จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

5 องค์ประกอบสำคัญต่อความสวยงามของตู้ไม้น้ำ



ความโดดเด่นแห่งนานาพรรณไม้น้ำ นานาความแตกต่างของกิ่งใบไม้น้ำที่มีขนาดทั้งเล็กใหญ่ บางหนา เฉดสีฉ่ำสด จางเหลือบ ลายเรียบ ตลอดจนความพริ้วไหวไปตามกระแสน้ำได้ ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์ภาพของตู้เลี้ยงให้มีความงดงามได้หลากหลายรูปแบบ การจัดสลับได้มากมายหลากร้อยพันตำแหน่ง ทำให้เกิดภาพความสวยงามได้แทบนับไม่ถ้วนแบบ
รูปถ่ายจำนวนมากตามนิตยสารต่างประเทศ หรือตู้ไม้น้ำจากสถานที่ต่าง ๆ มักเป็นแรง บันดาลใจ และต้นแบบในการจัดแต่งตู้ให้กับผู้คนที่มีความสนใจในต้นไม้น้ำจัดตู้อย่างไร ถึงจะดูสวย จึงเป็นคำถามที่เหล่าผู้ชื่นชมต้นไม้น้ำมักจะถามกับตัวเองอยู่เสมอ...
                คำตอบต่าง ๆ มากมาย ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และรสนิยมส่วนตัวของผู้จัดแต่งแต่ละท่าน ซึ่งล้วนไม่มีถูกผิด โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนมักจะใช้ 5 องค์ประกอบนำมาช่วยในการจัดแต่งตู้พรรณไม้น้ำอยู่เสมอ ซึ่งได้แก่
                1. ความกลมกลืน
                2. จุดเด่น
                3. พื้นที่ว่าง
                4. สุขภาพต้นไม้   
                5. ปลาสวยงาม
1. ความกลมกลืน
ความกลมกลืนในความหมายของผู้เขียนหมายถึงบรรยากาศรวมของตู้  เรื่องราวหลักที่มีบรรยากาศรวมเป็นภาพที่แน่ชัดว่าต้องการสื่อออกมาในอารมณ์ ใด สดใส สว่าง ละเอียด หรือเข้มขรึม  เราสามารถใช้ทั้งตัวต้นไม้น้ำ หินแต่งตู้ หรือขอนไม้ เป็นตัวสร้างเรื่องราวหลักให้กับตู้ได้
หากต้องการใช้หินแต่งตู้ หรือขอนไม้แต่งตู้ เป็นตัวสร้างเรื่องราวหลัก ๆ ก็ควรใช้ชิ้นที่มีขนาด และจำนวนพอเหมาะกับตู้ คำนึงเสมอว่าต้นไม้ที่นำมาปลูก จะเป็นเสมือนตัวละครในเนื้อเรื่อง ที่ไม่ควรจะมีน้ำหนักเกินกว่าขอนไม้ที่เป็นเรื่องราวหลักมากนัก มิฉะนั้นแล้วอาจจะได้ภาพของเศษกิ่งไม้ หรือก้อนหินลูกเล็ก หล่นอยู่กลางดงไม้น้ำ แต่หากสิ่งตกแต่งมีขนาดใหญ่เกินไป ก็อาจทำให้ตู้ดูบกพร่องในเรื่องการจัดพื้นที่ว่างได้
จังหวะความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ ควรวางรูปแบบให้แน่ชัดว่าต้องการให้ขอนไม้เลื้อย หรือพาด จากซ้ายไปขวา จากขวาไปซ้าย หรือกระจายออกจากศูนย์กลาง พุ่งขึ้น หรือปักลง คุมให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน ขอนไม้แข็งทื่อโผล่ทะมึนท่ามกลางกิ่งไม้โค้งหยักคงไม่น่าดู แต่สามารถใช้สร้างบรรยากาศรวมได้ดีกับท่อนไม้ลักษณะเดียวกันที่มีขนาดต่างๆ คงเป็นการยากที่จะให้ระบุอย่างชัดเจนถึงวิธีการจัดกิ่งไม้อย่างตายตัว
