จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

set up ตู้พรรณไม้น้ำ โดย...Ferkee (ตอนที่ 2)

set up ตู้พรรณไม้น้ำ โดย...Ferkee (ตอนที่ 2)



     ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ  และ อุปกรณ์
 
    วัสดุที่จำเป็นสำหรับสำหรับการจัดตู้พรรณไม้น้ำประกอบด้วย
 
      1. กรวดสำหรับปลูก
 
     ควรเป็นกรวดที่ได้จากแหล่งน้ำจืด และไม่ควรใช้กรวดหรือทรายที่นำมาจากทะเล ทั้งนี้เนื่องจากกรวดทะเลมักมีเศษเปลือกหอย และเศษปะการังปะปนมาด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำมีความกระด้างอยู่ตลอด รวมถึงมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงมาก และมักจะมีเศษผงอันเกิดจากการกร่อนของกรวดหลุดลอยออกมาในน้ำอยู่ตลอดเป็น เวลานาน ขนาดของกรวดเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ ระหว่าง 1-2 มิลลิเมตร, ขนาดของกรวดมีความสำคัญในหลายๆ ด้านซึ่งท้ายสุดแล้วจะส่งผลถึงความสมบูรณ์แข็งแรงของพรรณไม้น้ำ ปริมาณกรวดที่ใช้ควรเตรียมให้มีความสูงของกรวดจากพื้นตู้อย่างน้อย  7-8 เซนติเมตร
 
      2.วัสดุตกแต่งได้แก่ ขอนไม้ (drift wood)  หรือ หิน
 
    ขอนไม้ที่นำมาใช้ควรผ่านการแช่น้ำมาระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจมน้ำ แล้ว และจะไม่มีสีหลุดลอกออกมาอีก ทั้งนี้สีที่หลุดลอกออกมานอกจากไม่สวยงามแล้ว ในหลายกรณียังเป็นสาเหตุให้เกิดตะไคร่น้ำได้ง่าย สำหรับการใช้หินก็เช่นกันควรหลีกเลี่ยงหินปูน และหินที่มีเนื้ออ่อน การจะใช้หินหรือขอนไม้นั้นขึ้นอยู่กับความชอบ และลักษณะ หรือ layout ของตู้ แต่การจัดวางหินให้สวยงามนั้นยากกว่าการวางขอนไม้มากในขณะที่ไม่มีปัญหาใน เรื่องของสีที่หลุดลอก แต่การใช้ขอนไม้ก็ดูจะจัดวางได้ง่ายกว่าและให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลกว่ารวม ถึงดูเป็นธรรมชาติและมีชีวิตมากกว่า แต่การจัดหาและตระเตรียมดูจะยุ่งยากมากกว่า
 
      3. อุปกรณ์กรอง และ วัสดุกรอง
 
     กล่าวโดยสรุปแล้วระบบกรองที่เหมาะสมกับตู้พรรณไม้น้ำคือระบบกรองแบบนอกตู้ (external power filtration system )ในกรณีตู้มีขนาดใหญ่ (ปริมาตรน้ำมากกว่า 150 ลิตร) ส่วนตู้ที่มีขนาดเล็กกว่านี้สามารถใช้ระบบกรองที่ติดตั้งภายในตู้ (internalpower filtration system) ส่วนระบบกรองที่นิยมเรียกกันติดปากว่ากรองน้ำล้นนั้น เป็นระบบกรองที่ไม่ควรใช้กับตู้พรรณไม้น้ำโดยสิ้นเชิง ยกเว้นกรณีที่พันธุ์ไม้ในตู้ทั้งหมดเป็นพันธุ์ไม้ที่มีระบบรากที่ลอยตัวอยู่ ในน้ำเท่านั้น
 
       ระบบกรองประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือตัวอุปกรณ์ และ วัสดุกรอง ความสำคัญของตัวอุปกรณ์กรองนั้นคือการช่วยให้เกิดการไหลเวียนของน้ำเป็น ประการที่หนึ่งส่วนอีกประการหนึ่งคือการช่วยนำพาสิ่งที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ เข้าสู่ระบบกรอง ส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งในระบบกรองของตู้พรรณไม้น้ำคือวัสดุกรอง (media) ซึ่งเป็นวัสดุที่ช่วยในการกรองสิ่งแขวนลอยในน้ำออกไปประการหนึ่งส่วนอีก ประการคือเป็นที่อาศัยของ bacteria จำนวนมหาศาล การใช้วัสดุกรองในตู้ขนาดใหญ่จึงต้องเลือกใช้วัสดุกรองให้ครอบคลุมวัตถุ ประสงค์ดังกล่าวด้วย
 
