จำเป็นต้องใช้จึงไม่จำเป็น ต้อง เติมสารอาหารและแร่ธาติให้ยีสต์อีก)
1.น้ำตาลทรายแดง ยี่ห้อ มิตรผลโกลล์ น้ำตาลธรรมชาติวังขนาย มีทั้งวิตามินเกลือแร่ครบสมบูรณ์แบบ
น้ำตาลทราย 375 กรัม คิดที่ 25 %  ใครอยากได้สูตรน้ำตาลที่ 25%  ง่ายๆก็
สูตรคำนวณ น้ำตาลเป็นกรัม        -----------ปริมาณน้ำ (x) ลิตร คูณด้วย 250  = ปริมาณน้ำตาลเป็นกรัม
สูตรคำนวณน้ำตาลเป็นกิโลกรัม  -----------ปริมาณน้ำ (x) ลิตร คูณด้วย 0.25 = ปริมาณน้ำตาลเป็นกิโลกรัม
น้ำ ตาลปีป น้ำตาลอ้อย จริงๆแล้วสารอาหารยีสต์มากกว่า ทรายแดงแน่นอนครับ แต่การผลิตสกปรกมากยีสต์น่าจะโตไม่ทันแบคทีเรียเพราะเราไม่ได้ฆ่าเชื้อ 100% ก่อนเพียงแค่ต้มเดือดยังเสี่ยงเลยครับ
ใส่น้ำตาล26% ยืดเวลานานกว่าน้ำตาล 20% ไปอีก 33% ของวันที่ใช้ในการหมัก(นานขึ้น)ครับ
ผม ออกแบบการทดลองใส่ 25%-26% ครับ แต่ต้องแลกกับการที่ยีสต์เสียชีวิตมากขึ้นในตอนแรกที่เติมหัวเชื้อเข้าไปจึง ออกไปให้เติมยีสต์มากขึ้นกว่าสูตรทั่วไป
design น้ำตาล 25% เพราะต้องการเพิ่มแรงดันออสโมติกไปถึง 1.9 OSM ทำให้ยีสต์แตกหน่อยากระยะเวลาหมักจะได้นานขึ้นครับ(จากการที่น้ำตาลมากจะทำ ให้ยีสต์ตายตอนเริ่มมากขึ้นแก้ไขโดยใช้น้ำอุ่นพักยีสต์ 15 นาที ระยะเวลาเริ่มระบบอาจนานขึ้นประมาณ 3 ชั่วโมง แต่ก็จะได้ระบบ Co2 ที่นานขึ้นครับ พบว่าน้ำตาล 20% กับ 26% จะยืดการหมักได้นานขึ้น 33% ถ้าทำสะอาดเราจะได้เหล้าขาวดีกรี เกิน 15 เลยหอมเหมือนวอดกาเลย แต่ถ้าเราเปิด diffuse ตลอดแบบนี้เราจะได้ไวน์ที่มีคาร์บอนไดออกไซด์คล้าย Spy เรียก Sparkling wine natural นะครับวิธีนี้แต่เอาไปดื่มตรงๆไม่ได้นะยีสต์จะทำให้ท้องเสียต้องบ่มก่อน แล้วจะเอาวิธีมาแบ่งปันอิอิ
ทดลองแล้วครับเริ่ม   23-2-2553  เวลา 13.25 น.  สูตรนี้อายุการใช้งาน 1 เดือน จะไม่สามารถ ดันออกหัวดริฟที่ผมใช้เป็นยี่ห้อ DAZ ที่มีตัวนับฟองเกลียว ถ้าเขย่าต่ออาจดันออกได้สักสองชั่วโมงก็จะหยุด ได้ทดลองเติมน้ำตาลละลายน้ำลงไปอีกสองร้อยห้าสิบซีซี แล้วก็ไม่สามารถเพิ่มวันในการใช้งานได้ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้หัวดริฟสามารถใช้งานได้นานกว่าหนึ่งเดือนมาก แต่ผมยังไม่ได้ทดลองครับ
2.ผง ฟู
ที่ใช้ผงฟูเพราะผงฟูจะแตกตัวให้ ก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ครับทำให้ยีสต์ อยู่ในสภาพไร้อากาศได้ไว ไล่อากาศ ออกซิเจนออกจากขวดหมัก ทำให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์ไวขึ้นจากตัวผงฟูเอง และฆ่าเชื้อโรคในขวดหมักได้ส่วนหนึ่ง   ปรับสมดุล pH ในขวดหมัก
ข้อควร ระวัง  อย่าสัมผัส อย่าโดนตา ผิว หายใจเอาฝุ่นเข้าไปเพราะระคายเคืองได้ Health Hazards Acute and Chronic:ACUTE:MILD IRRITANT TO EYES AND SKIN    OR RESPIRATORY TRACT;INGESTION MAY CAUSE ALKALOSIS.
จำไว้ว่าให้
ละลาย ผงฟูก่อนเสมอ เทผงฟูลงขวดแล้วคนให้เข้ากันก่อน เติมยีสต์ เพราะจะไม่ไปฆ่ายีสต์
ผงฟูประมาณ 1 ช้อนชาพูนต่อน้ำ 1.5 ลิตร ผมใช้ น้ำ 2.8 ลิตรก็เติมประมาณสองช้อนชาพูนครับ
ผง ฟู ผงฟูทำขนมปัง (Baking powder) เป็นสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟู ใช้ในการอบจนและดับกลิ่น มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมีฤทธิ์เป็นด่าง เรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา)
มีลักษณะเป็นผงสีขาว มี 2 ชนิดคือ( เบกกิ้งพาวเด้อ (ผงฟู) กับ เบกกิ้งโซดา ที่เราใช้ใส่ขนมน่ะ มันคนละอย่างกันนะ)
   1. ผงฟู (Baking Powder) ประกอบด้วย โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) และสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ครีมทาร์ทาร์ (cream of tartar, เป็นผลึกผงสีขาวทำมาจากกรดในลูกองุ่น) , โซเดียม แอซิด ไพโรฟอสเฟต (sodium acid pyrophosphate, กรดเกลือของกรด) และส่วนที่เป็นแป้งข้าวโพดเพื่อป้องกันไม่ให้สารทั้งสองสัมผัสกันโดยตรง เมื่อผงฟูโดนน้ำจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เกิดเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ขนมฟู ซึ่งเป็นแบบกำลังหนึ่ง ส่วนแบบกำลังสองจะมีกรด 2 ตัว และจะมีก๊าซเกิดขึ้น 2 ช่วง ในช่วงการผสมและการอบ