การสร้างบรรยากาศรวมให้เป็นหนึ่งเดียว แน่ชัด และตรงเป้า อย่างง่ายที่สุด สามารถทำได้ด้วยการเลือกปลูกต้นไม้น้ำชนิดเดียวลงทั้งตู้ (specie tank) เช่น ตู้ที่ปลูกหญ้าทั้งตู้ ปลูกมอสทั้งตู้ ปลูกเฟิร์นทั้งตู้ หรือปลูกอานูเบียสทั้งตู้ ภาพที่ได้รับมักจะมีบรรยากาศรวมที่กลมกลืน สอดคล้อง เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน แต่อาจขาดจุดเด่น น่าเบื่อ และไม่ได้รับความสนใจ การเพิ่มต้นไม้ชนิดที่สอง สาม สี่ ห้า ฯลฯ จะช่วยทำให้ตู้ดูน่าสนใจมากขึ้น เพียงแต่จำนวน จะต้องไม่มากไปกว่าชนิดของ ต้นไม้ที่ถูกเลือกใช้สร้างความกลมกลืน
เราสามารถใช้ต้นไม้ต่างชนิดที่มีลักษณะคล้ายกันร่วมสร้างบรรยากาศรวมให้กับ ตู้ไม้น้ำได้ หากไม่ต้องการปลูกต้นไม้ชนิดเดียวกันให้เป็นกลุ่มใหญ่เกินไป
เมื่อได้พบเห็นตู้ครั้งหนึ่งแล้ว การกล่าวถึงในภายหลังว่าเป็น ตู้เฟิร์น ตู้หญ้า ตู้คริป ตู้มอส หรือตู้ไม้ก้าน เป็นการแสดงถึงความสำเร็จในระดับหนึ่งของการจัดแต่งตู้ให้กลมกลืนที่มี เรื่องราวเป็นหนึ่งเดียว

2. จุดเด่น
จุดเด่นเป็นจุดรวมสายตา เป็นตำแหน่งที่ดึงความสนใจส่วนใหญ่ไว้เมื่อแรกเห็น แล้วค่อยกระจายออกไปตามส่วนต่าง ๆ ของตู้ เรานิยมสร้างจุดเด่นไว้บริเวณเยื้องศูนย์กลางตามความยาวตู้เล็กน้อย ตู้ที่ยาวมาก ๆ อาจสร้างจุดเด่นได้มากกว่าหนึ่งจุด บริเวณกลางตู้ตามแนวกว้างเป็นตำแหน่งที่นิยมปลูกต้นไม้ที่ต้องการให้เป็นจุด เด่น
ต้นไม้ที่เติบโตเป็นพุ่ม ไม่พุ่งขึ้นผิวน้ำจึงเป็นที่นิยมมากที่สุด เช่น คริปศรีลังกา บัวสีต่าง ๆ บริกซ่า จาโปนิกา เป็นต้น ในบางครั้งต้นไม้ก้านสีแดงเข้มที่ปลูกอยู่ด้านหลังอาจเป็นตัวปัญหาโดยไม่ ตั้งใจ คืออาจดึงเอาความสนใจทั้งหมดไปจากต้นไม้ในตำแหน่งที่ต้องการให้เป็นจุดเด่น แทน ซึ่งหากน้ำหนักของต้นไม้ในจุดเด่นไม่มากพอ ก็อาจถูกแย่งความสนใจไปจนหมดได้จริง ๆ การใช้ไม้น้ำสีจัดจ้าน เช่น ต้นไม้ในสกุลโรทาลา สกุลลัดวิเจีย หรือต้นไม้ที่มีลักษณะโดดเด่น มากเป็นพิเศษ เช่น ต้นใบ ตะข่าย ต้นหอมน้ำแคเมอรูน (Crinum calamistratum) ในตำแหน่งที่ไม่ใช่จุดรวมสายตาจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ การผ่อนน้ำหนักของจุดเด่นให้ค่อย ๆ กระจายออกไปตามตำแหน่งต่าง ๆ ของตู้ จะช่วยทำให้ จุดเด่นนั้นไม่กระชากสายตาจนเกินไป              
3. พื้นที่ว่าง
พื้นที่ว่าง เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ชมตู้ไม้น้ำรู้สึกได้ถึงความโปร่งแน่น กว้างแคบ ลึกตื้น ตู้ที่ปลูกต้นไม้ทึบเต็ม จนไม่มีพื้นที่ว่างจะทำให้รู้สึกอึดอัด คับตัน ผู้เลี้ยงโดยมากนิยมใช้กิ่งไม้ตบแต่งตู้เลี้ยง โดยให้ปลายของกิ่งไม้อยู่ในตำแหน่งตามความกว้างยาวต่างกัน ก็จะช่วยทำให้เกิดพื้นที่ว่างในความลึกตื้นต่างกัน ปลายกิ่งไม้ที่เรียงหน้ากระดานอยู่ในระนาบที่ใกล้กัน จะทำให้ตู้เลี้ยงดูแคบกว่าความเป็นจริง การทอดตัวของหินแต่งตู้ที่ระดับความกว้างต่างๆ ก็สามารถช่วยให้เกิดพื้นที่ว่างขึ้นได้