     สำหรับผู้เขียนแล้วให้ความสำคัญกับวัสดุกรองมากกว่าตัวอุปกรณ์ ทั้งนี้โดยทั่วไปวัสดุกรองที่ใช้ก็จะประกอบไปด้วย ceramicring หรือวัสดุอื่นที่ใกล้เคียงเพื่อกระจายทิศทางของน้ำที่เข้ามาในระบบกรองให้ ไหลเวียนผ่านวัสดุกรองได้ทั่วถึง ร่วมกับการใช้ใยแก้วซึ่งเป็นวัสดุหลักในการกรองสิ่งแขวนลอยและเป็นที่อยู่ อาศัยของแบคทีเรียในระบบกรอง
 
    สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบก รองคือ ควรได้รับการทำความสะอาดเป็นระยะ (ประมาณว่าทุก 2  เดือน)  และในการล้างระบบกรองนั้นสิ่งที่พึงระวังคือห้ามการล้างด้วยน้ำประปา แต่ให้ใช้น้ำจากในตู้ไม้น้ำแทน ทั้งเพื่อป้องกันความเสียหายของแบคทีเรียในระบบกรองอีกทั้งการล้างก็ไม่จำ เป็นว่าจะต้องสะอาดหมดจดแบบซักผ้า ความสะอาดเพียง 80 % นับว่าสะอาดพอเพียงแล้ว
 
     4 แสงสว่าง
 
     แสงจากดวงอาทิตย์ถือป็นแสงสว่างที่ดีที่สุดกับต้นไม้แต่สำหรับการเลี้ยงพรรณ ไม้น้ำในตู้เลี้ยงแล้ว การควบคุมการใช้ทำได้ยากเกินกว่าที่จะนำมาใช้ได้โดยง่าย แสงจากหลอดประเภทต่างๆจึงถูกนำมาใช้เพื่อทดแทน หลอดหลักๆ ที่มีการใช้งานแพร่หลายได้แก่หลอดเมทัลฮาไลด์, หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดต่างๆ รวมถึงหลอดประหยัดไฟ, หลอดฮาโลเจน แต่ด้วยเหตุผลในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย, ความสะดวกในการหาซื้อ และ ติดตั้ง รวมไปจนถึงผลที่ได้รับ ทำให้หลอดฟลูออเรสเซนค์ เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย
 
    ประสิทธิภาพจากหลอดชนิดต่างๆ เป็นสิ่งที่พูดถึงกันมากแล้ว แต่ประสบการณ์ที่ได้รับจากสิ่งที่เกี่ยวข้องในเรื่องของแสงสว่างที่จะส่งผล ต่อประสิทธิผลได้แก่
 
     4.1 สเป๊กตรัม หรือความยาวของคลื่นแสง
 
    หลอดแต่ละชนิดมีสัดส่วนของความยาวคลื่นในช่วงต่างๆ ที่แตกต่างกันไป แม้แต่ในหลอดชนิดเดียวกันซึ่งต่างผู้ผลิต เช่นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ระบุว่าเป็นหลอดเดย์ไลท์ มีความแตกต่างขององค์ประกอบของแสงที่ความยาวคลื่นต่างๆ อันได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดงแตกต่างไปจากหลอดคูลไวท์ หรือแม้แต่หลอดเดย์ไลท์ด้วยกันก็ยังมีความแตกต่างกันได้ในระดับหนึ่ง   ความสำคัญอยู่ที่ว่าความแตกต่างดังกล่าวส่งผลถึงการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ ที่แตกต่างกันออกไป และเป็นการยากที่จะบอกว่าหลอดชนิดใดดีกว่ากัน ทั้งนี้เพราะว่าในตู้เลี้ยงที่แตกต่างกันนั้นมีปัจจัยอื่นๆอีกมากที่แตกต่าง กันออกไป ไม่ว่าจะเป็นชนิดของพันธุ์ไม้, ขนาดของตู้, ความเข้มหรือปริมาณแสงรวมไปถึงระยะเวลาของการให้แสง, การให้และใช้สารอาหาร และอื่นๆ อีกมาก แต่โดยประสบการณ์ของผู้เขียนแล้วนิยมใช้หลอดคูลไวท์ร่วมกับหลอดที่ทำมาสำหรับการเลี้ยงพรรณไม้น้ำเช่นหลอด Glo-lux, Aquarelle และอื่นๆ
 