(ผงฟูแบ่งออกไป อีกมี 2 ชนิด คือผงฟูกำลัง 1 กับผงฟูกำลัง 2) ชนิดของผงฟู (Baking Powder)
   1.1 ผงฟูกำลังหนึ่ง (Single Acting หรือ Fast Action) ผงฟูจะผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทันทีอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผสมกันและระหว่างที่รอเข้าอบ ดังนั้นต้องทำการผสมและอบอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่อบทันที ขนมจะขึ้นฟูไม่ดีเท่าที่ควร
   1.2 ผงฟูกำลังสอง (Double Action) เป็นผงฟูที่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สองขั้นคือ ในขั้นตอนการผสมส่วนหนึ่งและในขณะอบอีกส่วนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมใช้ผงฟูชนิดนี้เพราะไม่ต้องเร่งรีบในการทำ ในการผสม และในการอบ

   2. เบคกิ้งโซดา (Baking soda) มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) จะสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน มีผลเสียคือจะมีสารตกค้างซึ่งถ้าใช้เกินจะทำให้เกิดรสเฝื่อน เพื่อทำให้สารตกค้างหมดไปสามารถปรับได้โดยการเติมกรดอาหารลงไป เช่นนมเปรี้ยว

สรุปตามสูตรนี้ที่เราจะใช้ต้องชื่อ ผงฟู เบคกิ้งพาวเดอร์(Baking Powder)เท่านั้น ไม่ใช่เบคกิ้งโซดา จะดับเบิ้ล ไม่ดับเบิ้ล  ว่ากันต่อ
ดูความแตกต่างที่นี่http://users.rcn.com/sue.interport/food/bakgsoda.html
เรา ใช้เบคกิ้งโซดา (Baking soda) ในการหมักยีสต์ไม่ได้เพราะจะไม่ให้ Co2 เพราะเราไม่ได้เติมกรดนะครับ
เรา ต้องเลือก และบอกคนขายว่า ขอผงฟูแบบเบคกิ้งพาวเดอร์(Baking Powder) ผงฟูกำลังหนึ่ง (Single Acting หรือ Fast Action)ซึ่งราคาถูกกว่ากำลังสอง
เรา ต่างก็ต้องการแค่ โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) กับกรด ส่วนจุดประสงค์ที่ให้แตกตัวสองครั้งนั้นไม่จำเป็นสำหรับการหมักคาร์บอนยีสต์ ที่ใช้ในการเลี้ยงพรรณไม้น้ำเพราะเราเลี้ยงที่อุณหภูมิไม่สูง จึงไม่เกิดการแตกตัวครั้งที่สองเมื่อเราเติมผงฟูแบบดับเบิ้ลแอคชั่น คุณสมบัติดับเบิ้ลแอคชั่นจึงไม่จำเป็นเลย
การเลือกใช้ก็คงต้องเลือกเป็น ดูราคาให้เหมาะสมด้วยนะครับ

3.ยีสต์ ใช้ยีสต์ทำขนมปังยี่ห้อไหนก็ได้  เพราะยีสต์ทำขนมปังให้ก๊าสมากกว่า ยี่ห้อนอก fermi pan ก็ดีครับยีสต์พวกนี้สายพันธุ์ดีมีมาตรฐานให้ฟองที่แน่นอน ทนทาน  เลือกที่ไม่หมดอายุ  หรือถุงที่บรรจุสุญญากาศจะดีมากๆ  ใช้ปริมาณ 1 ช้อนกาแฟ 7-11 ต่อน้ำ  1.5 ลิตร
ผมใช้ยี่ห้อ saf instant ไม่มีฟองเลย ผมดูจากสายยาง และขวดดักยีสต์  การที่มีฟองขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ยี่ห้อยีสต์ที่ใช้ด้วยครับ ส่วนใหญ่มักใช้ยีสต์จมตัว มากกกว่ายีสต์ลอย ที่หมักมีฟองมากน่าจะเป็นยีสต์ลอย หรือยีสต์ที่ต่อเชื้อใช้มา
ความเข้า ใจที่ยีสต์เยอะไปแล้วเราจะได้ Co2 จากน้ำตาลหมดเร็วเป็นควา่มคิดที่ยังไม่ถูกต้องครับ เรามักจะคิดว่าเติมเยอะเชื้อเยอก๊าสเยอะ แต่ข้อเท็จจริง การเติมยีสต์มากน้อยในตอนเริ่มต้นมาก จะทำให้เราได้ Co2 ไวกว่าก่ารเติมเชื้อที่น้อย(lag phase สั้นลดเวลาพักตัว) การที่เราทำให้ยีสต์เยอะตอนแรกยังช่วยให้ระบบการหมักจากยีสต์สมบูรณ์จริงๆ (แต่อาจเปลืองเงินครับ และการใช้หัวเชื้อมากเกินไป นอกจากจะทำให้เปลืองแล้วก็ไม่ทำให้ได้ก๊าสเพิ่ม ประสิทธิภาพการเปลี่ยนสารอาหารเป็นผลิตภัณฑ์,แอลกอฮอล์ จะคงที่เพราะการที่เราหมักในขวดผมยังแนะนำอย่างแรงว่าการต้มไม่ใช่แค่อุ่น หรือน้ำตาลละลายอย่าเดียว มันยังยังทำการฆ่าเชื้ออื่นๆที่ไม่ใช่ยีสต์ เพื่อไม่ให้ใช้น้ำตาลแข่งกับยีสต์ที่เราเติมลงไปได้เพราะยีสต์ใช้น้ำตาลได้ ช้ากว่าในการเริ่มต้นระบบ (อยากให้การเริ่มระบบไวเทคนิคคือละลายยีสต์แห้งในน้ำอุ่น 38-45 องศา หรือน้ำตาลที่ใช้หมัก ก่อน 15 นาทีแล้วค่อยเทลงขวดนะครับ เพื่อกันยีสต์ชอคตายทั้งขวด)การไม่ต้มน้ำ และใช่แค่น้ำถัง เสี่ยงต่อการหมักที่ล้มเหลวและก๊าสที่ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าไม่มีอินดิเคเตอร์อันนี้เสี่ยงครับ   นอกจากเราจะใช้น้ำขวด pet น้ำตาลทรายแดงที่ไม่แบ่งขาย ขวดที่สะอาดจริงๆก็พอลุ้นครับ
วิธีที่ถูกต้อง
1.ต้มน้ำเดือด เติมน้ำตาลทรายแดง

