จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

มาต่อจากบทความมือใหม่หัดเลี้ยงกุ้งเครฟิชตอนที่ 2 กันนะครับ

อาหารการกิน
Crayfish นั้นเป็นOmnivores คือสามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด แต่ในธรรมชาติมันจะกินอาหารประเภทพืชผัก รากไม้ ใบไม้ ผลไม้เป็นหลัก ในที่ เลี้ยงผู้เลี้ยงสามารถให้ ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลันเตา ฟักทอง แอปเปิ้ลได้ พรรณไม้น้ำที่ใช้ตกแต่งตู้อาจโดนรื้อทึ้งเป็นอาหารได้ เพราะฉะนั้นไม่สมควรใส่ลงไป เพราะเจ้าCrayfishอาจจะฉีกทำลายได้ ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศนั้นแนะนำให้ผู้เลี้ยงให้ ใบโอ๊ค (หรือชื่อไทยๆ ก็ใบหูกวางนี่แหละ)ตามโอกาส เพราะเชื่อว่าใบหูกวางสามารถป้องกันรักษาโรคตามธรรมชาติของเจ้าCrayfish

นอก จากอาหารผักแล้วอาจจะให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์ร่วมด้วยเช่น เนื้อ ไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อกุ้งทะเลหรือกุ้งฝอยหั่นชิ้นเล็กๆได้ ถ้าให้ง่ายยิ่งไปกว่านั้นอาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมสูตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสูตรปลาทอง ปลากินเนื้อ ปลาซักเกอร์หรือของปลาแพะทั้งหมดนั้น จะเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างสะดวกและCrayfishก็ชอบกินด้วย

สรุปสั้นๆ ว่าจะให้อาหารประเภทไหนCrayfishนั้นไม่เรื่องมาก ใส่อะไรลงไปก็สามารถคีบกินได้ทั้งนั้น สำหรับความถี่ในการให้อาหารนั้นไม่ต้องให้บ่อย อาจจะให้อาหารเพียงแต่ชิ้นสองชิ้นสำหรับกุ้งหนึ่งตัว ทุกๆ2-3 วันก็เพียงพอ ให้น้อยๆให้เจ้าCrayfishกินหมด ดีกว่าให้เยอะแล้วเศษอาหารตกค้าง น้ำจะเน่าเสียเปล่าประโยชน์ เพราะCrayfishในธรรมชาตินั้นไม่กินอาหารทุกวัน สำหรับการให้อาหารนั้นควรจะให้เวลากลางคืน เพราะCrayfishจะออกหากินในเวลากลางคืน และCrayfishยังสามารถเรียนรู้ที่จะมาขออาหารจากผู้เลี้ยงได้อีกด้วย โดยจะมาอ้าแขนชูก้ามโตๆ รอเวลาอาหาร ผู้เลี้ยงสามารถฝึกป้อนอาหารCrayfishด้วยมืออีกด้วย แต่ต้องใช้เวลาสร้างความคุ้นเคยสักนิด

ในกรณีคุณภาพน้ำเริ่มเน่าจาก เศษอาหารตกค้างCrayfish จะเริ่มแสดงอาการของโรคเปลือกขาว โดยคราบขาวๆจะเริ่มก่อตัวที่บริเวณส่วนหางและ กระจายไปครอบคลุมทั้งลำตัวและอาจตายได้ เพราะฉะนั้นควรรักษาคุณภาพน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ

การเพาะพันธุ์
ท่าน ผู้อ่านหลายๆ ท่านที่เลี้ยงCrayfishอยู่ อาจจะมีประสบการณ์เห็นลูกกุ้งตัวจิ๋วๆ ออกเดินเพ่นพ่านทั่วตู้กันมาแล้ว เพราะว่ากุ้งCrayfishนี้สามารถ เพาะพันธุ์ได้อย่างไม่ยากนัก หลายๆครั้งที่มีโอกาสเดินผ่านร้านขายปลาแล้วเห็นเจ้าCrayfishคู่ผัวตัวเมีย นัวเนียปฏิบัติการเฉพาะกิจต่อหน้าธารกำนัลในกระบะกันอย่างโจ่งแจ้งเลยที เดียว Crayfishนั้นทำการผสมพันธุ์ตลอดปี ผู้เลี้ยงสามารถขยายพันธุ์Crayfishในตู้เลี้ยงได้ง่ายๆ เพียงแค่ขอให้มั่นใจได้ว่าได้เลือกซื้อCrayfishมาเป็นคู่เพศผู้ - เพศเมีย กระบวนการนั้นไม่ต้องพิธีรีตองอะไร เช่นเดียวกับการเพาะพันธุ์กุ้งแคระ แค่นำกุ้งเพศผู้ - เพศเมีย หรือพ่อแม่พันธุ์ปล่อยรวมกันก็พอ