แม้แต่ตัวต้นไม้น้ำเองก็สามารถนำมาใช้ปลูกสร้างพื้นที่ว่างได้ด้วยเช่นกัน ในบางตู้เลี้ยง ปลูกต้นไม้พุ่มไว้ บริเวณตอนกลางตู้ เว้นช่วงต่อเป็นต้นไม้เตี้ย ก่อนถึงบริเวณต้นไม้สูงหลังตู้ เป็นการสร้างพื้นที่ว่างตอนใน และได้ผลออกมาน่าสนใจมาก โดยทั่วไปแล้วต้นไม้ที่มีขนาดใบเล็กมักจะให้ภาพของพื้นที่ว่างมากกว่าต้นไม้ ที่มีขนาดใบใหญ่ การใช้ต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่อย่างเช่น อะเมซอน หรือบัวสีต่าง ๆ จัดในตู้ที่มีความยาวน้อยกว่า 36 นิ้วให้ดูว่ามีพื้นที่ว่างจึงน่าจะยากกว่าการใช้ต้นไม้ที่มีใบขนาดเล็กอย่าง ต้นเพิร์ลวีด หรือเกล็ดปลาช่อน
เรานิยมใช้ต้นไม้ที่เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วจะมีความสูงไม่มากนัก หรือที่เรียกกันในวงการไม้น้ำว่า ไม้หน้าตู้Ž ปลูกที่ด้านหน้าของตู้เลี้ยงเพื่อสร้างพื้นที่ว่างในบริเวณนั้นเช่น หญ้าหัวไม้ขีด อะเมซอนแคระ กลอสโซสติกมา หรือริซ เซีย เป็นต้น ประโยชน์จากขนาดต้นที่สั้นเตี้ยของต้นไม้กลุ่มนี้ ทำให้สามารถ จัดตู้ไม้น้ำให้ดูว่ามีพื้นที่ว่างในบริเวณต่าง ๆ ได้มากพื้นที่ว่างในตำแหน่งต่าง ๆ ของตู้เลี้ยงที่ต่อเนื่องกัน มักให้ความรู้สึกกว้างโอ่โถง  แต่พื้นที่ว่าง ที่ไม่ต่อเนื่อง ถูกกั้นแบ่งเป็นช่วง ๆ มักให้ความรู้สึกคับแคบ จงใจ ดูไม่เป็นธรรมชาติ
ภาระในการรักษาพื้นที่ว่างในตู้ไม้น้ำขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้ที่ใช้แต่ง ตู้ หากเป็นต้นไม้โตเร็ว ก็จำเป็นต้องตัดแต่งบ่อย หากเป็นต้นไม้โตช้าก็อาจช่วยประวิงเวลาในการตัดแต่งออกไปได้
ยังเหลืออีก 2 องค์ประกอบสำคัญ แต่ขออนุญาตนำมาเสนอในตอนหน้า การเลี้ยงต้นไม้น้ำนั้น สิ่งสำคัญคือ การดูแล ถ้าตู้ขาดการดูแลเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ความงดงามของพรรณไม้จะเลยผ่านจุดสวยงาม ทั้งจากการขาดปุ๋ย หรือ ขาดการตัดตกแต่ง และในที่สุด ก็จะทำให้ตู้ไม้น้ำใบน้ำกลายเป็นตู้ธรรมดา ๆ ขาดความน่าสนใจในแง่ของความสวยงาม การดูแลเอาใจใส่เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ

ความโดดเด่นแห่งนานาพรรณไม้น้ำ นานาความแตกต่างของกิ่งใบไม้น้ำที่มีขนาดทั้งเล็กใหญ่ บางหนา เฉดสีฉ่ำสด จางเหลือบ ลายเรียบ ตลอดจนความพริ้วไหวไปตามกระแสน้ำได้ ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์ภาพของตู้เลี้ยงให้มีความงดงามได้หลากหลายรูปแบบ การจัดสลับได้มากมายหลากร้อยพันตำแหน่ง ทำให้เกิดภาพความสวยงามได้แทบนับไม่ถ้วนแบบ
รูปถ่ายจำนวนมากตามนิตยสารต่างประเทศ หรือตู้ไม้น้ำจากสถานที่ต่าง ๆ มักเป็นแรง บันดาลใจ และต้นแบบในการจัดแต่งตู้ให้กับผู้คนที่มีความสนใจในต้นไม้น้ำจัดตู้อย่างไร ถึงจะดูสวย จึงเป็นคำถามที่เหล่าผู้ชื่นชมต้นไม้น้ำมักจะถามกับตัวเองอยู่เสมอ...