2.พัก ให้อุ่นๆ-เย็น ผมใช้ถังอลูมิเนียมใส่น้ำแข็ง หรือถุงใส่น้ำแข็งโยนลงไปเลย (ลวกถังก่อน)แล้วตั้งไว้กลางหม้อเลยคนน้ำแข็ง ข้างในแปปเดียวอุ่น หรือใส่น้ำแข็งในถุงร้อนสะอาดๆแล้วแช่ลงไปก็ได้เย็นไวดี
3.เท ลงขวดที่ลวกน้ำอุ่นๆลวกนะครับ ระวังขวด coke บิด แล้ว ให้มีปริมาณเหลือ ช่องว่างเก็บก๊าส head space สัก  25% ต้องเว้นไว้ระวังยีสต์บางพันธุ์เกิดฟองขณะหมักให้ใส่น้ำมันพืชลงไปลดฟองสัก สามหยด

4.ละลายผงฟูด้วย น้ำตาลที่เคี่ยวไว้เทลงไปผสมกัน ผมใช้ตะเกียบใหม่ฉีกจากซองเลยคนครับ พยายามอย่าให้เลอะหัวขวด

5.ละลาย ยีสต์ด้วยน้ำตาลที่เคี่ยวไว้แล้ว พักนานสิบห้านาที ยีสต์ดีจะได้กลิ่นแอลกอฮอล์ มีฟองปุดๆ ก็ยีสต์ดี ใช้ได้ (ผม แบ่งจากหม้อไว้ส่วนหนึ่ง) คนด้วยตะเกียบฆ่าเชื้ออีกแท่งหนึ่งที่เหลือนั่นหล่ะครับ เทลงขวด ใช้ตะเกียบคนให้เข้ากัน  ประกอบชุดอุปกรณ์

ยีสต์แห้งอุณหภูมิห้องปกติพอแล้วครับ ดูจากที่เขาขายก็ได้ไม่มีใครใส่ยีสต์แห้งในตู้เย็นนะครับ  
เหตุผล
พอ เอาออกตู้เย็น จะมีความชื้นในถุงโดนความร้อนที่เปลี่ยนแปลงจะกลั่นตัวเป็นน้ำ เป็นฝ้าเกาะข้างใน เกิดในถุงยีสต์เป็นหยดน้ำ ถ้าหยดน้ำไปเกาะกับยีสต์ผงซึ่งเป็นยีสต์เป็น มันจะกระตุ้นให้ยีสต์งอกงอกใหม่ พอไม่มีอาหารมันก็แห้งตาย เอาเข้าเอาออกตู้เรื่อยๆ ก็ตายไปเรื่อยๆจากเหตุผลดังกล่าว ที่ยีสต์ไม่ออกจึงไม่ใช่สาเหตุจากนมครับซึ่งการใส่นมผมก็ไม่แนะนำให้ใส่ใน ระบบหมักอีกเพราะนมจะไปเร่งให้แบคทีเรียพวกแลกโตบาซิลลัส นั่นหล่ะไปแย่งอาหารกับยีสต์ได้เพราะมันโตไวกว่า ทำให้ปริมาณน้ำตาลลดลงไปอีก ถ้าเป็นโปรตีนที่ย่อยโมเลกุลมาแล้วก็ใช้ได้ครับเพราะยีสต์สามารถนำไปใช้ได้ เลย
การเก็บยีสต์แห้ง จึงไม่จำเป็นต้องเอาเข้าตู้เย็นด้วยเหตุผลอื่น เพราะเป็นยีสต์ในรูปที่พักตัวให้ทนกับความแล้งได้ดีอยู่แล้ว หลังจากเปิดถุงแล้วหาที่ใส่ ผมใช้ถุงซิปแล้วห่อกระดาษหนังสือพิมพ์เก็บไว้ที่ร่มๆ หรือกองๆไว้ข้างตู้ปลานั่นแหละครับหาง่ายดี
Q and A
1.
Q..ใส่น้ำตาลลงไป หลังคาร์บอนอ่อนแรง ช่วงได้ไหม?
A..ใส่ ได้แต่เปลืองครับ หลังน้ำตาลหมดเติมน้ำตาลช่วยได้ครับแต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขว่าปริมาณที่เติม ต้องมากพอที่จะไปเจือจางน้ำหมักให้พิษของแอลกอฮอล์ลดลงจนถึงระดบแตกหน่อได้ อีกครั้ง ซึ่งตามหลักการได้แต่ต้องรู้ปริมาณแอลกอฮอล์และน้ำตาลที่เหลือในระบบก่อน การเลี้ยงไม้น้ำ การเติมน้ำตาลครั้งที่สองจึงมีคนที่สำเร็จ พอๆกับคนล้มเหลว เพราะไม่รู้ปัจจัยที่แท้จริงครับ แต่ผลที่แน่นอนที่สุดคือได้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สั้นลงแน่ๆ ผมจึงไม่แนะนำวิธีนี้ครับ เตรียมใหม่น่าจะดีกว่า
2.
Q..ตอนกลางคืนระบบคาร์บอนยีสต์ต้องถอด สายไหมครับ
A..ผม แค่ยกหัว reactor ให้สูงอยู่ในตู้ตอนกลางคืนไม่มีการถอดสายออกนะครับ <<<<<<<<<<<<<สำคัญมากๆๆๆ >>>>>>>>>>>>>
เพื่อป้องกัน สภาวะในขวดหมักมีออกซิเจน หากระบบหมักยีสต์มีออกซิเจนจะเป็นเหตุให้ยีสต์เปลี่ยนน้ำตาลเป็นการสร้าง เซลล์(เราไม่ต้องการคาร์บอนจากน้ำตาลทรายไปเปลี่ยนเป็นเซลล์ยีสต์)ซึ่งจะไม่ ได้คาร์บอนไดออกไซด์มากพอเลี้ยงไม้น้ำ เราต้องการการหมักที่ไร้อากาศ(ไร้ออกซิเจน)จะได้แอลกอฮอล์และ Co2 ที่เราต้องการ ผมจึงไม่แนะนำให้เอาหัวดิฟออกกลางคืนนะครับ ยกไว้ใกล้ๆผิวน้ำก็ได้แต่อย่าลอยพ้นน้ำ
สำหรับใครที่มีขวดดักยีสต์ สามารถถอดสายได้ครับแต่ต้องเป็นตำแหน่ง หลังจากขวดดักน้า
3.
Q..ผมเช็คไม่รั่ว แน่นอนทำไมไม่ออก
A..รอครับ ผมรอประมาณ 4 ชั่วโมงหัวดริฟ daz สายยาง ข้อต่อ สายออคซิเจน ตัารั่วเลยครับ ใช้น้ำยาล้างจานเช็คทุกจุด
วิธีต่อสายที่ถูกต้อง
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=87133.0
วิธีกันรั่ว
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=87382.0
4.
Q..ยีสต์ ที่เราแกะจากซองแล้วอายุมันจะสั้นลงตามวันหมด อายุข้างซองหรือป่าวหรือว่าไม่มีผล ยีสต์ที่เราแกะมาใช้แล้ว ควรมีวิธีเก็บรักษาอย่างไรจึงจะรักษาคุณภาพยีสต์ให้ได้นานที่สุด รู้ ได้อย่างไรว่ายีสต์หมดอายุ
A..ตอบเลยนะครับ
แกะจากซองแล้วใช้ ช้อนที่แห้งสะอาดตักออกมา ใช้ก่อนวันหมดอายุนั่นหล่ะครับแต่ขอเก็บในที่แห้งเย็นแต่ไม่ต้องถึงกับไปแช่ ตู้เย็นหรือไปฟรีสมันเพราะยีสต์ทนสถาพแห้งแล้งได้ดีอยู่แล้วในสภาพที่เขาขาย การดูยีสต์ที่ดี คือเลี้ยงบนอาหารแข็งครับแล้วนับวง colony ที่ใหญ่ๆ แต่ถ้าง่ายๆก็สังเกตุจากการบ่มครับถ้าทำตามที่ผมแนะนำแล้วสัก 3 ชม ยังนิ่งก็เติมเชื้อใหม่ที่ดีเข้าไปได้  
เท ผงยีสต์ ลงในน้ำตาลที่เข้มข้น ยีสต์จะ ตายทันทีอันนี้ถูกครับเลยต้อง ใส่น้ำอุ่น สัก 38 องศา จับเอาพอไม่ร้อนนั่นหละ  15 นาทีก่อนเทลงขวด
ถ้า ปริมาณน้ำตาลเจือจางใส่ยีสต์มากถูกครับที่ยีสต์จะหมักสั้นลง แต่ผมออกแบบให้น้ำตาลมากยีสต์พอเหมาะเพื่อให้แรงดันออสโมติก และแอลกอฮอล์ ไปลดการแตกหน่อ(เติบโต)ของยีสต์ด้วย

