จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

มือใหม่หัดเลี้ยงเครฟิชควรรู้

เครฟิชคืออะไร

Crayfish จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์ที่เรียกว่า ครัสเตเซี่ยน (Crustaceans) และเป็นสมาชิกของไฟลั่ม อาโทรพอด (Arthropoda) ซึ่งในไฟลั่มนี้สมาชิกอื่นๆอย่าง แมลง (Insecta), แมงมุม (Arachnida), ตะขาบและกิ้งกือ (Myriapoda) สมาชิกไฟลั่ม อาโทรพอด ทุกชนิดจะมีเปลือกที่เราเรียกว่าcuticle สร้างจากแคลเซียมคาร์บอเนตมาปกคลุมลำตัว

และร่างกายของcrayfish นั้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลางหรือthorax คือส่วนที่มีขาสำหรับเดิน สุดท้ายคือส่วนท้องคือส่วนที่มีเนื้อไว้สำหรับรับประทานนั่นเอง แต่ส่วนหัวและส่วนกลางจะถูกผนึกรวมติดกันเป็นชิ้นเดียว เรียกว่าcephalothorax ด้วยเหตุนี้บางคนก็อาจจะบอกว่าลำตัวของcrayfish นั้นมีแค่สองส่วนก็ได้

crayfish จะมีเปลือก(carapace) ที่ทำหน้าที่คล้ายๆ ชุดเกราะคลุมลำตัว ส่วนหัวและส่วนกลาง ชุดเกราะcarapaceนี้ มีสองหน้าที่คือไว้ปกป้องอวัยวะภายในที่บอบบางอย่างเหงือกหายใจ ที่มีลักษณะคล้ายขนนกบริเวณใกล้ๆปาก สองคือทำหน้าที่สำคัญในระบบหายใจ คือเป็นทางผ่านของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านช่องเหงือกนั่นเอง ส่วนขาอันมากมายของcrayfishนั้น จะถูกแบ่งออกเป็นสองหน้าที่คือขาเดิน(walking legs หรือ Paraeopods) และขาว่ายน้ำ(swimmerets หรือ Pleopods) สำหรับขาเดินจะมี 5 คู่ด้วยกัน โดยขาเดินคู่แรกสุดถูกพัฒนาขึ้นเป็นก้าม(Claw หรือ Cheliped) ที่แข็งแรงใหญ่โตนั่นเอง ส่วนขาว่ายน้ำนั้นจะเป็นแผ่นแบนๆ มีไว้สำหรับโบกน้ำที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อการหายใจ รวมทั้งโบกพัดแพลงค์ตอนเข้าหาลำตัว เพื่อเป็นอาหารอีกด้วย สำหรับกุ้งตัวเมียขาว่ายน้ำมีความสำคัญมากกว่านั้น มันจะใช้ขาว่ายน้ำเป็นที่ๆ อุ้มไข่ที่ถูกปฏิสนธิแล้ว

ถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติ
Crayfish นั้นมีถิ่นกำเนิดกว้างขวางมาก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเซียตะวันออก และออสเตรเลีย ในปัจจุบันมีการบรรยายอนุกรมวิธานของ Crayfish ไปมากกว่า500ชนิดแล้ว โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นเป็นCrayfish ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ในธรรมชาติCrayfish จะอาศัยกกตัวอยู่ตามโขดหินหรือใต้ ขอนไม้อยู่ในทั้งลำธาร หนองน้ำ หรือแม้กระทั่งทะเลสาป

พูดมาถึงจุดนี้แล้วหลายๆท่านอาจจะยังสังสัย ว่า เอ๊ะ!ไอ้Crayfishที่ว่านี่มันคือตัวอะไร ทำไมชื่อไม่ค่อยคุ้นหู จริงๆแล้วเจ้าCrayfish ที่กำลังกล่าวถึงนี้เชื่อว่าทุกๆ คนนั้นรู้จักมันในนามของกุ้งล็อบสเตอร์น้ำจืดนั่นเอง