วิธี จำแนกเพศได้แน่นอนที่สุดคือจับมันหงายท้องแล้วสังเกตอวัยวะสืบพันธุ์ที่ เรียกว่าgonopodsที่ช่วงขาเดินค่ะ โดยกุ้งตัวผู้มีอวัยวะคล้ายตะขอบริเวณขาเดินคู่ที่2 และ 3 ซึ่งตะขอนี้มันจะเอาไว้เกี่ยวเกาะตัวเมียตอนผสมพันธุ์ สังเกตที่บริเวณขาเดิน ถ้าเป็นเพศผู้จะมีอวัยะสืบพันธุ์(papillae) บริเวณขาเดินคู่สุดท้าย(คู่ที่ 4) ส่วนตัวเมียจะมีอวัยะสืบพันธุ์(annulus ventralis) เป็นแผ่นทรงวงรีสีขาวๆ ขนาดประมาณ1-2 มม. บริเวณขาเดินคู่ที่3 นอกจากนี้บริเวณขาว่ายน้ำคู่แรกและคู่ที่2ของตัวผู้จะถูกพัฒนาขึ้นเป็นแขน เล็กๆสองข้าง (petasma)มีไว้สำหรับส่งผ่านถุงน้ำเชื้อไปยังตัวเมีย

การ จำแนกเพศตัวผู้เมีย โดยการสังเกตจากแขนที่ไว้ส่งผ่านน้ำเชื้อ หรือpetasmaสามารถใช้ได้กับCrayfishที่มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกาและ ยุโรปเท่านั้น ส่วนCrayfishที่มีถิ่นกำเนิดในโซนออสเตรเลียจะไม่มีอวัยวะดังกล่าว จึงต้องใช้วิธีสังเกตgonopodsบริเวณโคนขาเพียงอย่างเดียว

สรุป ถ้าท่านผู้อ่านต้องการเลือกซื้อCrayfish เป็นคู่เพศผู้ - เพศเมีย เพียงแค่จับกุ้งหงายท้อง ดูแค่ให้กุ้งทั้งสองตัวมีอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณโคนขาที่ แตกต่างกันก็พอ

การ ผสมพันธุ์จะเริ่มโดยตัวผู้จะเข้าประกบตัวเมียทางด้านหลัง และพลิกลำตัวเพศเมียให้หงายท้องแล้วตัวผู้จะเข้าประกบโดยใช้ตะขอพิเศษที่ขา เดินล็อคตัวเมียเอาไว้ในท่วงท่าท้องชนท้อง หันหัวไปในทิศทางเดียวกัน หลังจากนั้นตัวผู้จะส่งผ่านถุงน้ำเชื้อไปปะติดไว้บริเวณท้องของตัวเมีย กระบวนการที่กุ้งทั้ง สองตัวนอนกอดกันแน่นนี้จะยาวนานหลายนาทีอยู่(พฤติกรรมการกอดผสมพันธุ์ ของProcambarusจะยาวนานกว่า10นาที ในขณะที่cheraxจะกิน เวลาสั้นกว่าเพียงแค่1-2นาทีเท่านั้น) หลังจากนั้นภารกิจของตัวผู้ก็สิ้นสุด ผู้เลี้ยงสามารถย้ายเจ้ากุ้งตัวเมียไปยังตู้อนุบาลเลยก็ได้ เพื่อเป็นการเตรียมที่อยู่สำหรับลูกกุ้งน้อยๆในอนาคต หลังจากนั้นตัวเมียจะคอยผลิตไข่ขึ้นมาไว้บริเวณขาว่ายน้ำเป็นกระจุกๆ มองคล้ายพวงองุ่น