     4.2 ความเข้ม (light intensity) หรือปริมาณแสงที่ให้  
 
 
      ในเรื่องของความเข้ม หรือ แสงสว่างที่ใช้ในตู้พรรณไม้น้ำว่าจะเป็นเท่าไรดีนั้น ก่อนอื่นต้องมีความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่าต้นไม้น้ำก็เหมือนๆ กับต้นไม้บกในเรื่องของความต้องการปริมาณแสงสว่างคือมีทั้งพรรณไม้ที่ต้อง การแสงสว่างปริมาณมากจึงจะเจริญเติบโตได้ดีไปจนถึงพรรณไม้ที่ต้องการปริมาณ แสงเพียงน้อยนิดในการเจริญเติบโต และไม่สามารถทนอยู่ได้ถ้าได้รับแสงที่มากเกินไป สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่นักนิยมพรรณไม้น้ำจะค่อยๆเรียนรู้จากประสบการณ์ แต่มีข้อสังเกตเพื่อการเริ่มต้นดังนี้ กล่าวคือ พรรณไม้ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ไม้ข้อ" (Stem plants) คือพวกที่มีลำต้นเหนือพื้นที่เห็นชัดเจนนั้นโดยส่วนใหญ่ ต้องการปริมาณแสงตั้งแต่ปานกลาง ไปจนถึง เข้มมาก (light loving plants) ในขณะที่พรรณไม้ประเภท ที่มีลำต้นสั้นมาก หรือไม้ที่มีหัว หรือเหง้า (Rosette plants) นั้นโดยส่วนใหญ่ต้องการแสงตั้งแต่น้อยมาก (shade loving plants) จนถึงปานกลางโดยที่มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ๆ มีความเข้มแสงที่สูง อย่างไรก็ตามพันธุ์ไม้ต่างๆ มีความสามารถในการปรับตัวในการใช้แสงได้ในระดับหนึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ ชนิด
 
     ในการคำนวณเพื่อการติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์เพื่อให้มีความเข้มแสงที่เพียง พอในเบื้องต้นซึ่งถือว่ามีความเข้มแสงปานกลางนั้น กำหนดไว้คร่าวๆ คือ 1 watt ต่อน้ำ 2 ลิตร ดังนั้นถ้าเป็นตู้ขนาด 90 เซนติเมตรโดยทั่วไปที่มีความกว้าง และลึกปกติก็จะต้องใช้หลอดขนาด 18 watts จำนวน 4 หลอด หรือถ้าเป็นตู้ขนาด 120 เซนติเมตร ก็จะต้องใช้หลอด 36 watts จำนวน  4 หลอด เป็นต้น
 
     ในเรื่องของแสงสว่างนั้นเมื่อติดตั้งเสร็จใช้งานไประยะหนึ่งความเข้มของแสง ก็จะลดลงไป ดังนั้นเมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่งก็จะต้องเปลี่ยนหลอดใหม่ โดยทั่วๆ ไปนิยมเปลี่ยนเมื่อเวลาผ่านไป 6-7 เดือน และการเปลี่ยนควรค่อยๆ เปลี่ยนทีละหลอด เช่น สัปดาห์ละหลอด ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนทีเดียวทั้งหมดนั้น ความเข้มแสงจะมีการเปลี่ยนแปลงมากซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่มากนั้นจะส่งผลกระทบ ต่อระบบและความเป็นไปของสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงนี้จะกระทบจากปัจจัยหนึ่งไปสู่ปัจจัยหนึ่งและอาจเกิดปัญหา ได้ในที่สุดเช่นการบูมของตระไครน้ำ หรือการชงักงันของการเจริญเติบโต
 
       ในตอนหน้าจะมาพูดถึงอุปกรณ์ในการเก็บและจ่ายก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และสารอาหารไปจนถึงขั้นตอนในการ set up ตู้ สำหรับฉบับนี้ขอจบลงไว้แต่เพียงเท่านี้....สวัสดีนักนิยมตู้พรรณไม้น้ำทุก ท่าน

ที่มาhttp://www.fish-zone.com/view.php?id=73

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น