จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

อุปกรณ์การเลี้ยง



จบ เรื่องปัจจัยของต้นไม้ไปแล้ว คราวนี้เราจะเขยิบออกมาอีกนิด มาดูเรื่องเกี่ยวกับสัตว์น้ำในตู้ไม้น้ำกันครับ สมัยนี้ มีให้เลือกทั้ง กุ้ง หอย ปู ปลาเลยเชียวแหละ

เราจะแบ่งประเภทของสัตว์น้ำในตู้ไม้น้ำ ออกตามวัตถุประสงค์ในการใส่ลงไปดังนี้นะครับ

  1. ประเภทอยากใส่ เพื่อความสวยงาม และเพื่อสนอง need เราเอง อันนี้รู้กันอยู่แล้ว ตัวที่ชอบนั่นเอง ระวังอย่าใส่สัตว์น้ำที่จะทะเลาะกันเอง หรือทำร้ายตัวอื่นๆ และไม่ทำลายต้นไม้น้ำก็พอ ประมาณว่า ใส่ไปแล้วไม่ ship หายเป็นใช้ได้

  2. ประเภทจำต้องใส่ เพื่อช่วยกำจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ เช่น ตะไคร่ หอย พลานาเรีย ฝ้าผิวน้ำ ดูตามบทความที่ให้มานี่เลยครับ สัตว์น้ำผู้ช่วยควบคุมตะใคร่น้ำ คุณ banx

สัตว์ น้ำพวกนี้ใช้ออกซิเจนในการหายใจ แต่ในตู้ไม้น้ำเราไม่สามารถให้ออกซิเจนได้ เพราะจะทำให้ co2 ที่ต้นไม้ต้องการหายไปจากน้ำหมด สัตว์น้ำเหล่านี้จึงมีสภาพเป็นลูกเมียน้อย ต้องทนใช้ออกซิเจนที่ซึมลงมาทางผิวน้ำอย่างเดียว ดังนั้น เราจึงต้องระวังไม่ใส่สัตว์น้ำในปริมาณมากเกินไป และระวังปริมาณ co2 ไม่ให้มากเกินไป รวมถึงรักษาความสะอาดของน้ำและพักน้ำลดคลอรีน เพื่อให้สัตว์น้ำเหล่านี้ไม่ตายจากเราไปก่อนเวลาอันควรครับ รายละเอียดเกี่ยวกับการดูแลสัตว์น้ำในตู้ไม้น้ำ ผมรวบรวมไว้ที่นี่แล้วครับ





ใน ตู้ไม้น้ำเราจำเป็นต้องใช้กรองเพื่อช่วยบำบัดน้ำ ลดปริมาณการเปลี่ยนถ่ายน้ำ และทำให้น้ำใส ตู้ปลาทุกชนิดต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำครับ ตู้ไม้น้ำปกติก็อาทิตย์ละครั้ง ถ้ามีใครบอกว่า ใช้กรองอันนี้อันนั้นแล้วไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ มันโม้ครับ ด่ามันเลย ไอ้ขี้โม้!!! ดังนั้น เพื่อคุณภาพน้ำที่ดี ไปอ่านกันซะครับ

รู้จักชื่อและลักษณะกรองชนิดต่างๆกันก่อนครับ
ประเภทของระบบกรอง

ตามด้วย วัสดุกรองชีวภาพ ที่เราต้องเอามาใส่ในเครื่องกรอง มันใช้ยังไง มีประโยชน์ยังไง
วัสดุกรองชีวภาพ

แล้วก็ไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบกรองชีวภาพโดยละเอียดครับ ในสุดยอดบทความเเรื่องระบบกรองชีวภาพในตำนาน
"นายกร๋วย บอกเล่าเก้าสิบ" - ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบกรองแบบ Biological ในตู้ปลาสวยงาม