คำตอบต่าง ๆ มากมาย ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และรสนิยมส่วนตัวของผู้จัดแต่งแต่ละท่าน ซึ่งล้วนไม่มีถูกผิด โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนมักจะใช้ 5 องค์ประกอบนำมาช่วยในการจัดแต่งตู้พรรณไม้น้ำอยู่เสมอ ซึ่งได้แก่
                1. ความกลมกลืน 
                2. จุดเด่น 
                3. พื้นที่ว่าง
                4. สุขภาพต้นไม้    
                5. ปลาสวยงาม
1. ความกลมกลืน
ความกลมกลืนในความหมายของผู้เขียนหมายถึงบรรยากาศรวมของตู้  เรื่องราวหลักที่มีบรรยากาศรวมเป็นภาพที่แน่ชัดว่าต้องการสื่อออกมาในอารมณ์ ใด สดใส สว่าง ละเอียด หรือเข้มขรึม  เราสามารถใช้ทั้งตัวต้นไม้น้ำ หินแต่งตู้ หรือขอนไม้ เป็นตัวสร้างเรื่องราวหลักให้กับตู้ได้
หากต้องการใช้หินแต่งตู้ หรือขอนไม้แต่งตู้ เป็นตัวสร้างเรื่องราวหลัก ๆ ก็ควรใช้ชิ้นที่มีขนาด และจำนวนพอเหมาะกับตู้ คำนึงเสมอว่าต้นไม้ที่นำมาปลูก จะเป็นเสมือนตัวละครในเนื้อเรื่อง ที่ไม่ควรจะมีน้ำหนักเกินกว่าขอนไม้ที่เป็นเรื่องราวหลักมากนัก มิฉะนั้นแล้วอาจจะได้ภาพของเศษกิ่งไม้ หรือก้อนหินลูกเล็ก หล่นอยู่กลางดงไม้น้ำ แต่หากสิ่งตกแต่งมีขนาดใหญ่เกินไป ก็อาจทำให้ตู้ดูบกพร่องในเรื่องการจัดพื้นที่ว่างได้
จังหวะความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ ควรวางรูปแบบให้แน่ชัดว่าต้องการให้ขอนไม้เลื้อย หรือพาด จากซ้ายไปขวา จากขวาไปซ้าย หรือกระจายออกจากศูนย์กลาง พุ่งขึ้น หรือปักลง คุมให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน ขอนไม้แข็งทื่อโผล่ทะมึนท่ามกลางกิ่งไม้โค้งหยักคงไม่น่าดู แต่สามารถใช้สร้างบรรยากาศรวมได้ดีกับท่อนไม้ลักษณะเดียวกันที่มีขนาดต่างๆ คงเป็นการยากที่จะให้ระบุอย่างชัดเจนถึงวิธีการจัดกิ่งไม้อย่างตายตัว
การสร้างบรรยากาศรวมให้เป็นหนึ่งเดียว แน่ชัด และตรงเป้า อย่างง่ายที่สุด สามารถทำได้ด้วยการเลือกปลูกต้นไม้น้ำชนิดเดียวลงทั้งตู้ (specie tank) เช่น ตู้ที่ปลูกหญ้าทั้งตู้ ปลูกมอสทั้งตู้ ปลูกเฟิร์นทั้งตู้ หรือปลูกอานูเบียสทั้งตู้ ภาพที่ได้รับมักจะมีบรรยากาศรวมที่กลมกลืน สอดคล้อง เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน แต่อาจขาดจุดเด่น น่าเบื่อ และไม่ได้รับความสนใจ การเพิ่มต้นไม้ชนิดที่สอง สาม สี่ ห้า ฯลฯ จะช่วยทำให้ตู้ดูน่าสนใจมากขึ้น เพียงแต่จำนวน จะต้องไม่มากไปกว่าชนิดของ ต้นไม้ที่ถูกเลือกใช้สร้างความกลมกลืน