หลังจากนั้นไม่นานเนื้อเยื่อบางๆ ที่หุ้มถุงน้ำเชื้อที่กุ้งตัวผู้ได้นำมาติดไว้จะสลายลงปล่อยเจ้าสเปิร์มไซส์ จิ๋วเพื่อให้ไข่ได้รับการปฏิสนธิ หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียจะหาที่หลบซ่อนนอนนิ่งไม่ยอมกินอะไร ระยะเวลาที่ตัวอ่อนใช้ในการพัฒนารูปร่างนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณอาหาร และคุณภาพน้ำด้วย แต่โดยเฉลี่ยไข่จะพัฒนาจนเป็นตัวอ่อนที่มีหน้าตาเหมือนโตเต็มวัยภาย ใน3-4สัปดาห์ หลังจากนั้นลูกกุ้งจะถูกปล่อยให้ว่ายน้ำเป็นอิสระ ในการผสมพันธุ์ในแต่ละครั้งแม่กุ้งสามารถให้ลูกได้มากถึง300ตัวเลยทีเดียว ซึ่งพ่อแม่กุ้งนั้นค่อนข้างเป็นพ่อแม่ที่ดีโดยจะไม่มีพฤติกรรมกินลูกกุ้ง เป็นอาหาร แล้วตัวลูกกุ้งเองก็มักจะอาศัยไม่ไกลจากพ่อแม่ของมันนัก เพื่อที่จะคอยเก็บกินเศษอาหารที่เหลือจากพ่อแม่นั่นเอง

การอนุบาลตัวอ่อน
ตัว อ่อนของCrayfishจะมีขนาดประมาณ2-3มิลลิเมตรโดยจะกินเศษอาหารก้นตู้เป็นอาหาร หลัก ผู้เลี้ยงสามารถให้อาหารเสริมเช่น ไส้เดือนฝอย ไรทะเล หรืออาหารเนื้อสัตว์อย่าง เนื้อปลา เนื้อกุ้งฝอยสับละเอียด แต่ควรระวังเรื่องคุณภาพน้ำให้ดี อย่าปล่อยเศษอาหารเหลือทิ้งไว้จนเน่าเสีย ควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน แต่อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงควรจะให้อาหารให้เพียงพอ เพราะตัวอ่อนจะมีพฤติกรรมกินกันเอง มันจะเล่นเกมส์The survivorผู้อ่อนแอต้องสละชีพในที่สุด ตู้อนุบาลตัวอ่อนก็ควรจะมีพื้นที่และวัสดุหลบซ่อน เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูตัวเต็มวัย ใส่ท่อพีวีซี หรือ รากไม้ ขอนไม้ กระถางต้นไม้ลงไปเยอะๆ เพื่อเป็นที่แอบซ่อน เพราะว่าในช่วงเดือนแรกของชีวิตลูกกุ้งทั้งหลาย จะทำการลอกคราบบ่อยมาก หมายความว่าทุกครั้งที่ลำตัวอ่อนนิ่มก็จะมีเปอร์เซ็นต์ถูกพี่ๆน้องๆกินเป็น อาหารมากขึ้น การคัดแยกขนาดลูกกุ้งหลังจากหนึ่งเดือนแรก จะเพิ่มอัตรารอดชีวิตของลุงกุ้งได้มากขึ้น เมื่อลูกกุ้งมีอายุได้ราวๆหนึ่งเดือน จะเริ่มแสดงสีสันสดใสเหมือนตัวโตเต็มวัย

การลอกคราบ
การ ลอกคราบนั้นถือเป็นกระบวนการสำคัญ ขั้นตอนหนึ่งในการเจริญเติบโตของเหล่าCrayfish ทั้งหลาย การลอกคราบนั้นแสดงถึงขนาดลำตัวที่เติบ ใหญ่มากขึ้น ลูกกุ้งจะทำการลอกคราบประมาณเดือนละครั้ง โดยระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะค่อยๆยาวนานขึ้นเมื่อกุ้งเติบโตขึ้น ยิ่งแก่ขึ้นก็ยิ่งลอกคราบน้อยลง โดยCrayfishที่โตเต็มที่นั้นจะลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตได้ว่าช่วงที่Crayfishนั้นกำลังจะลอกคราบคือมันจะกิน อาหารน้อยลง สีสันของลำตัวเริ่มหมองคล้ำลง และจะหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อน และค่อนข้างอยู่นิ่งๆ เพราะว่าช่วงลอกคราบนั้นCrayfishจะตัวนิ่ม และอ่อนแอมาก อาจถูกกุ้งตัวอื่นจับกินเป็นอาหารได้