5.
Q...ใส่นมลงไปดีไหม?
A..การ ใส่นมผมก็ไม่เห็นด้วย เพราะยีสต์ไม่มีปากเคี้ยวโปรตีน จริงที่นมเป็นแหล่ง Nitrogen ที่ดีในการสร้าง cell wall  แต่สภาพนมถั่วเหลืองมันเป็นโปรตีนที่ใหญ่ มากยังไงต้องรอการย่อยในระบบหมักโดยแบคทีเรียอื่น  ผมว่ามันจะเน่าในขวดและเราจะไม่ได้ Co2 จริงๆแน่ ยิ่งถ้าทำสกปรกใส่นมยิ่งไปกันใหญ่ ถ้าเป็นโปรตีนผง หรือโปรตีนที่ย่อยแล้วอันนี้ด็เติมได้ครับ ผมแนะนำเติมปุ๋ยยูเรีย 0.1% ของน้ำหมัก ดีกว่า

พราะผมไล่ดูสูตรตามเวปแล้วมันไม่หนีกันมากหรอก ครับของผมจะต่างก็ปริมาณ น้ำตาล การต้ม และการใส่ยีสต์ที่เพิ่มขึ้นนิดหน่อย แต่ก็อิงมาจากวิชาการประกอบครับ อ๊างงงงงงง

ุ6.
Q..งั้น แปลว่าใส่ยีสมากแรกๆไม่เป็นไร เดี๋ยวมันจะถูกจำกัดจำนวนด้วยสภาพแรงดันเหรอครับ งั้น 1.5 ลิตร ผมละลายยีสในน้ำอุ่นและน้ำตาล สัก 2 ช้อนชาเลยได้ใช่ไหมครับ
แล้วหลัง จากน้ำตาลหมดแล้วเติมน้ำตาลมันช่วยได้ไหมครับ
A..ใส่ ได้แต่เปลืองครับ หลังน้ำตาลหมดเติมน้ำตาลช่วยได้ครับแต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขว่าปริมาณที่เติม ต้องมากพอที่จะไปเจือจางน้ำหมักให้พิษของแอลกอฮอล์ลดลงจนถึงระดบแตกหน่อได้ อีกครั้ง ซึ่งตามหลักการได้แต่ต้องรู้ปริมาณแอลกอฮอล์และน้ำตาลที่เหลือในระบบก่อน การเลี้ยงไม้น้ำ การเติมน้ำตาลครั้งที่สองจึงมีคนที่สำเร็จ พอๆกับคนล้มเหลว เพราะไม่รู้ปัจจัยที่แท้จริงครับ แต่ผลที่แน่นอนที่สุดคือได้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สั้นลงแน่ๆ ผมจึงไม่แนะนำวิธีนี้ครับ เตรียมใหม่น่าจะดีกว่า