ตู้ กระจกใสธรรมดา ไม่ต้องมีกั้นกรอง ขนาดความยาวตั้งแต่ 24-48 นิ้ว จะเหมาะกับมือใหม่ที่สุดครับ เวลาเลือกตู้ให้เลือกขนาดมาตรฐาน จะได้หาอุปกรณ์เสริมได้ง่าย ไม่ต้องดัดแปลงให้ยุ่งยาก พวกเยอะได้เปรียบครับ

ตู้ยาว 24 นิ้วขนาดมาตรฐานจะเป็น ยาว 24 กว้าง 12 สูง 12 นิ้ว
ตู้ยาว 36 นิ้วขนาดมาตรฐานจะเป็น ยาว 36 กว้าง 18 สูง 18 นิ้ว
ตู้ยาว 48 นิ้วขนาดมาตรฐานจะเป็น ยาว 48 กว้าง 20 สูง 20 นิ้ว

ทั้ง 3 ขนาด ส่วนใหญ่จะใช้กระจกหนา 2 หุน เป็นมาตรฐาน ถ้าบางกว่านี้ไม่ควรใช้ครับ อันตรายเกินไป ถ้ามีตัง เลือกหนาๆไว้ก่อนเลย 3-4 หุนได้ยิ่งดี ยิ่งหนายิ่งปลอดภัยครับ

ตู้เล็กกว่า 24 จะดูแลได้ยาก ปริมาณน้ำที่น้อย ทำให้อุณหภูมิ PH แอมโมเนีย ไนไตร์ท ไนเตรท และค่าต่างๆในน้ำเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเกินไป บางตู้เผลอแผล่บเดียว วันสองวันอาจจะมีปลาตาย ตู้ล่มกันได้ง่ายๆ ควรเลือกตู้ใหญ่กว่า 24 ขึ้นไปครับ จะดูแลง่ายกว่ากันพอสมควรเลย

ตู้ใหญ่กว่า 48 ก็ได้ ยิ่งใหญ่ยิ่งดีครับ ระบบจะยิ่งมีเสถียรภาพ มั่นคง แต่การเลี้ยงไม้น้ำในตู้ใหญ่กว่า 48 นิ้วเป็นงานหนักมาก กรวดมากกว่า 4 กระสอบ น้ำ ที่หนักเกือบตัน ปริมาณปุ๋ย co2 จำนวนไฟที่เราต้องใช้ จะทำให้คนเลี้ยงกลายเป็นคนเหล็กคูโบต้าและกระเป๋าบางได้ครับ ข้อดีก็เยี่ยม ข้อเสียก็เยอะ พิจารณาให้ดีก่อนครับ ว่าพร้อมไหม?

อย่าเลือกตู้ที่สูงเกิน 24 นิ้ว เพราะแสงไฟจะลงไม่ถึงก้นตู้ และเราจะเอื้อมไม่ถึงครับ

ขา ตู้ เอาขาเหล็กซักอันนึงอ่ะครับ แบบตรงๆธรรมดาๆ หรือถ้ามีตัง และต้องการความสวยงาม จะเลือกขาตู้ที่เป็นขาเฟอร์นิเจอร์ก็ได้ อย่าลืมรองใต้ตู้ด้วยโฟมก่อนวางตู้ พยายามเลี่ยงขาเหล็กรูปตัว S เพราะความแข็งแรงไม่พอกับตู้ไม้น้ำที่อุปกรณ์เยอะ น้ำหนักมาก แล้วต้องหยิบจับอะไรแถวนั้นบ่อยๆครับ



เฮ...หมดเรื่องเบสิคกันแล้วนะครับ เราไปเลือกไม้น้ำที่จะมาลงตู้กันดีกว่าครับ



ถ้ายังไม่มีตู้ไม้น้ำแบบที่ชอบ ไม่รู้จะเอาแบบไหนดี ให้ลองไปนั่งดูที่นี่ก่อนนะครับ

http://www.pbase.com/plantella

http://www.adana-th.com/gallery.htm

Planted Tank - Google ค้นหารูปภาพ

 ดู ไปเรื่อยๆ หาให้เจอว่าเราชอบแนวไหน จะได้เลือกจัดให้ถูกใจตัวเองครับ นั่งดูๆแล้วเลือกไว้ในใจว่าเราจะเอาต้นไหนบ้าง เอาต้นนี้ไว้ตรงไหน ต้นนั้นไว้ตรงไหน จินตนาการไปก่อน วาดรูปวางแผนได้เลยยิ่งดี