เราสามารถใช้ต้นไม้ต่างชนิดที่มีลักษณะคล้ายกันร่วมสร้างบรรยากาศรวมให้กับ ตู้ไม้น้ำได้ หากไม่ต้องการปลูกต้นไม้ชนิดเดียวกันให้เป็นกลุ่มใหญ่เกินไป
เมื่อได้พบเห็นตู้ครั้งหนึ่งแล้ว การกล่าวถึงในภายหลังว่าเป็น ตู้เฟิร์น ตู้หญ้า ตู้คริป ตู้มอส หรือตู้ไม้ก้าน เป็นการแสดงถึงความสำเร็จในระดับหนึ่งของการจัดแต่งตู้ให้กลมกลืนที่มี เรื่องราวเป็นหนึ่งเดียว
 
2. จุดเด่น
จุดเด่นเป็นจุดรวมสายตา เป็นตำแหน่งที่ดึงความสนใจส่วนใหญ่ไว้เมื่อแรกเห็น แล้วค่อยกระจายออกไปตามส่วนต่าง ๆ ของตู้ เรานิยมสร้างจุดเด่นไว้บริเวณเยื้องศูนย์กลางตามความยาวตู้เล็กน้อย ตู้ที่ยาวมาก ๆ อาจสร้างจุดเด่นได้มากกว่าหนึ่งจุด บริเวณกลางตู้ตามแนวกว้างเป็นตำแหน่งที่นิยมปลูกต้นไม้ที่ต้องการให้เป็นจุด เด่น
ต้นไม้ที่เติบโตเป็นพุ่ม ไม่พุ่งขึ้นผิวน้ำจึงเป็นที่นิยมมากที่สุด เช่น คริปศรีลังกา บัวสีต่าง ๆ บริกซ่า จาโปนิกา เป็นต้น ในบางครั้งต้นไม้ก้านสีแดงเข้มที่ปลูกอยู่ด้านหลังอาจเป็นตัวปัญหาโดยไม่ ตั้งใจ คืออาจดึงเอาความสนใจทั้งหมดไปจากต้นไม้ในตำแหน่งที่ต้องการให้เป็นจุดเด่น แทน ซึ่งหากน้ำหนักของต้นไม้ในจุดเด่นไม่มากพอ ก็อาจถูกแย่งความสนใจไปจนหมดได้จริง ๆ การใช้ไม้น้ำสีจัดจ้าน เช่น ต้นไม้ในสกุลโรทาลา สกุลลัดวิเจีย หรือต้นไม้ที่มีลักษณะโดดเด่น มากเป็นพิเศษ เช่น ต้นใบ ตะข่าย ต้นหอมน้ำแคเมอรูน (Crinum calamistratum) ในตำแหน่งที่ไม่ใช่จุดรวมสายตาจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ การผ่อนน้ำหนักของจุดเด่นให้ค่อย ๆ กระจายออกไปตามตำแหน่งต่าง ๆ ของตู้ จะช่วยทำให้ จุดเด่นนั้นไม่กระชากสายตาจนเกินไป
               
3. พื้นที่ว่าง
พื้นที่ว่าง เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ชมตู้ไม้น้ำรู้สึกได้ถึงความโปร่งแน่น กว้างแคบ ลึกตื้น ตู้ที่ปลูกต้นไม้ทึบเต็ม จนไม่มีพื้นที่ว่างจะทำให้รู้สึกอึดอัด คับตัน ผู้เลี้ยงโดยมากนิยมใช้กิ่งไม้ตบแต่งตู้เลี้ยง โดยให้ปลายของกิ่งไม้อยู่ในตำแหน่งตามความกว้างยาวต่างกัน ก็จะช่วยทำให้เกิดพื้นที่ว่างในความลึกตื้นต่างกัน ปลายกิ่งไม้ที่เรียงหน้ากระดานอยู่ในระนาบที่ใกล้กัน จะทำให้ตู้เลี้ยงดูแคบกว่าความเป็นจริง การทอดตัวของหินแต่งตู้ที่ระดับความกว้างต่างๆ ก็สามารถช่วยให้เกิดพื้นที่ว่างขึ้นได้