ในบทความนี้เรา จะขอจำแนกCrayfish แบบคร่าวๆละกัน ซึ่งแบบที่เข้าใจง่ายที่สุดน่าจะเป็นการแบ่งตามโซนถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือProcambarus ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาและยุโรป อีกกลุ่มหนึ่งคือCherax ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในโซน ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย  ส่วนการเลี้ยงดูCrayfish ทั้งสองกลุ่มนี้ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน จึงจะขอกล่าวรวมๆทีเดียวไปเลย

ตู้เลี้ยง
ในกรณีที่ต้องการ เลี้ยงCrayfish รวมกันหลายๆตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่หน่อย อย่างเช่น ตู้ปลาขนาด24 นิ้วขึ้นไป เนื่องจากCrayfishนั้นมีนิสัยหวงถิ่นและค่อนข้างก้าวร้าว จึงต้องการตู้ เลี้ยงที่ค่อนข้างใหญ่หน่อยเพื่อให้กุ้งแต่ละตัวได้สร้างอาณาเขต ถ้าเลี้ยงในตู้ขนาดเล็ก อาจพบว่าจะมีการตบตี แย่งชิงที่อยู่ ก้ามใหญ่โตทั้งสองข้างนั้นไม่ได้มีไว้แค่ความสวยงามอย่างแน่นอน โดย Crayfishจะใช้ก้ามต่อสู้กันจนก้ามหัก ขาขาด บาดเจ็บหรือกระทบกระทั่งกันบาดเจ็บปางตายได้

เมื่อเลี้ยงCrayfish รวมกันอย่างหนาแน่น จะพบว่าCrayfishขนาดเล็กๆ มักจะถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกCrayfishที่มีขนาดใหญ่กว่ากินเป็นอาหารได้ การเลี้ยงในตู้เลี้ยงขนาดใหญ่จะช่วยลดโอกาสที่กุ้งแต่ละตัวจะโคจรมาพบกันและ ต่อสู้ กันได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรจะใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ กะลามะพร้าวที่เจาะเป็นโพรง หรือท่อพีวีซีตัด เป็นท่อนๆเพื่อให้เจ้าCrayfish ได้พักพิงหลบอาศัยในเวลากลางวัน ปกติแล้วช่วงกลางวันมันจะหาที่หมกตัวอยู่เงียบๆ แต่Crayfishจะออกมาจากที่ซ่อนเพื่อหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า ผู้เลี้ยงอาจจะใส่วัสดุหลบซ่อนตัวไว้คนละมุมตู้เพื่อให้กุ้งได้สร้างอาณาเขต ของตนได้ชัดเจนมากขึ้น  เพราะว่าโดยธรรมชาติแล้ว อาณาเขตการหาอาหารของCrayfishแต่ละตัว จะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ40เซนติเมตร

นอก จากนี้Crayfishยังขึ้นชื่อว่าเป็นจอมหายตัว ผู้เลี้ยงหลายๆท่านอาจจะตื่นเช้าขึ้นมาพบว่าเจ้าล๊อบสเตอร์ที่เลี้ยงไว้ ได้หายสาปสูญไป สันนิษฐานได้เลยว่าเจ้ากุ้งน้อยได้เล่นกายกรรมไต่สายออกซิเจนหลบหนีไปแล้ว ค้นหาดีๆจะพบซากกุ้งน้อยตากแห้งอยู่ใกล้ๆก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นตู้เลี้ยง Crayfish ควรจะมีฝาปิดให้มิดชิดด้วย