7.
Q..เออ ลืม แล้วไอ้แรงดันอะไรที่ว่า เราจะรู้ได้ยังไงครับว่ามันพอดี หรือกะๆเอา?
A..ควบคุมปริมาณน้ำตาล ที่ 25% โดยน้ำหนักต่อปริมาตรครับ    น้ำตาล 250 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรครับ

8.
Q..เ่อ่อ...พอดีผมไม่มีเครื่องชั่งครับ เลยอยากทราบว่า 1 ช้อนโต๊ะนี่กี่กรัมอ่ะครับ
A..านมีตาชั่งครับ ขายกาแฟ อาหาร อิอิ
บอกให้หมดเลยนะครับ ถ่ายรูปมายืนยันด้วย
ตอบ 1 ช้อนโต๊ะเท่ากับน้ำตาลทรายแดง  8 กรัม ตวงจริงๆ เอาถ้วยตวงดีกว่า
มาตราส่วนทั่วๆ ไป

1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา
1 ถ้วยตวง = 18 ช้อนโต๊ะ
1ไพน์ = 2ถ้วยตวง
1 ควอร์ต = 4 ถ้วยตวง
1 แกลอน = 4 ควอร์ต
1 ออนซ์ของเหลว = 2 ช้อนโต๊ะ
1 ถ้วยตวง = 8 ออนซ์
1 ปอนด์ = 16 ออนซ์
1 ออนซ์ = 28.3 กรัม
1 ปอนด์ = 454 กรัม
1 กิโลกรัม = 1,000 กรัม
1 กิโลกรัม = 2.2 ปอนด์

มาตราส่วนสำหรับส่วนผสมต่าง
1 ถ้วยตวง น้ำตาลทรายแดง = 150 กรัม ไม่อัดไม่เคาะเทลงเฉยๆ เต็มแล้วเอานิ้วปาดเสมอขอบถ้วย

 นิ้วผมเองนิ้วสวยป่ะ
1 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย = 185 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ ยีสต์ = 7 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ ผงฟู = 8 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ เกลือ = 10 กรัม
1 ถ้วยตวง น้ำเปล่า = 225 กรัม

9.
Q..สรุป แล้ว ไอ้ที่ผมใช้ เบกกิ้งโซดา มันไม่ได้ CO2 หรอกเหรอครับ?  เคยอ่านเจอ บางคนใช้ เบกกิ้งโซดา กับ น้ำส้มสายชู ก็ได้ CO2  ง่า...

(ผมเรียนสายอาชีพ เลยไม่ได้เรียน เคมีครับ)สรุป ควรใช้ผงฟูเหรอครับ  

A..ใช้ เบคกิ้งโซดาได้ครับ แต่ต้องใส่กรด น้ำส้มสายชู เพื่อให้มันมีฟอง แต่ผงฟูสะดวกกว่าเพราะมันใส่มาแล้วโดนน้ำฟองก็ออกเลย

10.
Q..อากาศที่เข้าไปในระบบ หมักยีสต์ มีผลเสียมากหรือเปล่าครับ โดยผมทำแบบนี้

ต่อสามทางระหวาง ขวดยีสต์ กับกันย้อน(ขวดดักยีสต์) เพิ่มกันย้อนอีกตัว เอาหลอดฉีดยา อัดอากาศเข้าระบบ
จน แรงดันมากพอ จะมีอากาศ ออกที่ดิฟ (ผมเป็นพวกขี้เกียจรอนานๆหลายชั่วโมงครับ) ไม่เกิน 5 นาที ก็ออกฟู่ๆแล้ว(แต่เป็น O2 ซะส่วนใหญ่ อันนี้ผมเข้าใจ)
ตอน นี้ผมใช้ ขวด 1.25 x2 ต่อแบบของคุณ Kasama ออกที่ 3 ฟองต่อวินาที ตู้ขนาด 36x18x18 วางดิฟ ที่ก้นตู้ครับ

ถ้า ผมใช้วิธีการต้มน้ำ และทำความสะอาด ตามวิธีที่คุณแนะนำ การอัดอากาศ เข้าไปในระบบ จะมีผลเสียอะไรหรือเปล่าครับ(ไม่นับเรื่อง O2 ที่เพิ่มขึ้นในตู้ในช่วงแรกนะครับ)

A..อากาศเข้าตู้ตอนแรกแค่อัดเพื่อไล่ระบบให้มีแรงดันคงไม่มีปัญหาในระยะยาว เพราะสุดท้าย
ดูตารางนะครับ
Components in Dry Air     Volume Ratio compared to Dry Air     Molecular Mass - M(kg/kmol)    Molecular Mass in Air
     Oxygen                                         0.2095(20.95%)                         32.00                                      6.704
    Nitrogen                                         0.7809(78.09%)                         28.02                                    21.88
Carbon Dioxide                                 0.0003(0.03%)                             44.01                                      0.013

ดู น้ำหนักคาร์บอนไดออกไซด์ครับเท่ากับ 44.01 เทียบกับออกซิเจนซึ่งเบากว่า 32.00 ในระบบหมักสุดท้ายออกซิเจนจะถูกไล่ออกไปจากระบบเอง เพราะออกซิเจน เบากว่า Co2 เมื่ออากาศจัดเรียงตัวในระบบมันจะลอยตัวและไล่ออกไปตามลำดับ

แถม ครับ เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศน้อยมากๆ ไม่พอให้พืชน้ำ เราจึงเติม Co2 จากการหมักครับ

11.
Q..เคย ได้ยินมาว่ายีสต์ชอบ"แอมโมเนีย" จึงมีปราชญ์บางคนแนะนำให้ใช้น้ำจากตู้ปลามาใช้ในการผสม(เพราะมีแอมโมเนีย) ข้อมูลดังกล่าวเท็จจริงประการใด แล้วของเสียของปลาจะทำให้เกิดเสียอย่างหรือป่าว
ปล.ผมเป็นคนนึงที่ใช้ สูตรนี้ ก็ออกดีและนาน แต่ตอนนี้เริ่มไม่เเน่ใจแล้วว่าก๊าซที่ได้จะเป็นคาร์บอน 100% (อาจจะมีก๊าซอื่นปลอมปนอยู่)
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ...
A..ยีสต์ ชอบแอมโมเนียเป็นเรื่องจริงครับในการหมักบางครั้งก็ใช้ยูเรีย หรือแหล่งแอมโมเนียมอื่นๆ เพื่อเป็นไนโตรเจน  เพื่อการเจริญเติบโต การใช้น้ำตู้ปลาก็ใช้ได้เพราะมีสารประกอบแอมโมเนียจากปุ๋ยและของเสียจากขี้ ปลาพอเหมาะ ทางทฤษฏีครับ แต่ทางปฏิบัติจะต้องฆ่าเชื้อในน้ำก่อนเพื่อป้องกันการแย่งยีสต์เติบโตและอาจ มีก๊าสที่เจือปน โดยเฉพาะก๊าสไข่เน่าที่อัตรายต่อสัตว์และพืชน้ำได้ครับ