เจ้าCrayfishจะ ค่อยๆเซาะเปลือกชุดเก่าออกมาทางช่วงหาง และบริเวณจะโผล่ออกมาเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นจะกระดึ๊บๆถอยหลังไล่ไปเรื่อยจนถึงส่วนหัวซึ่งเป็นลำดับสุดท้าย โดยเปลือกชุดเก่ามักจะถูกกินโดยกุ้งตัวอื่น เพื่อเป็นแหล่งแคลเซียมสำหรับการลอกคราบครั้งต่อไป หลังจากที่สลัดชุดเกราะอันเก่าออกแล้ว เจ้าCrayfishจะยังนอนตัวนิ่มอยู่ในที่ปลอดภัยประมาณอีก2-3วัน จนกว่าเปลือกจะแข็งเป็นปกติ

เปลือกแข็งขึ้นได้อย่างไร???  ก็ผ่านกระบวนการแข็งตัวของไคติน(chitin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเปลือกซึ่งได้มาจากการดูดซึมแคลเซียมคาร์บอเนต นั่นเอง โดยก้ามจะเป็นส่วนแรกที่แข็งตัว จากนั้นจึงเริ่มไปบริเวณลำตัว หลังที่สวมชุดเกราะชุดใหม่อย่างสมบูรณ์แล้วCrayfish จึงจะมีความมั่นใจเต็มเปี่ยม ออกมาเดินนวดนาดเผยโฉมออกหาอาหารกินตามเดิม

ไม่ ว่าจะเป็นก้าม ขาเดิน หรือขาสำหรับว่ายน้ำที่อาจจะหลุดหักไปจากการต่อสู้หรือการขนย้าย Crayfishจะซ่อมแซมตัวมันเอง โดยการสร้างขึ้นมาใหม่ได้ โดยผ่านกระบวนการลอกคราบ ในกรณีที่เป็นอวัยวะชิ้นใหญ่ๆอย่างก้ามหลุดขาดไป อาจจะต้องใช้เวลาลอกคราบถึง2-3ครั้ง ถึงจะสามารถสร้างก้ามใหม่ ที่มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิม ส่วนการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ อย่างขาหลุด ขาหักนั้น การลอกคราบเพียงครั้งเดียวก็สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้

 เมื่อผู้เลี้ยง สังเกตเห็นว่าCrayfishกำลังลอกคราบ ไม่ควรจะไปทำการรบกวนมัน เพราะว่าอาจเป็นการทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบ ซึ่งเมื่อCrayfishตกใจจะทำให้กระบวนการลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ามักจะยังติดตาอยู่บริเวณก้าม ในขณะที่เปลือกชุดใหม่ก็เริ่มแข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น เปลือกสองชั้นนั้นซ้อนทับกันอยู่ จึงอาจจะทำให้ก้ามชุดใหม่มีการขึ้นผิดรูป เบี้ยวๆงอๆไปบ้าง ดังนั้นควรงดรบกวนCrayfishเวลาลอกคราบ เราควรเป็นผู้ชมที่ดีรอชมCrayfishในชุดเกราะชุดใหม่ทีเดียวเลย จะเข้าท่ากว่า

การเลี้ยงรวมกับCrayfishชนิดอื่นๆ
ผู้ เลี้ยงไม่ควรเลี้ยงCrayfishที่มีถิ่นกำเนิดต่างกันไว้ด้วยกัน เพราะว่าจากประสบการณ์นั้นProcambarusที่มาจากทวีปอเมริกานั้น ค่อนข้างมี อุปนิสัยก้าวร้าวมากกว่า(ทั้งระหว่างพวกเดียวกันเองและระหว่างญาติจากต่าง ทวีป) เมื่อนำProcambarusมาเลี้ยงรวมกับCheraxที่มาจากทางทวีปออสเตรเลียแล้ว พบว่าญาติฝั่งออสเตรเลียที่มีนิสัยเรียบร้อยสงบเงียบกว่า มีโอกาสถูกระรานจับกินเป็นอาหารมากกว่า ในทางกลับกันการเลี้ยงCrayfishหลายชนิดในกลุ่มเดียวกันรวมกันหลายๆตัว ก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้มีการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ขึ้น เกิดเป็นกุ้งHybridที่มีสีสันแปลกใหม่ขึ้นมาได้ โดยในปัจจุบันก็มีกุ้งHybridสีสันแปลกตาขึ้นมาหลายชนิดมาจำหน่ายมากขึ้น เรื่อยๆ