วัสดุปูรองพื้น
ผู้ เลี้ยงสามารถเลี้ยงCrayfishในตู้ที่ปล่อยพื้นตู้โล่งๆได้เลย ก็เป็นทางเลือกที่สะดวกดี อาจจะใส่ท่อพีวีซีลงไปตามจำนวนกุ้งที่เลี้ยงแค่นั้น เพื่อให้กุ้งได้ หลบซ่อนบ้าง บางท่านที่อาจจคำนึงถึงความสวยงามมากกว่าความสะดวกสะบายในการดูและรักษา อาจจะใช้กรวดปูพื้นตู้ได้ แต่มักพบว่าCrayfish จะมีอุปนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวด เพื่อสร้างเป็นรังหลบซ่อนในเวลากลางวัน ในที่สุดพื้นกรวดที่จัดเรียงไว้สวยงามก็จะเป็นหลุมบ่อเหมือนโลกพระจันทร์ไป ในที่สุด แต่สำหรับผู้เลี้ยงที่รักที่จะใส่กรวดแล้ว ควรปูกรวดให้หนาประมาณ5เซนติเมตร  เพื่อให้มีความหนาพอสมควรที่Crayfishจะได้ขุดกลบลำตัวได้ อาจจะใช้หินขนาดใกญ่วางซ้อนๆ เป็นโพรงก็ดูสวยงามเช่นกัน แต่ควรจะจัดวางหินตกแต่งให้มีความมั่นคง ป้องกันการพังทลายที่เกิดจากการทรุดตัวของกรวดที่เจ้ากุ้งทั้งหลายขุดคุ้ย ด้วย บางคนอาจจะสงสัยว่าใช้ทรายได้ไหม ขอตอบว่าไม่เหมาะสม เพระพื้นทรายนั้นจะมีความหนาแน่นสูง เจ้าCrayfishจอมขุด อาจจะมุดลงไปแล้วจมหายไปชั่วกาลนานเลย เนื่องจากน้ำสะอาดที่มีออกซิเจน ไม่สามารถลงไปถึงใต้ชั้นทราย กุ้งทั้งหลายก็จะขาดอากาศหายใจไปเอง

ระบบให้อากาศและระบบกรองน้ำ
จริงๆ แล้วผู้เลี้ยงไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งปั้มออกซิเจนในตู้เลี้ยงก็ได้ ในกรณีที่เลี้ยงกุ้งจำนวนไม่มากนัก อย่างที่เราๆเห็นกันจนคุ้นตาในตลาด ปลาสวย งามที่ขายCrayfishกันในกระบะพลาสติกรองน้ำเพียงตื้นๆ Crayfishก็อยู่อาศัยอย่างแฮปปี้แล้ว แต่ระบบให้อากาศที่ดีก็มักจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของกุ้งในระยะยาวด้วย เพราะฉะนั้นใครจะสะดวกที่จะติดตั้งระบบอากาศก็ตามสบายเลย  แต่ไม่ต้องถึงกับปล่อยอากาศให้น้ำกระเพื่อมรุนแรงจนดูเหมือนอ่างจากุชชี่ เอาแค่เป็นฟองเบาๆก็พอ ส่วนระบบกรองน้ำนั้นผู้เลี้ยงอาจใช้ระบบกรองราคาถูกและติดตั้งง่ายๆ อย่างกรองบน กรองแขวน หรืออาจจะใช้กรองฟองน้ำที่เป็นตุ้มๆสีดำก็เพียงพอ ส่วนระบบกรองแบบกรองใต้ตู้นั้นอาจจะไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่ เพราะว่ามักจะขุดกรวดขึ้นมาจนเห็นแผ่นกรอง ทำให้ระบบกรองทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่

น้ำ
อุณหภูมิ ของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงCrayfish คือช่วง 23-28องศาเซลเซียล ค่าPHที่เหมาะสมคือประมาณ PH7.5 - 10.5ที่มีความกระด้างสูง ผู้เลี้ยงสามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้ นอกจากนี้เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้าง เปลือกใหม่ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ผู้เลี้ยงควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆแต่ทีละน้อยๆ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิฉับพลัน น้ำที่ใช้ควรจะสะอาดและปราศจากคลอรีนด้วย

ที่มาhttp://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=9.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น