12.  อันนี้ไม่เกี่ยวกับยีสต์แล้ว
Q..ถ้าเอาผงฟูใส่ลงในตู้ที่ไม่มีปลา เพื่อปรับน้ำให้มีค่าเป็นกรดจะเป็นไรกับต้นไม้ไหมครับ
A..ปรับได้ครับ แต่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อระบบกรองชีวภาพทุกชนิดในโลกจะล่ม โดยอัตโนมัติ แลกเอานะครับ

13.
Q..
แล้ว ถ้าเอาน้ำเลี้ยงปลาไปต้มเพื่อเลี้ยงยีสต์ ไปต้มแอมโมเนียมันจะไม่ระเหยหรือสูญเสียระหว่างการต้มหรือครับ หรือว่าความร้อนไม่มีผลกระทบต่อเเอมโมเนีย
ปล.ตู้สวยนะครับ

A..แอมโมเนีย ในตู้ปลามีหลายแบบฟอร์มครับ ถ้าเป็นแอมโมเนียล่ำระเหยแน่ แต่ถ้ามีประจุเป็นเกลือแอมโมเนียม ถึงต้มก็ยังอยู่ครับไม่ระเหยไปไหน Forms and toxicity Total ammonia nitrogen (TAN) is composed of toxic (un-ionized) ammonia (NH3) and nontoxic(ionized) ammonia (NH+4). Onlya fraction of the TAN exists as toxic (un-ionized) ammonia, and a balance exists between it and the on toxic ionized ammonia:
ดู link  นี้ครับ
วงจรแอมโมเนียในตู้ปลา บ่อปลา

http://aquanic.org/publicat/usda_rac/efs/srac/463fs.pdf

14..
Q..
ง่า... เออ... สรุปว่าถ้าอยู่ในรูปเกลือนี้ยังไงก็ไม่ระเหยใช่ปะครับ(เกลือนี้หมายถึงไนเต รทใช่ปะคัรบ) ปัญหาทีนี้ก็คือจะรู้ได้ไงว่าเป็นเกลือหรือเป็นสาร ต้องใช่เครื่องมือวัดใช่ปะครับ แต่ความเข้าใจของผมนะ ผมว่ามันน่าจะมีทั้ง 2 ตัวเลย แต่ไม่รู้ว่าตัวไหนมันเยอะกว่ากันหรือมีเท่ากัน โอกาสทีมันจะมีแค่ตัวใดตัวนึงคงไม่มี แอมโมเนียนี้มันจะทำให้กระบวนสร้างคาร์บอนจากยีสต์นี่สมบูรณ์มากขึ้นหรือ ป่าวครับ
A..ขึ้นกับหลายปัจจัยครับทั้ง pH อุณหภูมิ ปริมาณ aerobic แบคทีเรียที่ใช้อากาศ  anaerobic  แบคทีเรียที่ไม่ใช้อากาศดังนั้น วงจรของ NH3 NH4 จึงขึ้นกับสภาพแวดล้อมของตู้เช่น ดูภาพประกอบด้วยครับ
1. ตู้ที่มีกรองแขวน หรือกรองนอกดีๆ มี bacteria ที่ใช้อากาศสลายดีอยู่แล้ว แต่ปูดินบางเกินไป มักขาดแบคทีเรียที่ไม่ใช้อากาศย่อยสลายในชั้นดิน การ reduce หรือย่อยสลาย NO3 หรือไนเตรท จากNO2 หรือ ไนไตรท์ที่แบคทีเรียที่ใช้อากาศผลิตมา ให้กลายเป็นก๊าสไนโตรเจนก็ลดลง ไนเตรทจึงเหลือมาก การที่จะเกิดตะไคร่ขึ้นตู้ก็เยอะ จึงเป็นที่มาของถ้าตู้ยังไม่ เซ็ท ตัว เซียนไม้น้ำเห็นตะไคร่จึงบอกให้เปลี่ยนน้ำ เพื่อลดปริมาณอาหารของตะไคร่แล้วรอจนวงจรนี้สมบูรณ์(อย่าลืมว่าการที่เรา เลี้ยงไม้น้ำก็แค่จำลองมาจากธรรมชาติ)การที่ระบบจะ เซ็ทตัวได้ไวช้าต้องสุดแล้วแต่ระบบนิเวศน์ในตู้ของแต่ละคน
2. ตู้ที่ดินหนาดีแต่กรองไม่ดี กรองไม่พอ ก็จะเกิดแอมโมเนียเหลือ มากจนเกิดพิษต่อปลากุ้งได้
การ เลี้ยงยีสต์ต้องการไนเตรท ไนไตร์ท ชัวร์เพราะมันคือธาตุอาหารที่รองจากน้ำตาล บางสูตรใช้แอมโมเนียมซัลเฟตเติมลง ไปๅ 0.5% เพื่อให้เซลล์ยีสต์แข็งแรงมากขึ้น
สรุป ใช้น้ำเลี้ยงปลาดีกว่าน้ำเปล่าเลี้ยงยีสต์ได้ดีกว่าแต่หากฆ่าเชื้อที่ติดมา กับน้ำเลี้ยงปลา ไม่เหมาะสมก็จะไม่ได้ CO2 ตามหวังครับ ถึงแม้จะต้มแอมโมเนียระเหยไปได้บ้างแต่ยังมี Nitrogen รูปฟอร์มอื่นๆเหลือให้คุณยีสต์ได้ใช้งานกันครับ