รายชื่อไม้น้ำที่เลี้ยงง่าย ตายยาก โตเร็วทันใจ เหมาะสำหรับมือใหม่

รายชื่อไม้น้ำ (และไม่น้ำ) ที่ควรเลี่ยงสำหรับมือใหม่ เช่นพวกไม้ที่ไม่ใช่ไม้น้ำ แต่ถูกนำมาขายเป็นไม้น้ำ หรือไม้น้ำที่ต้องการปัจจัยเฉพาะตัวบางอย่างเป็นพิเศษ และไม้น้ำที่ราคาแพง







ถึงเวลาขึ้นครูแล้วครับ เราไปดูขั้นตอนคร่าวๆกัน ว่าควรทำยังไงกันดี เผื่อจะนึกไม่ออก

1. ล้างกรวด แบ่งกรวดมาล้างทีละครึ่งถัง จะได้ล้างง่ายๆหน่อย เปิดน้ำใส่แล้วเอาไม้กวนๆ เทน้ำทิ้ง แล้วทำใหม่ จนกว่าน้ำล้างจะใส หรือใสมากที่สุด (ประมาณ 5-10 น้ำ) ระหว่างล้างพยายามเก็บเศษใบไม้ รากไม้ เปลือกหอย ออกให้มากที่สุด

2. ผสมกรวดจำนวน 1/3 ของกรวดทั้งหมดกับปุ๋ยรองพื้นในถังก่อน หรือจะเทกรวดลงในตู้แล้วโรยปุ๋ยรองพื้นให้ทั่วแทนก็ได้ ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ ให้ดูตามฉลากของปุ๋ยนั้น ถ้าจะใส่แบคทีเรียผงหรือน้ำ ก็ใส่ตอนนี้ได้เลยครับ

3. เทกรวดที่เหลือทั้งหมด ทับกรวดในข้อ 2 จัดแต่งความสูงต่ำ เล่นสโลป วางก้อนหิน ขอนไม้ ตามต้องการ

4. เติมน้ำให้ได้ประมาณ 2/3 ของตู้ เพื่อความสะดวกในการจัดแต่ง น้ำจะได้ไม่กระฉอกเฉอะแฉะไงครับ เวลาเติมให้หาจานรอง หรือปูพลาสติกทับกรวดไว้ แล้วค่อยเติมน้ำลงไป น้ำจะได้ขุ่นน้อย

ที่ สุดครับ จากนั้นก็จัดแต่างขอนไม้ ก้อนหิน และไม้น้ำตามที่ออกแบบไว้ได้เลยครับ ไม่ต้องพยายามทำให้มันสวยตั้งแต่ตอนนี้นะครับ เพราะยังไงอีกหน่อยต้นไม้โต สภาพ รูปทรงมันจะเปลี่ยนไปจากตอนนี้มาก และแน่นอนว่า มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มจะแทบไม่มีทางคาดเดารูปทรงไม้น้ำเมื่อมันโตเต็มที่ได้ เลย ยังไงเดี๋ยวก็ต้องมีรื้อถอน ปักใหม่อีกหลายรอบครับ อย่าซีเรียสมาก เอาพอโอเคก็พอแล้ว

5. เติมน้ำให้เต้มตู้ (เต็มพอดีๆนะครับ เว้นด้านบนประมาณ 1 นิ้วไม่ใช่ล่อซะปริ่มขอบตู้) แล้วเซ็ตระบบกรองที่ซื้อมาได้เลย