นอกจากนี้ควรจะเลี้ยงCrayfishที่มีขนาดเท่าๆกัน หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ไม่เช่นนั้นสุดท้ายแล้วจะเหลือกุ้งผู้ชนะครองตู้เพียงตัวเดียว เจ้าตัวเล็กๆทั้งหลายจะจบชีวิตด้วยการเป็นอาหารว่างมื้อหนึ่งเท่านั้น

การเลี้ยงรวมกับปลาสวยงาม
ถึง แม้ว่าในธรรมชาตินั้นCrayfish จะเก็บเศษซากพืชซากสัตว์กินเป็นอาหารหลัก แต่ในที่เลี้ยงสถานที่ที่มีอาหารอย่างจำกัดนั้น มันจะจับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กินเป็นอาหารได้ทุกเมื่อที่มีโอกาส เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านจึงไม่ควรเลี้ยงCrayfishรวมกับปลาสวยงามที่อาศัยอยู่ บริเวณก้นตู้ หรือปลาสวยงามที่ว่ายเนิบนาบเชื่องช้า เพราะปลาเหล่านี้อาจจบชีวิตในฐานะอาหารมื้ออร่อยของเจ้าCrayfishทั้งหลายได้

ท่าน ผู้อ่านสามารถเลี้ยงCrayfishรวมกับปลาสวยงามขนาดกลาง ที่ว่ายน้ำบริเวณกลางน้ำหรือผิวน้ำได้เป็นอย่างดี และเน้นว่าต้องมีนิสัยไม่ดุร้าย ไม่เช่นนั้นอาจจะพบว่าCrayfishที่สามารถจับกินปลาตัวเล็กๆได้อยู่แหม่บๆนั้น ถูกรุมกินโต๊ะถูกกระชากไปทางซ้ายโดยเจ้าฟลาวเวอร์ฮอร์นก้ามหลุด ถูกทึ้งมาทางขวาโดยเจ้าเรดเทกซัสขาขาด เหลือแต่เปลือกจบชีวิตแบบที่ไม่ต่างไปจากกุ้งฝอย ที่เราๆใช้เป็นเหยื่อปลาทั่วไป

Crayfishจะอาศัยแต่บริเวณก้นตู้ จึงไม่สามารถขึ้นไประรานปลาสวยงามบริเวณกลางน้ำได้ นอกจากนี้Crayfishยังอาจทำหน้าที่เป็นพนักงานเทศบาล ช่วยเก็บเศษอาหารก้นตู้ได้เป็นอย่างดี โดยCrayfishที่มาจากทวีปอเมริกาจะมีนิสัยชอบจับปลากินเป็นอาหารมากกว่า ญาติที่มาจากทางออสเตรเลีย

วิธีการเลือกซื้อ Crayfish
1. ควรจะมีอวัยวะสำคัญต่างๆครบสมบูรณ์คือ ดวงตาและก้ามครบ2ข้าง ขาเดินครบทั้ง5คู่ เพราะการที่มีอวัยวะไม่ครบ แสดงถึงความสามารถในการหาอาหารและป้องกันตัวเองที่ลดน้อยลง อาจจะทำให้Crayfishอ่อนแอ ตกเป็นอาหารของตัวอื่นๆได้ง่าย
2. Crayfishควรจะมีเปลือกลำตัวแข็ง ไม่อยู่ในช่วงระยะลอกคราบที่ร่างกายค่อนข้างอ่อนแอ
3. Crayfishที่แข็งแรงควรมีการแสดงปฏิกิริยาป้องกันตัวเมื่อถูกรบกวน เช่น การยกก้ามคู่ป้องกันตัวเอง หลบหนีด้วยการดีดลำตัวอย่างว่องไวหรือ พยายามปีนป่ายหนีเมื่อนำมาใส่ภาชนะ

คัดลอกจากหนังสือ AQUA
 
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=9.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น