อื่นๆ ติชม
จาก บ.บัง
1. การลวกขวด และอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการต้มน้ำตาล เป็นวิธีการที่ถูกต้องในการหมักยีสต์แล้วล่ะครับ ซึ่งจะทำให้ได้ก๊าซที่บริสุทธิ์ขึ้น จากการที่ลดจำนวนหรือกำจัดเชื้ออื่นออกไป ทำแล้วเก็บแช่เย็นไว้ทีละสองสามขวดก็ได้นะครับ

2. ที่ว่าไม่ควรใส่นม หรือนมถั่วเหลือง จริงๆตามบทความดั้งเดิมของฝรั่งเขาก็ใส่เพื่อเป็นอาหารเสริมให้ยีสต์สร้าง ผนังเซลล์+อื่นๆนั่นแหละครับ และของเดิมเขาใช้โปรตีนผง ที่เอาไว้เสริมสุขภาพ ไอ้คนที่เพี้ยนมาใส่นมถั่วเหลืองน่ะผมเอง เพราะเห็นเค้าว่าใช้แป้งถั่วเหลืองก็ได้ แต่ผมหาซื้อไม่ได้ไง ซึ่งมันก็ไม่ค่อยมีผล ใส่ไม่ใส่ไม่ต่างกันมากมายอะไร

3. ส่วนเรื่องใส่ยีสต์มากแล้วหมดเร็ว ก็ถ้าใช้แรงดันกดการขยายของยีสต์ไว้ มันก็คงยังงั้นแหละครับ โตไม่ออก เป็นการพัฒนาที่เยี่ยมมากครับ เพราะจะได้ใส่ยีสต์ได้เยอะๆตั้งแต่ทีแรก ไม่ต้องกลัวปัญหายีสต์ไม่ดีแล้วไม่ค่อยออก

4. ไม่ว่าจะสูตรไหน ควรขยายยีสต์ก่อนใช้ครับ หลักการเหมือนการใช้พวก EM เอาใส่น้ำอุ่น น้ำตาลเล็กน้อย คนๆ รอให้ขึ้นฟอง ไม่งั้นยีสต์มันตายหมด (หรือเป็นอะไรซักอย่าง คือ... มันหมักไม่ค่อยออกน่ะ คงตายแหละมั้ง)

จากคุณ phan1000
คอนเฟิร์มครับกระจายเลย ดูดีมีชาติตระกูลมากๆ
อันที่จริงผมคิดว่าใส่มากกับน้อยมานจะมีจุดสูงสุดของมันอยู่แล้วครับ
ถ้าใส่มากเกินจุดสูงสุดก็คือเปลืองนั่นเอง แต่อาจเป็นการช่วยเร่งระบบในตอนแรก
เพราะตอนแรกอาจมีบางส่วนแปลงสภาพสมบูรณ์และมีบางส่วนตายไป ใส่มากก็แค่เป็นการเผื่อครับ ผมว่า
 (ถ้าใส่มากแล้วหมดไว ผมว่าขวดน่าจะระเบิดก่อนหมดนะ หัวดิฟมานก็ออกได้จำกัดอยู่เหมือนกัน) ความคิดส่วนตัวครับ
ส่วนระยะเวลา ผมว่าไม่แตกต่าง มันอยู่ที่ว่าใครจะรักษาชีวิตมันได้นานกว่ากัน
เพราะเราไม่สามารถเพาะมันขึ้นมาได้ในปริมาณที่เราต้องการหลอกครับ สังเกตได้จากเราต้องทำใหม่อยู่เรื่อยๆ
บางครั้งน้ำตาลยังไม่หมดด้วยซ้ำ แต่บางคนบอกว่าให้ใส่โปรตีนไป ก็แค่ช่วยครับ ให้มันมีอาหาร ตายช้าลง
และเพิ่มจำนวนได้ให้เกิดการทดแทนได้มากขึ้นนิดหน่อย (ส่วนตัวผมว่าไม่ค่อยเวิร์คนะ) ใช้ความสะอาดเข้าช่วยดีกว่าอย่างที่ จขกท ว่า
ผมว่าโอเคเลย (อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ ใครมีความเห็นอื่นๆ ลองมาแลกเปลี่ยนกันดูครับ)

จากคุณ ray
ลองดูแล้วครับ ของผมไม่ได้ใส่ผงฟู แต่จับทุกอย่างต้มฆ่าเชื้อหมด การทำให้ยีสต์แตกตัวโดยการคนกับน้ำตาลอุ่นๆก่อนใส่ขวด
ทำให้ฟองออกเร็วมากกว่าเมื่อก่อนที่ต้องรอนานหลายชั่วโมง ตอนนี้ 5 วันแล้วยังออกดีอยู่ ต้องลองดูต่อไปว่าจะออกนานแค่ไหน เจ๋ง

  หลาย ท่าน PM มาถามเรื่องจะเอาคาร์บอนยีสต์สูตรผมไปดื่มกินยังไง เพื่อรับผิดชอบชีวิตของคนที่นี่และเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องขอฝากวิธีเอา มันไปดื่มกันจริงๆไว้ที่นี่นะครับ อย่างน้อยมันก็เกี่ยวกับคนเลี้ยงและเป็นของเหลือใช้ล่ะ


คำเตือน
ห้าม ดื่มน้ำหมักคาร์บอนยีสต์ไม่ว่ากรณีใดๆ อย่าข้างๆคูๆว่าเห็นมันใส กลิ่นดีแล้ว เพราะยีสต์เป็น หรือระบบการหมักที่เราทำ อาจมีเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆที่มีชีวิตทำให้ท้องเสียได้นะครับ ผมไม่แนะนำผู้ที่ใช้น้ำเลี้ยงปลา หรือน้ำที่ไม่สะอาด เอามาดื่มนะครับ

แล้วทำยังไง?