6. หลังจากนี้ ทิ้งไว้ 1 วันก็ใส่ปลา/กุ้ง กินตะไคร่ ลงไปได้เลย เพื่อช่วยในการสร้างระบบแบคทีเรียในกรอง แต่อย่าเยอะครับ เดี๋ยวแบคทีเรียเกิดไม่ทันของเสีย ถ้าหลังจากนี้ 1-2 อาทิตย์ ปลา/กุ้งกินตะไคร่มันดูผอมจัด ก็ให้อาหารมันบ้างก็ได้ครับ อย่าเยอะ เอาพอกันตาย 3-4 วันครั้งก็พอ บางตู้แสงน้อย ตะไคร่ไม่ขึ้นก็มีเหมือนกันครับ

7. ช่วงนี้ก็เช็คการปรับ Co2 บ่อยถ้าใช้แบบถัง เพราะบางครั้งมันจะแรงหรือเบาลงได้เองเหมือนกัน ช่วงแรกๆต้องคอยดูให้ดี ควรวัดค่าแอมโมเนีย ไนไตร์ท ทุก 2-3 วัน จนกว่าจะได้ค่าเป็น 0 ทั้งสองตัว จึงค่อยใส่ปลาที่เราต้องการเลี้ยงเพื่อความสวยงาม ไม่ควรลงปลาทีละเยอะๆนะครับ เดี๋ยวกรองทำงานไม่ทัน ทยอยใส่ อาทิตย์ละ 3-4 ตัวก็พอ (ชุดตรวจวัดซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงปลาทั่วไป การใช้งานศึกษาเอาตามฉลาก)

8. หลังจากนี้ก็คอยๆๆๆ จน 1-2 อาทิตย์ผ่านไปนั่นแหละครับ ต้นไม้ในตู้จะเริ่มฟื้น จนพอดูได้แล้ว พ้น 1 เดือนแรกค่อยเริ่มใส่ปุ๋ยฝังและปุ๋ยน้ำครับ

การเซ็ตตู้ใหม่ที่แนะนำ ไว้เป็นแค่แนวทางหนึ่งนะครับ ไม่จำเป็นจะต้องทำแบบนี้เสมอไป ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จ คุณจะทำหรือไม่ทำอะไรก็ได้ ถ้าคุณคิดว่ามันดีกว่า ตู้คุณครับ ไม่ใช่ตู้ผม





ตะไคร่ การกำจัด และสัตว์น้ำช่วยกำจัดตะไคร่

มารู้จักศัตรูตัวเป้งของเราและวิธีการรับมือกันเถอะครับ

ดูที่ มารู้จักชนิดต่างๆของตะใคร่กันดีกว่า / คุณ banx

ดูที่ สัตว์น้ำผู้ช่วยควบคุมตะใคร่น้ำ / คุณ banx







ปัญหา : ลำต้นลีบเล็กลง ใบมีขนาดเล็กลง ใบเหลือง หลุดร่วง ไล่มาจากด้านโคนต้น
สาเหตุ : แสงไม่เพียงพอ
การ แก้ไข : ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไม้น้ำได้รับแสงสว่างเพียงพอกับความต้องการของไม้ชนิดนั้นๆ เปลี่ยนหลอดไฟ ถ้าหลอดนั้นใช้มานานกว่า 6 เดือน

ปัญหา : ใบมีจุดสีน้ำตาล แล้วค่อยๆขยายใหญ่จนเป็นรู ,ใบเหลืองทั้งต้น ,ใบค่อยๆเหลืองและเน่า เริ่มจากปลายใบ
สาเหตุ : มีปริมาณไนเตรทในน้ำมากเกินไป เกิดจากปริมาณการเปลี่ยนถ่ายน้ำไม่เพียงพอ หรือเว้นระยะนานเกินไป
การแก้ไข : เปลี่ยนถ่ายน้ำให้มากและบ่อยขึ้น


ปัญหา : ใบมีรูเล็กๆ ขอบหยัก ไม่เป็นระเบียบ มีขอบชัดเจน ในขณะที่ส่วนอื่นยังปกติดี
สาเหตุ : ถูกหอยกัดกิน
การแก้ไข : จับหอยออก

ปัญหา : ต้นไม้หยุดการเจริญเติบโต แล้วตายในเวลาต่อมา
สาเหตุ : คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ไม่เพียงพอ
การแก้ไข : เพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ลดการกระทบผิวน้ำของน้ำที่ไหลจากกรอง อย่าให้เกิดฟองอากาศ