แม้แต่ตัวต้นไม้น้ำเองก็สามารถนำมาใช้ปลูกสร้างพื้นที่ว่างได้ด้วยเช่นกัน ในบางตู้เลี้ยง ปลูกต้นไม้พุ่มไว้ บริเวณตอนกลางตู้ เว้นช่วงต่อเป็นต้นไม้เตี้ย ก่อนถึงบริเวณต้นไม้สูงหลังตู้ เป็นการสร้างพื้นที่ว่างตอนใน และได้ผลออกมาน่าสนใจมาก โดยทั่วไปแล้วต้นไม้ที่มีขนาดใบเล็กมักจะให้ภาพของพื้นที่ว่างมากกว่าต้นไม้ ที่มีขนาดใบใหญ่ การใช้ต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่อย่างเช่น อะเมซอน หรือบัวสีต่าง ๆ จัดในตู้ที่มีความยาวน้อยกว่า 36 นิ้วให้ดูว่ามีพื้นที่ว่างจึงน่าจะยากกว่าการใช้ต้นไม้ที่มีใบขนาดเล็กอย่าง ต้นเพิร์ลวีด หรือเกล็ดปลาช่อน
เรานิยมใช้ต้นไม้ที่เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วจะมีความสูงไม่มากนัก หรือที่เรียกกันในวงการไม้น้ำว่า "ไม้หน้าตู้" ปลูกที่ด้านหน้าของตู้เลี้ยงเพื่อสร้างพื้นที่ว่างในบริเวณนั้นเช่น หญ้าหัวไม้ขีด อะเมซอนแคระ กลอสโซสติกมา หรือริซ เซีย เป็นต้น ประโยชน์จากขนาดต้นที่สั้นเตี้ยของต้นไม้กลุ่มนี้ ทำให้สามารถ จัดตู้ไม้น้ำให้ดูว่ามีพื้นที่ว่างในบริเวณต่าง ๆ ได้มากพื้นที่ว่างในตำแหน่งต่าง ๆ ของตู้เลี้ยงที่ต่อเนื่องกัน มักให้ความรู้สึกกว้างโอ่โถง  แต่พื้นที่ว่าง ที่ไม่ต่อเนื่อง ถูกกั้นแบ่งเป็นช่วง ๆ มักให้ความรู้สึกคับแคบ จงใจ ดูไม่เป็นธรรมชาติ
ภาระในการรักษาพื้นที่ว่างในตู้ไม้น้ำขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้ที่ใช้แต่ง ตู้ หากเป็นต้นไม้โตเร็ว ก็จำเป็นต้องตัดแต่งบ่อย หากเป็นต้นไม้โตช้าก็อาจช่วยประวิงเวลาในการตัดแต่งออกไปได้
ยังเหลืออีก 2 องค์ประกอบสำคัญ แต่ขออนุญาตนำมาเสนอในตอนหน้า การเลี้ยงต้นไม้น้ำนั้น สิ่งสำคัญคือ การดูแล ถ้าตู้ขาดการดูแลเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ความงดงามของพรรณไม้จะเลยผ่านจุดสวยงาม ทั้งจากการขาดปุ๋ย หรือ ขาดการตัดตกแต่ง และในที่สุด ก็จะทำให้ตู้ไม้น้ำใบน้ำกลายเป็นตู้ธรรมดา ๆ ขาดความน่าสนใจในแง่ของความสวยงาม การดูแลเอาใจใส่เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
(ติดตามตอนต่อไป)

ที่มา http://www.fish-zone.com/view.php?id=100

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น