อุปกรณ์
๑ ขวดน้ำหมักคาร์บอนยีสต์ที่ดันก๊าสไม่ออกหัวดริฟแล้ว อย่าทิ้ง หมักตามสูตรคนๆนี้ http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=87609.0 ใช้เวลา ๑ เดือน ได้แอลกอฮอล์ประมาณ ๑๕% เป็นอย่างน้อยไวน์เราดีๆนี่เอง
๒ สาร Potassium metabisulfite, K2S2O5 ซื้อที่ร้านขายสารเคมีวิทยาศาสตร์ทั่วไป ศึกษาภัณฑ์ บอกเขาว่า food grade หรือเกรดสำหรับผสมอาหารชื่อการค้าก็ KMS ศึกษาภัณฑ์ ก็มี แบ่งซื้อสักครื่งโล ใช้ได้ตลอดชีวิต ราคาไม่เกินสองร้อยบาท อันนี้เป็นสารที่ปลดปล่อยซัลเฟอร์ หรือหยุดระบบการหมักที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมไวน์

๓ สายออคซิเจนสะอาดใหม่ๆ ยาวสักเมตร เอาไว้ลักน้ำใช้ตอนท้ายๆ
๔ สำลีใหม่ๆ

ขั้นแรก
ตวง เติมสาร KMS ปลายช้อนชา ดังภาพ ผสมน้ำดื่มนิดหน่อยคนให้ละลาย เทลงไปในขวดหมักยีสต์ให้หมด เขย่าให้เข้ากัน ผมใช้อัตราส่วน ๑๕๐ พีพีเอ็ม ครับ บังเอิญบ้านมีตาชั่งละเอียดครับ ๐.๓ กรัม ต่อน้ำหมัก ๑,๘๐๐ ซีซี ได้ความเข้มข้น ๑๖๖ พีพีเอ็ม ก็โอเคแล้วเกินนิดๆ  ช่วงนี้ห้ามดื่มเด็ดขาด มีต่อๆ





ขั้นที่สอง
อัดพันขยำสำลีเยอะๆ ทำเป็นก้อนพอแน่น อุดรูขวดไว้ ทิ้งไว้สิบวัน อย่ารบกวนนะครับ ตั้งนิ่งๆ
บทบาท ของ KMS ของเราช่วงนี้ก็จะออกฤทธิ์ ฆ่าเชื้อโรคทั้งหมดรวมกับยีสต์ที่เราหมักด้วย KMS พอทำปฎิกริยาแล้วก็จะระเหยไปจนหมด จนไม่เกิดความเป็นพิษ อีกทั้งยังปรับปรุงกลิ่นรส สี ให้ดีขึ้น  ยีสต์และจุลินทรีย์ก็จะตายหมดและตกตะกอนแยกออกมา น้ำส่วนบนจะใส
ที่มา http://www.answers.com/topic/potassium-metabisulfite
Potassium metabisulfite is a common wine  or must  additive, in which it forms sulfur dioxide gas (SO2). This both prevents most wild microorganisms  from growing, and it acts as a potent antioxidant, protecting both the color and delicate flavors of wine.
 

The typical dosage is 1/4 tsp potassium metabisulfite per six-gallon bucket of must (yielding roughly 75 ppm of SO2) prior to fermentation; then 1/2 tsp per six-gallon bucket (150 ppm of SO2) at bottling.

ขั้นที่สาม
ลวก สายยาง ให้น้ำร้อนเข้าไปในสายด้วย ค่อยๆจุ่มสายยางลงไป นิดหน่อย เอาปากดูดน้ำส่วนบนให้ไหลออกมาจากขวด หาแก้ว หรือถาดปากกว้างๆที่ลวกแล้ว มารองรับน้ำอมฤทธิ์ ช่วงนี้หลุดเข้าปากบ้างก็โอเคครับ ทดสอบชิมกันไป ค่อยๆเลื่อนสายลงแบบคลาสสิค ปล่อยมันไหลออกมา ลดระดับเรื่อยๆ พยายามอย่าเอาตะกอนฟุ้งออกมาเทเก็บลงขวดแก้วที่ลวกไว้แล้ว จุดนี้สามารถนำไปดื่มกินได้แล้วครับถ้ามันใสพอ แต่ถ้ามันยังขุ่น ก็ใส่ขวดแก้วอุดสำลีพักไว้ต่ออีกสี่ห้าวันก็ได้ แล้วกาลักใหม่
ขั้นตอนโดยละเอียดครับ
และแล้วก็สิบวันใสขึ้นกว่าที่คิด เอาวิธีมาฝากเพิ่มครับ

กาลัก ลวกสายอ๊อคก่อนนะ เอาน้ำร้อนฉีดในสายด้วยใช้กระบอดฉีดยาดูดน้ำร้อนเป่าเลย

เริ่มกาลัก ผมใช้ปากดูดเอาเผลอเข้าปากไปสองร้อยซีๆ
ไหลๆ ที่ใช้สายอ๊อคเพราะแรงดูดน้อยยีสต์ไม่ฟุ้ง


ผมมันคนมักน้อยเหลือไว้แค่นี้เททิ้งเพราะดูดกว่านี้เดี๋ยวฟุ้ง

จริงๆจบแค่นี้ก็ปิดฝาเก็บไว้กินได้นาน แต่ผมมันคนเนียนขอเติม KMS อีกสักช้อนบางๆ บ่มต่อให้ใสอีกสักสิบวันครับ
วิธีการบ่มตอนนี้ใส่น้ำสุราของเราไว้ใกล้ๆปากขวดเลย ไม่มีบึ้มแล้ว เพราะยีสต์ตายหมดแล้ว

ผมบ่มต่อใส่ KMS อีกขวดละปลายช้อน ปิดสำลีไว้อีกสิบวันเจอกัน ใสปิ้งๆ


KMS ใส่แล้วเขาจะสลายตัวเป็นก๊าสซัลเฟอร์ครับ ดื่มตอนใส่เลยไม่ได้แต่ทิ้งไว้สักสิบวันก็จะสลายตัวไปเอง ใส่เยอะกว่าที่ผมบอกมันก็ใสเร็วเพราะมีฤทธิ์ฟอกสีด้วยขอให้เพื่อนๆ
ทิ้งไว้นานๆหน่อยเกินสิบวันก็ดื่มได้แล้ว

ขันที่สี่ ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ดื่มได้ยาวนาน จะแช่เย็นก็ได้ตามอัธยาศัย  
 
 บทความ : นานาสาระ คาร์บอนยีสต์ (จากเริ่มต้น จนเสร็จสมบูรณ์) by Coffman
 สงวนสิทธิ์โดยทีมงาน พันธมิตรประชาชนเพื่อไม้น้ำประเทศไทย
ที่มา http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=87609.0