ปัญหา : พื้นปลูกมีกลิ่นเหม็นเหมือนน้ำเน่า หรือดินเลน เวลาถอนต้นไม้ออกมา ,บริเวณรากบางส่วนมีสีดำ ,มองเห็นชั้นสีดำบริเวณด้านข้างตู้
สาเหตุ : เกิดการหมักหมมของพื้นกรวด แบคทีเรียในพื้นกรวดไม่ทำงาน หรือมีปริมาณน้อยเกินไป ออกซิเจนไม่สามารถกระจายไปยังด้านล่างของพื้นกรวดได้เพียงพอ
การแก้ไข : เสริมแบคทีเรียเข้าไปโดยตรง หากอาการไม่รุนแรง หรือรอให้รากของต้นไม้แผ่ไปถึง ก็จะหายไปเอง ในกรณีของชั้นดำ แต่หากอาการหนัก สามารถดูดน้ำทำความสะอาดกรวด (ควรแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ แล้วทำเป็นบางส่วนก่อน จากนั้นค่อยทำส่วนที่เหลือทีหลัง) หรือรื้อตู้จัดพื้นปลูกใหม่ ให้มีการไหลเวียนของก๊าซออกซิเจนได้ดีกว่าเดิม





เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

  • อย่า ซื้อตู้ กับปลาในวันเดียวกัน ควรจะซื้อตู้และอุปกรณ์ทุกอย่างกลับไปจัดการให้เรียบร้อยก่อน อีกซักอาทิตย์ค่อยกลับมาซื้อปลาและต้นไม้จะดีกว่า ซื้อของทุกอย่างกลับไปพร้อมกัน มันจะยุ่งยากในการจัดการทุกอย่างให้เสร็จในวันเดียว ถ้าไม่เสร็จ คุณก็ต้องหาที่พักปลาไว้ก่อน และปลาก็อาจจะตายจากสภาพน้ำที่ยังไม่ได้พักให้คลอรีนระเหย ระบบกรองยังไม่เซ็ตตัวดีได้อีกด้วย
  • การซื้อปลาแบบเหมาถุง ตามแหล่งค้าส่ง แม้จะได้ปลาจำนวนมากในราคาถูก แต่ผู้ซื้อก็ต้องเสี่ยงการสูญเสียปลาไปจำนวนหนึ่ง เนื่องจากไม่ได้รับการพักน้ำก่อนลงตู้อย่างถูกวิธี บางครั้งการซื้อปลากับร้านค้าที่มีการพักปลาให้เราเรียบร้อยแล้ว ในราคาแพงกว่าสักหน่อย อาจจะเป็นการดีกว่า
  • การคายฟองของต้นไม้ ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่า ต่อไป ตู้นี้จะต้องสวย ต้นไม้โตเร็ว การให้แสง CO2 ปุ๋ย ปริมาณมาก เพื่อให้ต้นไม้คายฟอง เหมือนการขับรถด้วยความเร็วสูง หากไม่มีความชำนาญพอ ตะไคร่อาจะมาเยือนท่านได้โดยง่าย
  • อย่า เชื่อคนขาย หรือผู้เชี่ยวชาญคนใดคนหนึ่ง โดยที่ไม่ได้ไตร่ตรองเสียก่อน หากไม่มีความรู้เรื่องนั้นๆจริงๆ ให้สอบถามผู้เลี้ยงหลายๆท่าน หลายๆร้านประกอบกัน มักจะได้คำตอบที่แม่นยำกว่า
  • หลอดไฟฟลูออเรส เซนต์ทั่วไป มีอายุการใช้งานราวๆ 6 เดือน- 1 ปี ควรเปลี่ยนหลอดเมื่อครบกำหนด หรือเห็นต้นไม้มีอาการแย่ลงเนื่องจากค่าแสงของหลอดไฟที่เปลี่ยนไป

ที่มาhttp://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=1413.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น